เพชรดาว โต๊ะมีนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพชรดาว โต๊ะมีนา
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการศุภมาส อิศรภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

แพทยหญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา (ชื่อเล่น : จอย) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย และเป็นบุตรสาวของ เด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรีและแกนนำกลุ่มวาดะห์[1] และเป็นทายาทรุ่นที่สามของหะยีสุหลง ผู้นำของชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิมโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[2]

ประวัติ[แก้]

พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 เป็นบุตรสาวของนายเด่น โต๊ะมีนา อดีต ส.ส.ปัตตานี แกนนำกลุ่มวาดะห์ กับนางพัชราภรณ์โต๊ะมีนา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต และ แพทยศาสตรบัณฑิต จาก National University of Malaysia ประเทศมาเลเซีย และ ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน[แก้]

พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา เคยรับราชการในกระทรวงสาธารณสุข เป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 รับผิดชอบพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้[3] ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2545 - 2549

พ.ญ.เพชรดาว เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 ครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือก[3] คือ การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557

พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาและการฟื้นฟูเหยื่อจากการก่อการร้ายองค์การสหประชาชาติ UNCCT United Nation Counter - Terrorism Center ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พ.ญ.เพชรดาว ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในปี 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ลงช่วยผู้สมัคร ส.ส.พรรคภูมิใจไทยหาเสียง ชูนโยบายแก้ปัญหาปากท้อง
  2. หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา : 66 ปี บังคับสูญหายผู้นำทางศาสนาและการเมืองคนสำคัญของปาตานี
  3. 3.0 3.1 ส.ส.มุสลิมเข้าสภา "เพชรดาว โต๊ะมีนา" จากงานเยียวยาสู่ถนนการเมือง
  4. ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]