เดอ ฮาวิลแลนด์ มัสคีโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดีเอช.98 มัสคีโต
มัสคีโต บี เอ็มเค 4 รุ่น ดีเค338 ก่อนส่งมอบให้กับฝูงบินที่ 105 เครื่องบินลำนี้ได้ถูกใช้หลายครั้งในปฏิบัติการเครื่องบินทิ้งระเบิดในเวลากลางวัน ด้วยระดับความสูงจากต่ำ ของฝูงบินที่ 105 ในปี ค.ศ. 1943
หน้าที่
ประเทศผู้ผลิต สหราชอาณาจักร
ผู้ผลิต เดอ ฮาวิลแลนด์ แอร์คราฟ คอมเพนี
เที่ยวบินแรก 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940[1]
เริ่มใช้ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1941[2]
ปลดระวาง ค.ศ. 1963
สถานะ ถูกปลดระวางแล้ว
ผู้ใช้หลัก กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
การผลิต ค.ศ. 1940–1950
จำนวนที่ถูกผลิต 7,781 ลำ[3]
ค่าใช้จ่ายต่อลำ
9,100 ปอนด์ (ค.ศ. 1951) [4]

เดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช.98 มัสคีโต เป็นเครื่องบินรบที่สามารถทำภารกิจได้หลายอย่างด้วยเครื่องยนต์ใบพัดบนปีกไหล่ทั้งสองข้างสัญชาติบริติช ถูกนำเสนอในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นที่แปลกตาตรงที่โครงสร้างของมันถูกสร้างมาจากไม้เป็นส่วนใหญ่ มีชื่อเล่นว่า "วูดเด็น วันเดอร์"(ไม้มหัศจรรย์)[5] หรือ "มอสซี่"[6] ลอร์ด Beaverbrook รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการผลิตเครื่องบิน ได้ตั้งชื่อเล่นให้มันว่า "ฟรีแมน ฟอลลี่"(ความโง่เขลาของฟรีแมน) เป็นการพาดพิงถึงพลอากาศเอก วิลฟริด ฟรีแมน ที่ปกป้องจอฟฟรีย์ เดอ ฮาวิลแลนด์ และแนวคิดการออกแบบของเขาจากคำสั่งให้ละทิ้งโครงการ[7] ในปี ค.ศ. 1941 เป็นหนึ่งในเครื่องบินที่สามารถบินปฏิบัติการที่เร็วที่สุดในโลก[8]

แต่เดิมนึกว่าเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่รวดเร็วโดยปราศจากอาวุธติดตั้ง การใช้งานของมัสคีโตได้พัฒนาขึ้นในช่วงสงครามในหลายบทบาท รวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธวิธีในช่วงเวลากลางวัน ด้วยระดับความสูงจากต่ำถึงปานกลาง เครื่องบินทิ้งระเบิดช่วงเวลากลางคืน ด้วยระดับความสูงจากสูง เครื่องบินขับไล่เบิกทาง ตอนกลางวัน หรือตอนกลางคืน เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด เครื่องบินบุกรุก การโจมตีทางทะเล หรือการถ่ายภาพลาดตระเวน มันยังถูกใช้งานโดยคอร์ปอเรชั่นแอร์เวย์สโอเวอร์ซีลส์บริติช เป็นการขนส่งที่รวดเร็วเพื่อบรรทุกสินค้าที่มีมูลค่าสูงขนาดเล็ก ที่สามารถบินไปและกลับจากประเทศที่เป็นกลางโดยผ่านเหนือน่านฟ้าที่ถูกควบคุมโดยฝ่ายข้าศึก[9] ลูกเรือในเครื่องบินลำนี้ประกอบไปด้วยนักบินสองคนและผู้นำทาง ที่นั่งแบบข้างต่อข้าง ผู้โดยสารเพียงคนเดียวที่สามารถนั่งอยู่ในช่องทิ้งระเบิดของเครื่องบินได้เมื่อมีความจำเป็น[10]

มัสคีโต เอฟบี4 มักจะบินในการตีโฉบฉวยพิเศษ เช่น ปฏิบัติการเจริโค (การโจมตีเรือนจำอาเมียงในต้นปี ค.ศ. 1944) และการโจมตีอย่างแม่นยำต่อสถานที่อาคารของหน่วยข่าวกรองทางทหาร หน่วยความมั่นคง และหน่วยตำรวจ (เช่น สำนักงานใหญ่ของหน่วยเกสตาโป) เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1943 งานฉลองครบรอบปีที่ 10 ของการเถลิงอำนาจของนาซี ในช่วงเช้า มัสคีโตได้เข้าโจมตีสถานีวิทยุกระจายเสียงหลักในกรุงเบอร์ลินล้มลง ในขณะที่แฮร์มัน เกอริงกำลังพูดอยู่ ทำให้เสียงพูดของเขาดังออกไปในอากาศ

มัสคีโตได้บินไปพร้อมกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF) และกองทัพอากาศอื่น ๆ ในเขตสงครามยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และอิตาลี มัสคีโตยังออกปฏิบัติการโดย RAF ในเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโดยกองทัพอากาศออสเตรียซึ่งตั้งฐานทัพอยู่ในเกาะฮาลมาเฮราและบอร์เนียวในช่วงสงครามแปซิฟิก ในช่วงปี ค.ศ. 1950 RAF ได้แทนทีมัสคีโตด้วยอิงลิช อีเล็คทิก แคนเบอร์รา ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังเจ็ท


อ้างอิง[แก้]

  1. Bowman 2005, p. 8.
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 11 July 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. Bowman 2005, p. 163.
  4. Hartley, Keith (2014-11-28). The Political Economy of Aerospace Industries: A Key Driver of Growth and International Competitiveness? (ภาษาอังกฤษ). Edward Elgar Publishing. ISBN 978-1-78254-496-8.
  5. Price 2009, p. 3.
  6. Hanson, Dave. "deHavilland DH 98 Mosquito." warbirdalley.com.
  7. Birtles 2017, ch. 3.
  8. Bowman 2005, p. 21.
  9. Sharp and Bowyer 1971, p. 338.
  10. "BOAC Special". Aeroplane. No. April 2015. Stamford: Key Publishing. pp. 26–49. ISSN 0143-7240.