เชลโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชลโล
เชลโลจากมุมมองด้านตรงและข้าง
เครื่องสาย
ชื่ออื่นวิโอลอนเชลโล
Hornbostel–Sachs classification321.322-71
(Composite chordophone sounded by a bow)
คิดค้นเมื่อราว ค.ศ. 1660 ต่อยอดจาก เบสไวโอลิน
ช่วงเสียง
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง

วิโอลอนเชลโล (อังกฤษ: Violoncello) หรือเรียกทั่วไปว่า เชลโล (อังกฤษ: Cello) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย นิยมเล่นใน วงออร์เคสตราและ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน, วิโอล่า, เชลโล และ ดับเบิลเบส เชลโลเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับไวโอลิน มีโน้ตเพลงที่เขียนไว้สำหรับเชลโลโดยเฉพาะอยู่หลายบทเพลง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม[ต้องการอ้างอิง] ถึงอย่างไรก็ตามยังมีการเล่นเชลโลกับดนตรีประเภทแจ๊ส บลูส์ ป๊อป ร็อก ฯลฯ

ประวัติ[แก้]

เชลโล คือชื่อย่อของ วิโอลอนเชลโล ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีความโค้งมนเช่นเดียวกับไวโอลินและวิโอล่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เชลโลมีพัฒนาการของรูปทรงที่หลากหลายกว่าจะเป็นดังเช่นที่เห็นในปัจจุบัน และต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่ยอมรับในฐานะเครื่องดนตรีสำหรับการแสดงเดี่ยว

หลายคนเชื่อว่า เชลโล มีที่มาจากคำว่า Viol ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เชลโลเริ่มปรากฏขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุคบาโรค จากเครื่องสายในตระกูลไวโอลิน ในขณะที่เครื่องดนตรีต่างๆ ที่มีรูปทรงคล้ายไวโอลินในสมัยนั้นมีแพร่หลายอยู่แล้ว เช่น ซอ Viol และ Rebec แต่ไวโอลินเป็นตระกูลเครื่องสายที่แยกออกมาจากเครื่องดนตรีเหล่านั้น

ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาเชลโลมีการเปลี่ยนแปลงขนาดมาโดยตลอด แต่องค์ประกอบโดยทั่วไปแล้วแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย Antonio Stradivari เป็นช่างทำไวโอลินคนแรกที่กำหนดขนาดมาตรฐานของเชลโลสมัยใหม่ขึ้น เชลโลในยุคก่อนๆ นั้นมีขนาดความยาวประมาณ 80 ซม. ซึ่งไม่สะดวกต่อการเล่นเท่าใดนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1707 เขาได้ปรับขนาดเชลโลให้สั้นลงเหลือเพียง 75 ซม. ซึ่งทำให้เล่นได้สะดวกขึ้น

โครงสร้างเชลโล[แก้]

อ้างอิง[แก้]