เหตุอุกกาบาตตกในรัสเซีย พ.ศ. 2556

พิกัด: 55°03′N 59°48′E / 55.05°N 59.8°E / 55.05; 59.8
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุอุกกาบาตตกในรัสเซีย พ.ศ. 2556
(ลิงก์ภาพ)
ลูกไฟอุกกบาตซึ่งเห็นได้จากคาเมนสก์-อูรัลสกีขณะยังรุ่งสาง ในมณฑลหนึ่งทางเหนือของเชเลียบินสค์
วันที่15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ที่ตั้งประเทศรัสเซีย
ประเทศคาซัคสถาน (บางพื้นที่)
ผลผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,491 คน และอาคารจำนวนถึง 3,000 แห่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการระเบิดและแรงกระแทก
เส้นทางที่อุกกาบาตตกและจุดที่ระเบิด
เปรียบเทียบขนาดอุกกาบาตกับโบอิง 747 (มีชื่อกำกับว่า Chelyabinsk meteor)

เหตุอุกกาบาตตกในรัสเซีย พ.ศ. 2556 เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 9.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น (03:20 UTC) ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 สะเก็ดดาวเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเหนือประเทศรัสเซียและบางส่วนของประเทศคาซัคสถาน เกิดเป็นลูกไฟ[1][2][3] พุ่งผ่านท้องฟ้าด้วยความเร็วอย่างน้อย 54,000 กม./ชั่วโมง[4] และแตกเป็นเสี่ยง ๆ เหนือนครเชเลียบินสค์[5] สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียประมาณว่า อุกกาบาตก้อนนี้หนักราว 10,000 ตันก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก และเกิดระเบิดกลางอากาศที่ความสูงระหว่าง 30-50 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน[6] องค์การอวกาศนาซาของสหรัฐอเมริกา ประมาณว่าอุกกาบาตลูกนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 17 เมตร และหนัก 9,000 ตัน[1] โดยมีพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นที 500 กิโลตัน[7][8][1] สะเก็ดดาวนี้ไม่ถูกตรวจพบก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ[9]

อุกกาบาตครั้งนี้เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่สุดที่มีบันทึกว่าพุ่งชนโลกนับแต่เหตุการณ์ที่ตุงกุสคาเมื่อปี 2451 และเป็นเหตุการณ์เดียวที่ทราบว่าส่งผลให้มีผู้ประสบภัยมากขนาดนี้[10] องค์การอวกาศรอสคอสมอสของรัสเซีย ประเมินเบื้องต้นว่า วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ตามทางโคจรระดับต่ำด้วยความเร็วราว 108,000 กม./ชั่วโมง[11] แหล่งข่าวรัสเซียและองค์การอวกาศยุโรปชี้ว่า เหตุอุกกาบาตครั้งนี้และดาวเคราะห์น้อย 2012 ดีเอ14 ที่โคจรเฉียดโลกในวันถัดมาไม่เกี่ยวข้องกัน

มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพราะถูกเศษกระจกที่เกิดจากคลื่นกระแทกบาด มีรายงานผู้บาดเจ็บสาหัส 2 คน[8] มีรายงานว่าอาคารจำนวนถึง 3,000 แห่งใน 6 เมืองใหญ่ในพื้นที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการระเบิดและแรงกระแทก[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Russian Meteor". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
  2. "Meteor in central Russia injures at least 500". USA Today. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
  3. "100 injured by meteorite falls in Russian Urals". Mercury News. 2013-02-15. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
  4. "500 injured by blasts as meteor falls in Russia". Yahoo News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
  5. "Hunderte Verletzte und Schäden bei Meteoritenregen in Russland" [Hundreds of injured and damage in meteor showers in Russia] (ภาษาเยอรมัน). Swisscom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-06. สืบค้นเมื่อ 2013-02-15.
  6. Russian meteorite crash: LIVE UPDATES. RT. 15 February 2013.
  7. Russian meteorite blast explained: Fireball explosion equal to 20 Hiroshimas. RT. 15 February 2013.
  8. 8.0 8.1 Meteorite hits Russian Urals: Fireball explosion wreaks havoc, up to 1,200 injured (PHOTOS, VIDEO). RT. 15 February 2013.
  9. "Neil deGrasse Tyson: Radar could not detect meteorite". Today. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
  10. Brumfiel, Geoff Brumfiel. "Russian meteor largest in a century". Nature. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
  11. "Meteorite hits Russian Urals: Fireball explosion wreaks havoc, over 900 injured (PHOTOS, VIDEO) — RT". Rt.com. สืบค้นเมื่อ 2013-02-15.
  12. Ewait, David. "Exploding Meteorite Injures A Thousand People In Russia". Forbes. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.

55°03′N 59°48′E / 55.05°N 59.8°E / 55.05; 59.8