แนวแตก (ธรณีวิทยา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวแตกเสาเหลี่ยมของหินบะซอลต์ในตุรกี
แนวแตกเสาเหลี่ยมในหินบะซอลต์ ที่ Marte Vallis บนดาวอังคาร
แนวแตกเสาเหลี่ยมในหินบะซอลต์ของ Giant's Causeway ในไอร์แลนด์
แนวแตกเสาเหลี่ยมในหินแอนดีไซต์ที่ Tōjinbō ในญี่ปุ่น
ชุดของแนวแตกบนระนาบชั้นหินในหินแผ่น (flagstone) ที่ Caithness ในสก๊อตแลนด์

ในทางธรณีวิทยานั้น คำว่า แนวแตก (อังกฤษ: joint) จะหมายถึงรอยแตกในหินที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบของรอยแตกนั้น (ไม่ว่าจะขึ้น ลง หรือไปตามด้านข้างก็ตาม) ของหินด้านหนึ่งเทียบกับหินอีกด้านหนึ่งของแนวระนาบรอยแตกนั้น แนวแตกมักมีระยะห่างสม่ำเสมอกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกลศาสตร์ของหินหนึ่งๆหรือความหนาของชั้นหินที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแนวแตกจะเกิดเป็นชุดๆ โดยชุดหนึ่งๆจะประกอบด้วยรอยแตกหลายแนวที่ขนานกันไป

การเกิด[แก้]

แนวแตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในหินแข็งเกิดจากถูกดึงออกด้วยแรงที่มากเกินจุดแตกหักของหินที่มีคุณสมบัติแกร่งและเปราะ การแตกของหินจะเกิดเป็นแนวระนาบขนานไปกับแนวความเค้นหลักสูงสุดและจะตั้งฉากกับแนวความเค้นต่ำสุด (ทิศทางที่หินแตกออก) ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นชุดของแนวแตกชุดหนึ่งๆที่มีทิศทางขนานกันไป การเสียรูปทรงต่อเนื่องไปอาจนำไปสู่การพัฒนาชุดแนวแตกเพิ่มเติมขึ้นอีกชุดหนึ่งหรือมากกว่านั้น การปรากฏชุดแนวแตกแรกจะส่งผลต่อทิศทางของความเค้นอย่างมาก บ่อยครั้งที่จะพบว่าทำให้เกิดชุดแนวแตกชุดต่อมาที่ทำมุมกับชุดรอยแตกแรกเป็นมุมกว้าง ชุดแนวแตกทั้งหลายปรกติจะมีช่วงระยะห่างที่คงที่ซึ่งโดยคร่าวๆแล้วจะเป็นสัดส่วนกันกับความหนาของชั้นหินนั้น[1]

ประเภทของแนวแตก[แก้]

แนวแตกทั้งหลายจะจำแนกออกตามกระบวนการของมัน (ถ้ารู้)

แนวแตกเทคโทนิก[แก้]

แนวแตกเทคโทนิกเกิดขึ้นระหว่างช่วงของการเปลี่ยนรูปทรงในทันทีที่แรงเค้นแตกต่างสูงมากพอที่จะทำให้หินเกิดการแตกออกโดยไม่คำนึงถึงแบบแผนทางเทคโทนิก บ่อยครั้งที่พบว่ามันจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันกับการเกิดรอยเลื่อน การวัดรูปแบบของรอยแตกเทคโทนิกมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ประวัติทางเทคโทนิกของพื้นที่ได้เพราะว่ามันจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางของแรงเค้นในช่วงเวลาของการเกิด[2]

แนวแตกที่เกิดจากสิ่งปิดทับด้านบนอยู่ถูกนำออกไป[แก้]

แนวแตกมักเกิดจากการยกตัวของพื้นที่ที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนนำเอาหินด้านบนแตกหลุดออกไปแล้วยังผลให้เกิดการลดแรงกดทับทำให้หินด้านล่างเกิดการดึงขยายตัวออกไปทางด้านข้าง แนวแตกที่เกิดสัมพันธ์กับการที่สิ่งปิดทับด้านบนถูกนำออกไปจากการยกตัวและจากการกัดกร่อนนี้มีทิศทางการวางตัวที่มีผลมาจากแรงความเค้นหลักระหว่างที่มีการยกตัว ทั้งนี้จะต้องให้ความระมัดระวังในความพยายามที่จะเข้าใจแรงความเค้นทางเทคโทนิกในอดีตเพื่อที่จะแยกแยะชนิดของรอยแตก ถ้าเป็นไปได้ก็ระหว่างรอยแตกเทคโทนิกกับรอยแตกที่เกิดจากสิ่งปิดทับด้านบนถูกนำออกไป

แนวแตกจากการแยกเป็นกาบมน (exfoliation joint) เป็นกรณีพิเศษของแนวแตกที่เกิดจากสิ่งปิดทับถูกนำออกไปจะเกิดที่และขนานไปกับพื้นผิวดินปัจจุบันในหินที่มีแรงความเค้นกดดันสูง

แนวแตกจากการเย็นตัว[แก้]

แนวแตกก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการเย็นตัวลงของมวลหินที่ร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาวาที่ทำให้เกิดแนวแตกจากการเย็นตัว (cooling joints) ซึ่งปรกติแล้วจะเกิดเป็นแนวแตกเสาเหลี่ยม (columnar jointing) ในแนวดิ่ง ระบบแนวแตกที่เกิดร่วมกับการเย็นตัวมักพบเกิดเป็นรูปหลายเหลี่ยมเพราะว่าการเย็นตัวทำให้เกิดความเค้นที่มีสภาพเหมือนกันทุกทิศทุกทางในแนวระนาบของชั้นหิน

การศึกษาแนวแตกจากภาพ[แก้]

การแผ่ขยายออกไปของแนวแตกสามารถศึกษาได้โดยใช้เทคนิคการศึกษาแนวแตกจากภาพ (fractography) ซึ่งลักษณะร่องรอยอย่างเช่นโครงสร้าง hackle และ plumose สามารถใช้ตรวจสอบทิศทางการแผ่ขยายออกไปและบางทีอาจรวมถึงทิศทางของแรงความเค้นหลักด้วย[3].

ความสำคัญของความแกร่งของหินและเสถียรภาพของความลาดชัน[แก้]

แนวแตกทำให้เกิดลักษณะนึ่งที่เป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดของความไม่ต่อเนื่องในมวลของหินคือการไม่มีความต้านทานแรงดึง (tensile strength)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]