เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมมารดาทรัพย์
มีชื่อเสียงจากพระสนมเอกในรัชกาลที่ 3
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตรสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร
บิดามารดา
  • พระอักษรสมบัติ (บิดา)
  • ผ่อง ณ พัทลุง (มารดา)
ญาติพระยาพัทลุง (ตา)

เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนนีในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ และเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระปัยยิกาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ[แก้]

เจ้าจอมมารดาทรัพย์ เป็นธิดาของพระอักษรสมบัติ (ทับ) กับผ่อง[1] ผ่องเป็นธิดาของพระยาพัทลุง (ทองขาว) กับปล้อง (น้องสาวคุณหญิงเพ็ง พระชนนีในสมเด็จพระศรีสุลาไลย)[2] เจ้าจอมมารดาทรัพย์มีพี่น้อง 2 คนคือ[3]

  1. รอด หรือ ฉิม ต่อมาได้เป็นภรรยาพระเทพเพชรรัตน์ (นาค) ย่าของพระนมปริก
  2. น้อย ต่อมาได้เป็นภรรยาพระยาเทพอรชุน (แสง)

พระอักษรสมบัติ (ทับ) ได้พามาถวายตัวเป็นหม่อมในพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้มีพระประสูติกาลหม่อมเจ้าสององค์ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมทรัพย์จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าจอมมารดาทรัพย์

เจ้าจอมมารดาทรัพย์เป็นหนึ่งในสามพระสนมเอกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดมาก อีกสองคนคือเจ้าจอมมารดาบางและเจ้าจอมมารดาอิ่ม เหตุผลที่โปรดเจ้าจอมมารดาทรัพย์นั้นสันนิษฐานว่าเพราะเป็นพระญาติสนิทในสมเด็จพระศรีสุลาลัย[4][5]

พระราชโอรส-ธิดา[แก้]

เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ได้มีพระราชโอรส 1 พระองค์ และพระราชธิดา 1 พระองค์คือ

  1. พระองค์เจ้าชายศิริวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาพระอัฐิเป็น สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ ทรงเป็นพระชนกในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
  2. พระองค์เจ้าหญิงละม่อม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูร แล้วเลื่อนเป็น พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงออกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร[6]

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-13.
  2. เวียงวัง ตอนที่ 107 : พระราชวงศ์กรุงธนบุรี
  3. พระนมปริกพระนมเอกผู้ใหญ่แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  4. เวียงวัง ตอนที่ 32 : เครื่องยศพระสนมเอก
  5. ชาติพันธุ์ชาวราชบุรี
  6. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2486, ปีที่ 48, 11 มิถุนายน 2545