เอนด์เกม: ซีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอนด์เกม: ซีเรีย
ผู้พัฒนาเกมเดอะนิวส์
เอนจินเกมเมกเกอร์:สตูดิโอ
เครื่องเล่นเอชทีเอ็มแอล5, แอนดรอยด์
วางจำหน่าย12 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (แอนดรอยด์, เอชทีเอ็มแอล5)
แนวเทรดดิงการ์ดเกม เกมข่าว
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว

เอนด์เกม: ซีเรีย (อังกฤษ: Endgame: Syria) เป็นเกมไพ่ของสะสมดิจิทัลแบบเกมข่าวที่ได้รับการพัมนาขึ้นโดยเกมเดอะนิวส์.เน็ต ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการเปลี่ยนจากข่าวลงสู่เกม โดยเปิดตัวในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2012 และอ้างว่าเป็นความพยายามครั้งแรกที่ครอบคลุมถึงความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของวิดีโอเกม[1] เกมนี้ดึงดูดการตอบรับในเชิงบวก[2][3]ต่อคำวิจารณ์[4] เกมวางผู้เล่นในบทบาทของการประสานกับฝ่ายค้านซีเรียของสงครามกลางเมืองซีเรีย ที่พวกเขาต้องตัดสินใจเลือกทางการเมืองและการทหารที่ต้องเผชิญกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

รูปแบบการเล่น[แก้]

เกมนี้เป็นเทรดดิงการ์ดเกม ซึ่งแต่ละรอบจะแบ่งออกเป็นช่วงทางการเมืองและการทหาร แต่ละเฟสอาจส่งผลต่อระดับผู้เล่นในการสนับสนุน (และระบอบการปกครอง) หากทั้งสองฝ่ายสูญเสียการสนับสนุน ก็จะเกมโอเวอร์ ทั้งนี้ เกมยังสามารถสิ้นสุดในข้อตกลงสันติภาพระหว่างสองฝ่าย

การโต้เถียงในการยื่นคำร้องต่อแอปเปิล[แก้]

เกมนี้ได้รับการปฏิเสธโดยแอปสโตร์ของแอปเปิล โดยอ้างแนวทางแอปสโตร์ซึ่งห้ามเกมที่ “กำหนดเป้าหมายเฉพาะเผ่าพันธุ์ที่เจาะจง, วัฒนธรรม, รัฐบาลหรือบริษัทที่มีอยู่จริง หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีอยู่จริง” การอภิปรายเรื่องนี้กระตุ้นให้เกิดทั้งกฎของแอปสโตร์และความเหมาะสมของรูปแบบในการทำสงคราม[5]

เครือข่ายโทรทัศน์รัสเซียทูเดย์ให้ความสำคัญกับรายงานการปฏิเสธของแอปเปิลในการเผยแพร่เกม โดยเห็นด้วยกับการตัดสินใจอ้างว่าเกมมีลักษณะ "ผิดจรรยาบรรณ" และ "เจาะจงเฉพาะฝ่ายเดียว" เนื่องจากมีเพียงความสามารถในการเล่นเป็นกบฏและไม่ใช่รัฐบาลซีเรีย พวกเขายังถือว่าเกมนี้ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เนื่องจากเกมนี้มีองค์ประกอบของรัสเซียในการสนับสนุนรัฐบาลแม้จะมี "แถลงการณ์จากกระทรวงต่างประเทศว่ารัสเซียไม่ได้มีส่วนร่วมในความขัดแย้งนี้"[6]

เอนด์เกม: ยูเรเชีย[แก้]

มีการยื่นคำร้องต่อแอปเปิลแยกต่างหากถึงสามครั้ง ในความพยายามที่จะได้รับการผ่านการลงเกม โดยทุกครั้งที่นำสิ่งที่อาจถือเป็นการอ้างอิงถึงกลุ่มหรือผู้คนที่มีอยู่จริง[7] ในที่สุด แอปเปิลได้ปฏิเสธที่จะอนุญาตให้ เอนด์เกม: ซีเรีย ลงสู่แอปสโตร์เพียงแค่กล่าวถึงประเทศซีเรีย และดังนั้น เกมก็กลับมาสู่ชื่อเอนด์เกม: ยูเรเชีย[ต้องการอ้างอิง]

โทมัส รอว์ลิงส์ ซึ่งเป็นนักออกแบบนำของเกมรู้สึกผิดหวังกับเรื่องนี้ ในฐานะเกมที่ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาที่ส่งเสริมความตระหนัก "เรามาถึงจุดสิ้นสุดของการปฏิเสธสามครั้ง และหนึ่งอุทธรณ์ และวิธีเดียวที่เราสามารถรับเอนด์เกม: ซีเรีย ได้ คือการลบการอ้างอิงทั้งหมดในโลกแห่งความเป็นจริงออกจากไอโอเอส และรู้ศึกเศร้าที่เปลี่ยนจาก 'เกมข่าว' เป็นเพียง 'เกม' เท่านั้น"[8]

เฮมมิงส์เพลย์คอมพานี[แก้]

เฮมมิงส์เพลย์คอมพานี เป็นเกมที่สร้างขึ้นสำหรับโรงละครโกลบของเชกสเปียร์ในกรุงลอนดอนโดยออรอชดิจิทัล ซึ่งเป็นบริษัทปฏิคมของเกมเดอะนิวส์ โดยเกมนี้มุ่งเป้าไปที่เด็ก ๆ ซึ่งใช้เอนจินเดียวกันกับที่ได้เขียนขึ้นสำหรับเอนด์เกม: ซีเรีย[9] รอว์ลิงส์อธิบายเหตุผลสำหรับเรื่องนี้ว่า "ความกล้าดัดแปลงชื่อที่มีอยู่ของเรา แสดงให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์ของเกมไม่ควรสับสนกับเนื้อหาสาระ หากแกนหลักทำงานได้ดีและเล่นเกมได้ง่าย สิ่งเหล่านั้นก็สามารถหยั่งท่าทีสำหรับโครงการที่หลากหลาย"[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Endgame Syria Launched (official announcement)". 2012-12-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-13. สืบค้นเมื่อ 2013-02-22.
  2. "Apple rejects iOS game exploring Syria's civil war (wired)". 2013-01-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-11. สืบค้นเมื่อ 2013-02-22.
  3. "Review of Endgame Syria (gameswarp)". 2013-01-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-22.
  4. "Endgame Syria - Reducing The Civil War To A Game Is Unhelpful And Distasteful". 2013-01-08. สืบค้นเมื่อ 2013-02-22.
  5. Stuart, Keith (2013-01-11). "Guardian article on interactive journalism". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2013-02-22.
  6. "Endgame Syria: Apple shoots down rebel scenario simulator". 2013-01-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
  7. "Endgame: Eurasia". 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
  8. "Endgame: Eurasia Released Across Multiple Platforms". 2012-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-24. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
  9. "Banned iOS game morphs into Shakespeare kids game". 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ 2013-07-25.
  10. "Banned iOS game morphs into Shakespeare kids game". 2013-07-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-20. สืบค้นเมื่อ 2013-07-25.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]