เชอร์แมนไฟร์ฟราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชอร์แมนไฟร์ฟราย
เชอร์แมนไฟร์ฟรายในช่วงระหว่างยุทธการตอกลิ่ม,ปี ค.ศ. 1944
เชอร์แมนไฟร์ฟรายในช่วงยุทธการตอกลิ่ม,ปี ค.ศ. 1944
ชนิดรถถังขนาดกลาง
แหล่งกำเนิดสหราชอาณาจักร
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบ1943
จำนวนที่ผลิต~2,000
ข้อมูลจำเพาะ
มวล34.75 long tons (35.3 tonnes)
ความยาว19 ft 4 in (5.89 m); 25 ft 6 in (7.77 m) overall
ความกว้าง8 ft 8 in (2.64 m)
ความสูง9 ft (2.7 m)
ลูกเรือ4 นาย(ผู้บัญชาการ, พลยิง, พลบรรจุกระสุน / พลสื่อสาร และพลขับ)

เกราะ89 mm (turret front)
อาวุธหลัก
QF 17-pounder (76.2 mm) gun, 77 rounds
อาวุธรอง
Flexible .50 in (12.7 mm) Browning M2 machine gun (generally not mounted); coaxial .30 in (7.62 mm) Browning M1919 machine gun, 5,000 rounds
เครื่องยนต์Multibank or radial engine petrol engine depending on chassis used
425 hp
กำลัง/น้ำหนัก12 hp (9 kW) / tonne
กันสะเทือนVertical volute coil spring
พิสัยปฏิบัติการ
120 miles (193 km)
ความเร็ว20 mph (32 km/h) sustained
25 mph (40 km/h) at bursts[1]

เชอร์แมนไฟร์ฟราย เป็นรถถังที่ถูกใช้งานโดยสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอื่นๆและฝ่ายสัมพันธมิตรถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยบนตัวฐานรถถังของเอ็ม4 เชอร์แมน แต่ติดตั้งเข้ากันพอดีด้วยปืนต่อต้านรถถังของบริติชอย่าง 17-ปอนเดอร์ ขนาด 3 นิ้ว(76.2 มม.) คาลิเบอร์อันทรงพลังเป็นอาวุธหลัก เดิมทีได้คิดว่าเป็นสิ่งที่ได้ถูกชดเชยแล้ว จนกระทั่งการออกแบบรถถังของบริติชในอนาคตได้เข้ามาประจำการ เชอร์แมนไฟร์ฟรายได้กลายเป็นยานพาหนะที่พบบ่อยที่สุดจากการติดตั้ง 17-ปอร์ดเดอร์ในสงคราม

ในช่วงสงคราม กองทัพบกบริติชได้ใช้รถถังเชอร์แมนอย่างกว้างขวาง แม้ว่าพวกเขาจะคาดคิดว่าจะมีการพัฒนาโมเดลรถถังของตัวเองในเร็ว ๆ นี้ ความคิดไอเดียที่ถูกปฏิเสธก่อนหน้านี้ในการติดตั้งด้วยปืนใหญ่ 17-ปอนเดอร์ในรถถังเชอร์แมนที่มีอยู่ ท้ายที่สุดก็ได้รับการยอมรับ แม้ว่าในช่วงแรกจะมีการต่อต้านจากรัฐบาล นี่เป็นความโชคดีในการพิสูจน์มาแล้ว เนื่องจากรถถังที่ถูกออกแบบทั้งครุยเซอร์ เอ็ม 8 ชาลเลนเจอร์ และครุยเซอร์ เอ็มเค 8 ครอมเวลล์ต่างประสบปัญหาและความล่าช้า

หลังจากปัญหาที่ยากลำบากในการหาปืนขนาดใหญ่ที่เข้ากันพอดีกับป้อมปืนของรถถังเชอร์แมนได้ถูกแก้ได้แล้ว ไฟร์ฟรายก็ได้ถูกเข้าสายการผลิตในช่วงต้นปี ค.ศ. 1944 ซึ่งทันเวลาที่จะมีการจัดตั้งกลุ่มกองทัพที่ 21 ของจอมพล เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี สำหรับการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี ในไม่ช้า ต้นทุนในการผลิตได้สูงขึ้น เนื่องจากปืนของมันสามารถที่จะเจาะเกราะรถถังอย่างพันเทอร์และทีเกอร์ได้ เมื่อได้เผชิญหน้าในนอร์ม็องดี บางสิ่งที่ไม่มีรถถังของกองทัพบกบริติชคันใดที่จะสามารถทำอย่างไว้ใจได้ในช่วงเวลานั้น ในการรับรู้เรื่องนี้ ทีมพลขับรถถังและทีมพลปืนต่อต้านรถถังของเยอรมันจะได้รับคำสั่งให้โจมตีรถถังไฟร์ฟรายเสียก่อน เนื่องจากรถถังไฟร์ฟรายมีลำกล้องปืนที่ยาวกว่าอย่างเห็นได้ชัด พลขับรถถังได้พยายามที่จะอำพรางตัวให้ดูเหมือนรถถังเชอร์แมนแบบปกติที่มีปืนขนาด 77 มม. จากระยะไกล ระหว่าง 2,100 คัน ถึง 2,200 คัน ได้ถูกผลิตขึ้นก่อนที่การผลิตจะลดลงในปี ค.ศ. 1945

อ้างอิง[แก้]

  1. Hunnicutt, R (1978). Sherman. San Rafeal: Taurus Enterprises. p. 550. ISBN 978-0-89141-080-5.