แกรนด์แคนยอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกรนด์แคนยอน
แกรนด์แคนยอนที่มีแม่น้ำโคโลราโดอยู่เบี้องล่าง
แกรนด์แคนยอนตั้งอยู่ในรัฐแอริโซนา
แกรนด์แคนยอน
แกรนด์แคนยอน
ที่ตั้งในรัฐแอริโซนา
แกรนด์แคนยอนตั้งอยู่ในสหรัฐ
แกรนด์แคนยอน
แกรนด์แคนยอน
แกรนด์แคนยอน (สหรัฐ)
แกรนด์แคนยอนตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ
แกรนด์แคนยอน
แกรนด์แคนยอน
แกรนด์แคนยอน (ทวีปอเมริกาเหนือ)
ความสูงพื้นราว 2,600 ฟุต (800 เมตร)
ความยาว277 ไมล์ (446 กิโลเมตร)
ความกว้าง4 ถึง 18 ไมล์ (6.4 ถึง 29.0 กิโลเมตร)
ธรณีวิทยา
ยุค5–6 ล้านปีก่อน[1]
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งรัฐแอริโซนา
ประเทศสหรัฐ
พิกัด36°18′N 112°36′W / 36.3°N 112.6°W / 36.3; -112.6พิกัดภูมิศาสตร์: 36°18′N 112°36′W / 36.3°N 112.6°W / 36.3; -112.6
แม่น้ำแม่น้ำโคโลราโด

แกรนด์แคนยอน (อังกฤษ: Grand Canyon) เป็นดินแดนหินผาและหุบเหว ซึ่งหน้าผามีความสูงถึง 1,600 เมตร และหุบเหวยาวถึง 450 กิโลเมตร และกว้างโดยเฉลี่ย 15 กิโลเมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐแอริโซนา สหรัฐ ชาวยุโรปผู้เข้าสำรวจกลุ่มแรกคือพันตรี จอห์น เวสลีย์ พาวเวลล์ และคณะเมื่อปี ค.ศ. 1869 ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวนับแสนคนในแต่ละปี

แกรนด์แคนยอนเกิดขึ้นโดยอิทธิพลของแม่น้ำโคโลราโด ไหลผ่านที่ราบสูงทำให้เกิดการสึกกร่อน พังทะลายของหินเป็นเวลา 990 ล้านปีมาแล้ว เดิมทีแม่น้ำโคโลราโดมีสภาพเป็นลำธารเล็กๆที่ไหลคด เคี้ยวไป ตามที่ราบกว้างใหญ่ที่อยู่ ระดับเดียวกับน้ำทะเล ต่อมาพื้นโลกเริ่มยกตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจาก แรงดันและ ความร้อนอันมหาศาลภายใต้พื้น โลกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปและกลายเป็นแนวเทือกเขา กว้างใหญ่ การยกตัว ของแผ่นดินทำให้ทางที่ลำธาร ไหลผ่านลาดชันขึ้นและทำให้น้ำไหลแรงมากขึ้น พัดเอาทรายและตะกอนไปตาม น้ำเกิดการกัดเซาะลึกลงไปทีละน้อยในเปลือกโลก วัดจากขอบลงไป ก้นหุบเหวกว่า 1 ไมล์ (ประมาณ 1,600 เมตร) และอาจลึกว่าสองเท่า ของความหนาของเปลือกโลก ก่อให้เกิดหินแกรนิต หินชั้นแบบต่าง ๆ พื้นดินที่เป็น หินทรายถูกน้ำ และลมกัดเซาะ จนเป็นร่องลึกสลับ ซับซ้อนนานนับล้านปี เป็นแคนยอนงดงามน่าพิศวงเนื่อง จากผลของดินฟ้าอากาศ ความร้อนเย็นซึ่งมีอิทธิพลรอบด้าน

มุมมองจากเซาท์ริม

อ้างอิง[แก้]

  1. Karlstrom, Karl E.; Lee, John P.; Kelley, Shari A.; Crow, Ryan S.; และคณะ (2014). "Formation of the Grand Canyon 5 to 6 million years ago through integration of older palaeocanyons". Nature Geoscience. 7 (3): 239–244. Bibcode:2014NatGe...7..239K. doi:10.1038/ngeo2065.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]