เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานต์พาลเมอร์สตันที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไวเคานต์พาลเมอร์สตัน
ไวเคานต์พาลเมอร์สตัน ปี 1855
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ 1855 – 19 กุมภาพันธ์ 1858
กษัตริย์พระนางเจ้าวิกตอเรีย
ก่อนหน้าเอิร์ลแห่งแอเบอร์ดีน
ถัดไปเอิร์ลแห่งดาร์บีย์
ดำรงตำแหน่ง
12 มิถุนายน 1859 – 18 ตุลาคม 1865
กษัตริย์พระนางเจ้าวิกตอเรีย
ก่อนหน้าเอิร์ลแห่งดาร์บีย์
ถัดไปเอิร์ลรัสเซลล์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 ตุลาคม ค.ศ. 1784(1784-10-20)
เวสต์มินสเตอร์ อังกฤษ
เสียชีวิต18 ตุลาคม ค.ศ. 1865(1865-10-18) (80 ปี)
ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ อังกฤษ
ศาสนาคริสตจักรแห่งอังกฤษ
พรรคการเมืองพรรควิก
เสรีพรรค
คู่สมรสเลดี้ แมรี่ คาวเพอร์
ลายมือชื่อ

เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานต์พาลเมอร์สตันที่ 3 (อังกฤษ: Henry John Temple, 3rd Viscount Palmerston) เป็นรัฐบุรุษและนักการเมืองชาวอังกฤษผู้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัยในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และยังเคยเป็นรัฐมนตรีการสงคราม, รัฐมนตรีต่างประเทศ ตลอดจนรัฐมนตรีปิตุภูมิ เขามักถูกเรียกโดยชื่อเล่นว่า "แพม" หรือ "พังพอน"[1] เขาทำงานอยู่ในรัฐบาลเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 58 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1807 จนอสัญกรรมในค.ศ. 1865 โดยเริ่มงานการเมืองครั้งแรกกับพรรคทอรี ก่อนที่จะย้ายไปพรรควิกในทศวรรษที่ 1830 ในวาระที่สองของการเป็นนายกญ เขาถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกจากเสรีพรรคที่จัดตั้งขึ้นใหม่

เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงที่สหราชอาณาจักรกำลังเรืองอำนาจในเวทีโลก และเป็นช่วงเวลาที่สหราชอาณาจักรมีชัยเหนือจีนในสงครามฝิ่นครั้งที่สองและเกิดสนธิสัญญานานกิง หลังจากสงครามกับจีนสิ้นสุดลง รัฐบาลของพาลเมอร์สตันก็ต้องมุ่งความสนใจไปยังสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยได้สนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา ซึ่งต้องการแยกตัวจากสหรัฐอเมริกาที่นำโดยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เนื่องจากหากสหรัฐอ่อนแอลงจะกลายเป็นผลดีต่อสหราชอาณาจักร[2][3] อย่างไรก็ตาม ข้าวโพดจากสหรัฐฯยังมีความจำเป็นต่ออังกฤษมากกว่าฝ้ายจากสมาพันธ์ฯ ดังนั้นการเปิดศึกกับสหรัฐโดยตรงอาจได้ไม่คุ้มเสีย[4] นอกจากนี้ รัฐบาลของพาลเมอร์สตันได้ส่งกำลังทหารไปประจำยังมณฑลแคนาดา (ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร) มากขึ้น เนื่องจากถูกชักจูงว่า สหรัฐกับสมาพันธ์อาจจับมือกันรุกรานแคนาดา

อ้างอิง[แก้]

  1. Illustration, "One Head Better than Two", from Punch, November 1862, reproduced in Amanda Foreman (2010), A World on Fire, New York: Random House, Part I, "Cotton Is King", Chapter 14, "A Fateful Decision", p. 327.
  2. Ridley, p. 552.
  3. Kevin Peraino, "Lincoln vs. Palmerston" in Peraino, Lincoln in the World: The Making of a Statesman and the Dawn of American Power (2013) pp 120-69.
  4. Thomas Paterson; J. Garry Clifford; Shane J. Maddock (2009). American Foreign Relations: A History to 1920. Cengage Learning. p. 149.