แชกาซึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แชกาซึง
หญิงชาวแชกาซึงเมื่อ ค.ศ. 1932
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ประเทศเกาหลีเหนือ
ภาษา
เกาหลีสำเนียงยุกจิน
ศาสนา
พุทธ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
จูร์เชน, เกาหลี

แชกาซึง (เกาหลี재가승, ญี่ปุ่น: 在家僧) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศเกาหลีเหนือ กล่าวกันว่าพวกเขามีรูปลักษณ์ไม่ต่างจากชาวเกาหลีทั่วไป หากแต่สืบเชื้อสายจากชาวจูร์เชนที่อพยพจากแผ่นดินจีน ลงมาอาศัยอยู่ริมแม่น้ำตูเมน จังหวัดฮัมกย็องเหนือทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของคาบสมุทรเกาหลี ปรากฏการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์นี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงช่วง ค.ศ. 1960[1] พวกเขามีประเพณีที่ผิดแผกจากชาวเกาหลีทั่วไป เช่น ด้านภาษา แม้พวกเขาจะใช้ภาษาเกาหลีสำเนียงยุกจินแต่ก็มีศัพท์เฉพาะจำนวนมาก รวมทั้งการก่อตั้งเป็นชุมชนของพระสงฆ์ที่สามารถแต่งงานมีภรรยาได้[1] ประดิษฐกรรมของชาวแชกาซึงคือกระดาษเหลืองที่ทำจากข้าวโอ๊ตเพื่อส่งเป็นส่วย[2]

ในยุคอาณานิคมญี่ปุ่น ชุมชนของแชกาซึงซึ่งอยู่ชนบทอันห่างไกล จึงรอดพ้นจากการคุกคามทางวัฒนธรรม แต่ในเวลาต่อมาศาสนาพุทธถูกปราบปรามโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์เฉกเช่นประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย[3] อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของนักบวชพุทธชาวแชกาซึงที่เป็นแบบอรัญวาสีและพระสามารถมีภรรยาได้ ถูกมองว่าเป็นการต่อต้านหลักสังคมนิยม อารามและหมู่บ้านของแชกาซึงจึงถูกปิดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันชาวแชกาซึงถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมของชาวเกาหลีในประเทศเกาหลีเหนือจนสิ้นแล้ว[4]

ระเบียงภาพ[แก้]

อารามของแชกาซึง
อารามของแชกาซึง 
กระดาษเหลืองซึ่งทำจากข้าวโอ๊ต
กระดาษเหลืองซึ่งทำจากข้าวโอ๊ต 

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Los Angeles Lecture: Korea's Jōdōshinshū: Lay Monk Villages in Colonial Korea (25 April 2013)". April 25, 2013. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
  2. Dong-A ilbo, January 1, 1936, 51st page
  3. Frank Reynolds; Jason A. Carbine (2000). The Life of Buddhism. University of California Press. p. 16. ISBN 978-0-520-21105-6.
  4. Kim Hwansoo (2013). "'The Mystery of the Century:' Lay Buddhist Monk Villages (Chaegasŭngch'on) Near Korea's Northernmost Border, 1600s–1960" (PDF). Seoul Journal of Korean Studies. 26 (2): 297–299. สืบค้นเมื่อ April 24, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]