เชาวน์ มณีวงษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เชาว์ มณีวงษ์)
เชาวน์ มณีวงษ์
หัวหน้าพรรคพลังชล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าสนธยา คุณปลื้ม
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปสนธยา คุณปลื้ม
อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม พ.ศ. 2534 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย (รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 (87 ปี)
จังหวัดสุพรรณบุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังชล

รองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์ หัวหน้าพรรคพลังชล และอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน และเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536

ประวัติ[แก้]

รศ.เชาวน์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ที่ บ้านวัดเกาะ ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี วัยเยาว์เป็นลูกศิษย์ได้รับการส่งเสริมการศึกษาจากหลวงพ่อปุย วัดเกาะ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กศ.บ. (ประวัติศาสตร์) จากวิทยาลัยการศึกษา บางแสน (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยบูรพา) เมื่อปี พ.ศ. 2501 และจบปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2519 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

การทำงาน[แก้]

รศ.เชาวน์ รับราชการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตบางแสน และเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา[1] ในระหว่างปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2536 ต่อจากนั้นจึงได้หันมาทำงานการเมือง โดยเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชลบุรี และลงสมัคร ส.ส.ในระบบสัดส่วน กลุ่ม 5 สังกัดพรรคชาติไทย[2] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองกับนายสนธยา คุณปลื้ม และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังชลคนแรก[3] และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 4[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 นายสนธยา คุณปลื้ม ได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคพลังชลให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังชล มีมติเลือกให้เขาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง แทนนายสนธยา คุณปลื้ม ที่ลาออกไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา
  2. "ผู้สมัคร ส.ส.สัดส่วน ชาติไทย หมายเลข 13". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-21.
  3. “สนธยา” รับตั้งพรรคพลังชล วาดฝันกวาด ส.ส.12 ที่นั่ง[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคพลังชล)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒