เวสเติร์นซิตีเกต

พิกัด: 44°49′13″N 20°24′17″E / 44.82028°N 20.40472°E / 44.82028; 20.40472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวสเติร์นซิตีเกต
เกเนกซ์ทาวเวอร์
Западна капија Београда
Zapadna kapija Beograda
เวสเติร์นซิตีเกตตั้งอยู่ในBelgrade
เวสเติร์นซิตีเกต
ชื่ออื่นเกเนกซ์ทาวเวอร์
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทผสมผสาน: สำนักงาน, ที่อยู่อาศัย
สถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์
ที่ตั้งเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย
พิกัด44°49′13″N 20°24′17″E / 44.82028°N 20.40472°E / 44.82028; 20.40472
แล้วเสร็จ1979; 45 ปีที่แล้ว (1979)
เจ้าของรัฐบาลเซอร์เบีย
ความสูง
หลังคา154 m (505 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น36
พื้นที่แต่ละชั้น16,000 m2 (170,000 sq ft)
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกมีฮัยโล มีโตรวิช

เวสเติร์นซิตีเกต (อังกฤษ: Western City Gate; เซอร์เบีย: Западна капија Београда, อักษรโรมัน: Zapadna kapija Beograda) หรือ เกเนกซ์ทาวเวอร์ (เซอร์เบีย: Кула Генекс, อักษรโรมัน: Kula Geneks; Genex Tower) เป็นตึกระฟ้าความสูง 36 ชั้น ตั้งอยู่ในบล็อก 33 ตามระบบผังเมืองใหม่[1][2][3] เบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย ผลงานออกแบบในปี 1977 โดยมีฮัยโล มีโตรวิช มีสถาปัตยกรรมแบบบรูทัลลิสต์[4] อาคารประกอบด้วยอาคารย่อยสองอาคารที่เชื่อมกันและภัตตาคารหมุนบนยอด อาคารมีความสูง 117 m (384 ft)[1] หรือ 135–140 m (443–459 ft)) หากรวมภัตตาคารบนยอด ถือเป็นตึกระฟ้าที่สูงสุดในเบลเกรดเป็นอันดับสองรองจากอุชเชทาวเวอร์

อาคารหนึ่งในสองหลังเป็นของเกเนกซ์กรุ๊ป (Genex Group) ซึ่งเป็นวิสาหกิจของรัฐบาล แต่ปัจจุบันย้ายออกไปแล้ว ส่วนอาคารอีกหลังเป็นอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งปัจจุบันยังคงมีผู้อยู่อาศัยอยู่ ภัตตาคารหมุนบนยอดไม่เคยหมุนสักครั้งนับตั้งแต่เปิดให้บริการเนื่องจากปัญหาทางวิศวกรรม[5][6]

ในปี 2021 อาคารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์ทางวัฒนธรรม ในฐานะอนุสรณ์สำคัญของเบลเกรดยุคใหม่[6]

ที่ตั้ง[แก้]

อาคารตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเบลเกรดใหม่ เลขที่ 41-43 ถนน Narodnih heroja ทางตะวันตกของอาคารคือย่านสตูเดนสกีกราด และ โตชิน บูนาร์ ส่วนทางเหนือเป็นย่านโฟนตานา อาคารตั้งอยู่ในบล็อก 33 ตามระบบนับเลขบล็อกที่ดินในเบลเกรดใหม่[1][7][8]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในช่วงปลายทศวรรษ 1960s สถาปนิก มิฮัยโล มีโตรวิช Mihajlo Mitrović [sr] ได้รับมอบหมายให้ออกแบบดูแลโครงการขนาด 12 ชั้น และอาคารที่ทำการหลักของชุมชนท้องถิ่นที่ซุตเยสกา (Sutjeska) ซี่งเป็นหน่วยงานระดับตำบล โดยที่โครงการจะตั้งอยู่บนถนน Narodnih heroja มีโตรวิชเสนอให้เชื่อมอาคารทั้งสองเข้าด้วยกันและเสนอให้สร้างอาคารที่สูงกว่าที่ได้รับมอบหมายมาก ๆ เพื่อที่จะให้อาคารนี้เป็นสัญลักษณ์ที่จดจำได้ของเมืองหลวงเบลเกรด ภายหลังถึงแม้จะมีการต่อต้านคัดค้านอย่างหนัก แต่มีโตรวิชก็ยังคงยืนยันในแนวคิดของตน รวมถึงอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการต่อหน้าคณะกรรมการจำนวนมาก ท้ายที่สุดเขาจึงได้รับอนุมัติให้สร้างอาคาร และเริ่มก่อสร้างในปี 1971[9] โดยบริษัทก่อสร้างชื่อ "Rad"

อย่างไรก็ตามมีความเคลือบแคลงใจและการคัดค้านโรงการตลอดการก่อสร้าง[1] หนึ่งในเพื่อนร่วมงานไม่กี่คนที่สนับสนุนแนวคิดของมีโตรวิชคือสโตยัน มักซิมอฟิช (Stojan Maksimović) ผู้ซึ่งในภายหลังได้ออกแบบอาคารสำคัญอีกแห่งของเบลเกรด ซาวาเซนตาร์[6] การคัดค้านและต่อต้านโครงการดำเนินไปแม้แต่ภายในทศวรรษ 2010 ที่ซึ่งการ์ตูนล้อเลียนโดยอีโว กูชานิชเผยแพร่บนโปลิติกายังคงเป็นที่พูดถึงและถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่อยู่เรื่อย ๆ การ์ตูนดังกล่าวเป็นภาพของตะแลงแกงตั้งอยู่ข้างอาคาร และตัวหนังสือเขียนว่า "ตะแลงแกงนี้เอาไว้แขวนใครหรอ? เอาไว้แขวนสถาปนิกไง!"[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Daliborka Mučibabić (8 May 2019). "Архитекте траже заштиту Западне капије" [Architects ask for the protection of the Western Gate]. Politika (ภาษาเซอร์เบีย). p. 15.
  2. Tamara Marinković-Radošević (2007). Beograd - plan i vodič. Belgrade: Geokarta. ISBN 86-459-0006-8.
  3. Beograd - plan grada. Smedrevska Palanka: M@gic M@p. 2006. ISBN 86-83501-53-1.
  4. "Genex Tower, Belgrade". EMPORIS. สืบค้นเมื่อ 22 July 2017.
  5. "Brutalist concrete of old Yugoslavia inspires new generation". BBC News. 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 13 October 2019.
  6. 6.0 6.1 6.2 Daliborka Mučibabić (5 November 2021). "Urbani betonski svetionik postaje spomenik kulture" [Urban concrete lighthouse becomes cultural monument]. Politika (ภาษาเซอร์เบีย). p. 15.
  7. Tamara Marinković-Radošević (2007). Beograd - plan i vodič. Belgrade: Geokarta. ISBN 86-459-0006-8.
  8. Beograd - plan grada. Smedrevska Palanka: M@gic M@p. 2006. ISBN 86-83501-53-1.
  9. 9.0 9.1 Dejan Aleksić (5 November 2017), "Loša izolacija, podzemne vode i manjak para i u "zlatno doba"" [Bad insulation, groundwater and lack of funds even in the "golden age"], Politika (ภาษาเซอร์เบีย)