เอ็มวี สวิฟต์เรสคิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็มวี สวิฟต์เรสคิว ภายในฐานทัพเรือชางงี
ประวัติ
สิงคโปร์
ชื่อเอ็มวี สวิฟต์เรสคิว
เจ้าของเฟิสต์รีสพอนส์มารีน
ผู้ให้บริการกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์
อู่เรือเอสที มารีน
ปล่อยเรือ1 เมษายน ค.ศ. 2008
เดินเรือแรก29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008
สร้างเสร็จ30 เมษายน ค.ศ. 2009
รหัสระบุ
  • องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ : 9536519
  • หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล : 564314000
  • สัญญาณเรียกขาน : 9วี7855
สถานะประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 4,290 ตัน
ความยาว: 85 ม. (278 ฟุต 10 นิ้ว)
กินน้ำลึก: 4.3 ม. (14 ฟุต 1 นิ้ว)
ระบบขับเคลื่อน:

2 เครื่องยนต์ดีเซลเอ็มเอเอ็น 2,040 กิโลวัตต์ 3 เครื่องยนต์ดีเซลแคเตอร์พิลลาร์ 1,360 กิโลวัตต์ 2 ใบจักรซีพีพีคอร์ตนอซเซิล

1 ไฟสำรอง 95 กิโลวัตต์
ความเร็ว: 12 นอต (22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 14 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง: 7,500 ไมล์ทะเล (13,900 กม.; 8,600 ไมล์)
พิสัยปฏิบัติการ: 28 วัน
จำนวนเรือและอากาศยาน: ยานดำน้ำกู้ภัย 1 ลำ
อัตราเต็มที่: ลูกเรือ 27 นาย
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: แท่นจอดเฮลิคอปเตอร์

เอ็มวี สวิฟต์เรสคิว (อังกฤษ: MV Swift Rescue) เป็นเรือสนับสนุนและกู้ภัยเรือดำน้ำ (SSRV) ที่ดำเนินการโดยกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ (RSN) เรือลำนี้ประจำการในฐานทัพเรือชางงี และมีลูกเรือรวม 27 นายจากกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงบริษัทเอกชน สไวร์แปซิฟิกออฟชอร์โอเปอเรชันส์ จำกัดโดยหุ้น ซึ่งเป็นกำลังทางทะเลของสไวร์กรุป[1]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 กองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้มอบสัญญาออกแบบ, สร้าง, เป็นเจ้าของ และดำเนินการกับเอสที มารีน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเอสที เอนจิเนียริง[2] สัญญามูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ได้ระบุโครงการหุ้นส่วนภาครัฐ 20 ปีสำหรับระบบกู้ภัยเรือดำน้ำและบริการซ่อมบำรุง ต่อมา เอสที มารีน และเจมส์ ฟิชเชอร์ ดีเฟนส์ ได้ตกลงร่วมทุน 50-50 ในชื่อบริษัทเอกชน เฟิสต์รีสพอนส์มารีน จำกัดโดยหุ้น เพื่อสร้างเรือ[3]

สวิฟต์เรสคิวได้รับการปล่อยลงน้ำในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 และเป็นเรือลำแรกของกองทัพเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสามารถในการกู้ภัยและช่วยเหลือเรือดำน้ำ (SER)[4] โดยมีการติดตั้งยานกู้ภัยน้ำลึกดีปเสิร์ชแอนด์เรสคิวซิกส์ (DSAR 6) ซึ่งดีปเสิร์ชแอนด์เรสคิวซิกส์ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายกำลังพลออกจากเรือดำน้ำได้อย่างรวดเร็ว และใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการปล่อยยานลงน้ำ[3]

ภารกิจกู้ภัย[แก้]

สวิฟต์เรสคิวได้เข้าร่วมในภารกิจค้นหาเรือดำน้ำครั้งแรกหลังจากเรือดำน้ำของกองทัพเรืออินโดนีเซียที่ชื่อกาเอร์อี นังกาลา (402) สูญหายไปจากน่านน้ำของจังหวัดบาหลีระหว่างการฝึกตอร์ปิโดเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2021[5][6][7] โดยหุ่นยนต์ดำน้ำของเรือนี้ได้ถ่ายภาพเรือจมที่ความลึก 838 เมตร เมื่อวันที่ 25 เมษายน[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Singapore Rescue Systems". International Submarine Escape and Rescue Liaison Office. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
  2. "Submarine Support & Rescue Vessel (SSRV)". Singapore Technologies Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2014. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014.
  3. 3.0 3.1 "MV Swift Rescue Submarine Support and Rescue Vessel (SSRV)". Naval Technology. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
  4. Koh, Swee Lean Collin (30 January 2014). "Submarines in Southeast Asia: Proliferation, Not a Race". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 22 April 2021.
  5. "Indonesia searching for missing submarine with 53 on board". Reuters. The Strait Times. 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
  6. "Indonesian submarine KRI Nanggala goes missing during torpedo firing drill". Defense Brief (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 21 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
  7. Siregar, Kiki (22 April 2021). "Vessels from Singapore and Malaysia to assist in search for missing Indonesian submarine". Channel News Asia. สืบค้นเมื่อ 22 April 2021.
  8. "Sunken missing Indonesian submarine found cracked open, officials say 53 crew members dead". The Straits Times. 25 April 2021. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.