เหรียญ 2 บาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 บาท
ประเทศไทย
มูลค่า2.00 บาท
น้ำหนัก4.4 g
เส้นผ่านศูนย์กลาง21.75 mm
ความหนา1.7 mm
ขอบเฟืองสลับเรียบ
ส่วนประกอบอะลูมิเนียมบรอนซ์
ทองแดง 92% อะลูมิเนียม 6% นิกเกิล 2%
ปีที่ผลิตเหรียญ2548 – ปัจจุบัน
หมายเลขบัญชี-
ด้านหน้า
ไฟล์:2 baht coin (Rama X, obverse).jpg
การออกแบบพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560
ด้านหลัง
ไฟล์:2 baht coin (Rama X, reverse).jpg
การออกแบบอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560

เหรียญ 2 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 2 บาทชุดปัจจุบันมีด้านหน้าเป็นภาพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังเป็นอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 2 บาท[แก้]

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2548-2550[แก้]

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราคา 2 บาท รุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของพระบรมบรรพต วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ประกาศออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ภายในวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙" และริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยจุดไข่ปลา
  • ด้านหลัง: รูปพระบรมบรรพตวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนด้านซ้ายมีข้อความ "ประเทศไทย" ด้านขวามีเลขปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีเลขไทยและเลขอารบิก บอกราคาว่า "๒ บาท 2" และริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยจุดไข่ปลา

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (นิกเกิลชุบไส้เหล็ก)
  • ลักษณะ: เหรียญกลม วงขอบนอกเฟืองจักรสลับเรียบ สีเงิน
  • น้ำหนัก: 4.40 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 21.75 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: นิกเกิล 99 % ไส้เหล็ก 99 %
  • ประกาศใช้: 15 กันยายน พ.ศ. 2548
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นางพุทธชาติ อรุณเวช
    • ด้านหลัง: นายไชยยศ สุนทราภา

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2548 60,000,000
2549 100,872,500
2550 232,105,100
2551 ไม่มีการผลิต
2552 50,370

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2551-2560[แก้]

ด้านหน้า
ด้านหลัง

ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการนำเหรียญกษาปณ์ 2 บาท รูปแบบใหม่ออกใช้ โดยเปลี่ยนวัสดุจากนิกเกิลบริสุทธิ์เคลือบเหล็กชนิดคาร์บอนต่ำมาเป็นอลูมิเนียมบรอนซ์ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและให้ประชาชนสามารถแยกความแตกต่างระหว่างเหรียญ 1 บาท และเหรียญ 2 บาทได้ง่ายขึ้น และปรับปรุงภาพด้านหน้าเหรียญซึ่งเป็นภาพพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้มีพระชนมายุใกล้เคียงปัจจุบันมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะเริ่มแรกไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดนี้ถูกใช้จนสิ้นสุดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปี พ.ศ. 2560 และถือเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดสุดท้ายในรัชกาลที่ 9

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๙" และริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยจุดไข่ปลา
  • ด้านหลัง: รูปพระบรมบรรพตวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนด้านซ้ายมีข้อความ "ประเทศไทย" ด้านขวามีปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีเลขไทยและเลขอารบิก บอกราคาว่า "๒ บาท 2" และริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยจุดไข่ปลา

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: เหรียญกษาปณ์โลหะสีทอง (อลูมิเนียมบรอนซ์)
  • ลักษณะ: เหรียญกลม วงขอบนอกเฟืองจักรสลับเรียบ สีทอง
  • น้ำหนัก: 4 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 21.75 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: ทองแดง 92%, อลูมิเนียม 6%, นิกเกิล 2%
  • ประกาศใช้: 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นายวุฒิชัย แสงเงิน
    • ด้านหลัง: นายไชยยศ สุนทราภา

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2551 10,004,000
2552 244,741,000
2553 186,228,000
2554 172,800,000
2555 307,743,400
2556 232,350,100
2557 29,810,000
2558 153,640,000
2559 102,550,000
2560 214,835,800

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 10 พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน[แก้]

[[File:2 baht coin (Rama X, obverse).jpg|thumb|เหรียญ 2 บาท ด้านหน้า]]

ในปี พ.ศ. 2561 กรมธนารักษ์ได้ปรับเปลี่ยนลวดลายบนเหรียญทุกชนิดราคา เนื่องจากได้ผลัดแผ่นดินเข้าสู่รัชกาลใหม่ โดยได้ผลิตเพื่อนำออกจ่ายแลกในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดนี้ ถือเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดแรกในรัชกาลที่ 10

ในปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์ชุดนี้ยังสามารถใช้ควบคู่กับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสมัยรัชกาลที่ 9 ได้

ลวดลาย[แก้]

  • ด้านหน้า: กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ชิดวงของเหรียญด้านซ้ายมีข้อความ "มหาวชิราลงกรณ" ด้านขวามีข้อความ "รัชกาลที่ ๑๐" และริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยจุดไข่ปลา
  • ด้านหลัง: กลางเหรียญมีเลข ๑๐ อุณาโลมและอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี เบื้องบนมีข้อความ "ประเทศไทย" และปีพุทธศักราชที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๒ บาท 2" และริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยจุดไข่ปลา

รายละเอียด[แก้]

  • ชนิด: เหรียญกษาปณ์โลหะสีทอง (อลูมิเนียมบรอนซ์)
  • ลักษณะ: เหรียญกลม วงขอบนอกเฟืองจักรสลับเรียบ สีทอง
  • น้ำหนัก: 4 กรัม
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง: 21.75 มิลลิเมตร
  • ส่วนประกอบ: ทองแดง 92%, อลูมิเนียม 6%, นิกเกิล 2%
  • ประกาศใช้: 6 เมษายน พ.ศ. 2561
  • ผู้ออกแบบ
    • ด้านหน้า: นายไชยยศ สุนทราภา
    • ด้านหลัง: นายไชยยศ สุนทราภา

จำนวนการผลิต[แก้]

ปีที่ผลิต (พ.ศ.) จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2561 449,724,200
2562 69,700,000
2563 205,000,000
2564 40,000,000
2565 10,000,000

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 2 บาท[แก้]

  • พ.ศ. 2522
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ทรงสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2528
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในปีเยาวชนสากล
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13
  • พ.ศ. 2529
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในงานปีต้นไม้แห่งชาติ
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกปีสันติภาพสากล
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • พ.ศ. 2530
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้านักวิจัย
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • พ.ศ. 2531
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 72 ปี แห่งการสถาปนาการสหกรณ์แห่งชาติ
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระชนมายุ 36 พรรษา
  • พ.ศ. 2532
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 72 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2533
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี แห่งการสถาปนาศิริราชแพทยากร
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 90 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี กรมบัญชีกลาง
  • พ.ศ. 2534
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุ 36 พรรษา
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 80 ปี ของการกำเนิดลูกเสือไทย
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี แห่งวันพระราชสมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่างานสุขภาพอนามัยแห่งชาวโลกทั้งหลาย
  • พ.ศ. 2535
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่มูลนิธิแมกไซไซทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี กระทรวงยุติธรรม
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี กระทรวงมหาดไทย
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีสมมงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 64 พรรษา เท่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 60 ปี รัฐสภาไทย
  • พ.ศ. 2536
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี การฝึกหัดครูไทย
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี สภากาชาดไทย
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 60 ปี กรมธนารักษ์
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันอัยการ
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวโรกาส 100 ปี แห่งวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2537
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 60 ปี ราชบัณฑิตยสถาน
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 120 ปี สถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
  • พ.ศ. 2538
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี การพยาบาลไทย
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 50 ปี องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
  • พ.ศ. 2539
    • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เกร็ด[แก้]

สาเหตุที่ต้องมีการนำเหรียญ 2 บาท มาใช้นั้น เนื่องจากความห่างของค่าของเหรียญ และธนบัตร มักมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1 เท่าตัว เช่น เหรียญ 10 เป็นสองเท่าของเหรียญ 5, ธนบัตร 20 มีค่าเป็นสองเท่าของเหรียญ 10, ธนบัตร 100 มีค่าเป็นสองเท่าของธนบัตร 50, ธนบัตร 1000 มีค่าเป็นสองเท่าของธนบัตร 500, แต่ในส่วนของเหรียญบาท และเหรียญ 5 บาท จะเห็นได้ว่ามีค่าห่างกันมาก และไม่มีเหรียญใดมาคั่นกลาง จึงเป็นสาเหตุให้มีการจัดทำเหรียญ 2 บาท ขึ้นมา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • รายงานประจำปี 2548 กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
  • รายงานประจำปี 2549 กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
  • รายงานประจำปี 2550 กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง