ฮีโน่ โปรเฟีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮีโน่ โปรเฟีย
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตฮีโน่มอเตอร์
เรียกอีกชื่อ
  • ฮีโน่ 700
  • ฮีโน่ 700 สเปลนเดอร์
  • ฮีโน่ ซูเปอร์ดอลฟิน
  • ฮีโน่ ซูเปอร์ดอลฟิน โปรเฟีย
  • เกีย แกรนโต
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2524–ปัจจุบัน
แหล่งผลิต
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถบรรทุกขนาดใหญ่
รูปแบบตัวถัง
  • ห้องโดยสารมาตรฐาน (ทั่วโลก)
  • ห้องโดยสารแบบกว้าง (ออสเตรเลีย)
ระบบส่งกำลัง
ระบบเกียร์ฮีโน่ (ธรรมดา, อัตโนมัติ), แซดเอฟ เอเอส โทรนิก (อัตโนมัติ)

ฮีโน่ โปรเฟีย (ญี่ปุ่น: 日野プロフィア; อังกฤษ: Hino Profia) เป็นรถบรรทุกหน้าสั้นขนาดใหญ่ (heavy duty cab-over truck) ที่ผลิตและพัฒนาโดยฮีโน่ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือโตโยต้า เปิดตัวในปี พ.ศ. 2524 ในตลาดส่งออกส่วนใหญ่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฮีโน่ 700 ส่วนชื่อ โปรเฟีย ถูกใช้อย่างเป็นทางการในญี่ปุ่น และก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ ซูเปอร์ดอลฟิน โปรเฟีย (Super Dolphin Profia) รหัสรุ่นรถบรรทุกฮีโน่ เอฟ-ซีรีส์ คือ FN, FP, FR, FS และ FW รหัสรุ่นหัวลากคือ SH และ SS

ฮีโน่ โปรเพีย มีคู่แข่งหลักในญี่ปุ่นได้แก่ อีซูซุ , มิตซูบิชิ ฟูโซ่ ซูเปอร์เกรต และยูดี ควอน

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2524 – 2546)[แก้]

ซูเปอร์ดอลฟิน (พ.ศ. 2521–2535)[แก้]

รถดัมป์ฮีโน่ ซูเปอร์ดอลฟิน ในไต้หวัน

เปิดตัวในปี พ.ศ. 2524 เป็นการเข้าสู่ตลาดรถบรรทุกขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นของฮีโน่ และส่งออกไปยังต่างประเทศ

ซูเปอร์ดอลฟิน โปรเฟีย (พ.ศ. 2535–2546)[แก้]

ฮีโน่ ซูเปอร์ดอลฟิน โปรเฟีย ที่ติดตั้งระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) ในประเทศนิวซีแลนด์ โลโก้ ABS มองเห็นได้ชัดเจนที่ด้านหน้าของรถบรรทุก

เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยได้รับการปรับปรุงรูปลักษณ์ให้ทันสมัยตามสไตล์ "ครูซซิ่งเรนเจอร์" (Cruising Ranger) ซึ่งไฟหน้า กระจกประตู และไฟเลี้ยวที่ติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าและประตูห้องโดยสาร ล้วนได้รับการออกแบบเช่นเดียวกับรุ่นครูซซิ่ง เรนเจอร์ที่ออกมาก่อนหน้านี้

เครื่องยนต์มาพร้อมระบบสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยปุ่มเดียวเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน สำหรับเครื่องยนต์ V8 จะติดตั้งเครื่องยนต์รุ่น F20C, F21C หรือ F17D ให้กำลังแรงม้า 330-560 แรงม้า ส่วนเครื่องยนต์ 6 สูบเรียง จะติดตั้งเครื่องยนต์รุ่น P11C ให้กำลังแรงม้า 230-360 แรงม้า และรุ่น K13C ให้กำลังแรงม้า 290-560 แรงม้า หรือรุ่น K13D ให้กำลังแรงม้า 270 หรือ 380 แรงม้า

หน้ากระจังแบบสามช่องเรียงกันระหว่างไฟหน้าเหมือนกับรุ่น ZM รุ่นปลาย เป็นลักษณะเด่นของรุ่นแรก สัญลักษณ์ปีกนกมีขนาดเล็กลงเล็กน้อยและวางไว้บนกระจังหน้าอย่างกลมกลืน นอกจากนี้ยังมีโลโก้ HINO ใหม่ และยังมีการติดตั้งกระจกไฟฟ้า ซึ่งหาได้ยากสำหรับรถยนต์ (ทั้งสองด้านมีกระจกไฟฟ้าแบบเลื่อน ฝั่งคนขับเป็นแบบยกขึ้น ฝั่งผู้โดยสารเป็นแบบเลื่อน)

คำขวัญของรุ่นนี้คือ "เปลี่ยนแปลงการขนส่งแบบเต็มรูปแบบ" และ "มุ่งสู่โลจิสติกส์แห่งศตวรรษที่ 21" โดยมี โคจิ ยาคุโช นักแสดงชื่อดังมาเป็นพรีเซนเตอร์

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 ได้มีการเพิ่มรถบรรทุกหัวลาก (semi-tractor) เข้ามา โดยเช่นเดียวกับรุ่นซูเปอร์ดอลฟิน รถหัวลากรุ่นนี้ได้ติดตั้งกระจังหน้าขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "trailer grill" บนฝากระโปรงหน้า

ในปี พ.ศ. 2537 มีการปรับปรุงเล็กน้อย ดังนี้

  • เปิดตัวเครื่องยนต์ L-series ใหม่ (GVW22t/25t) ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดการปล่อยมลพิษ
  • ยกเลิกตราปีก และติดตั้งตรา HINO ใหม่ พร้อมสัญลักษณ์ H และเปลี่ยนตะแกรงหน้าใหม่
  • เปลี่ยนข้อความบนประตูจากชื่อรุ่นรถ เป็นชื่อรุ่นรถพร้อมรุ่นเครื่องยนต์
  • เนื่องจากข้อบังคับ KC เครื่องยนต์ V-type เปลี่ยนจาก 300 แรงม้า (320 แรงม้า, 350 แรงม้า) F17E เป็น 330 แรงม้า (360 แรงม้า) F20C, 315 แรงม้า F20C เป็น 360 แรงม้า (390 แรงม้า, 430 แรงม้า) F21C, 400 แรงม้า V22D เป็น 380 แรงม้า V20C, และ 480 แรงม้า V25C เป็น 520 แรงม้า V26C
  • ไฟหน้าด้านหลัง (จากตรงกลาง) โค้งมนกว่ารุ่นก่อนหน้า

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2546 – 2560)[แก้]

รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)[แก้]

รุ่นรถ[แก้]

  • FH 4×2
  • XH 4×4
  • FR 6×2
  • GN 6×2/2
  • FN 6×2/4
  • FR-B 6×2*4
  • FS 6×4
  • FS-B 6×4*4
  • XS 6×6
  • FP 8×2
  • FP-B 8×2*6
  • FP-N 8×2/4
  • FP-T 8×2/6
  • FW 8×4
  • FW-N 8×4/4
  • FW-B 8×4*4
  • FW-B 8×6
  • XW 8×8
  • FX 10×4/6
  • FX-B 10×4*6
  • FB 10×6
  • FB-Z 10×8
  • XB 10×10
  • FQ 12×4/8

เครื่องยนต์[แก้]

"รหัส" เป็นสัญลักษณ์ที่ติดอยู่กับเครื่องยนต์แต่ละตัว ช่วยให้สามารถระบุรุ่นเครื่องยนต์ที่ติดตั้งในรถรุ่นนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น KC-SH4FDCA "4F" คือรถที่ติดตั้งเครื่องยนต์ F21C

รหัสเครื่องยนต์ รุ่นเครื่องยนต์ รูปแบบ ขนาด (ซีซี) กำลัง (แรงม้า) ระยะเวลาการผลิต
1A A09C 6 สูบเรียง อินเตอร์คูลเลอร์เทอร์โบ 8,866 300/320/360/380[5] 2550–ปัจจุบัน
1E E13C 6 สูบเรียง อินเตอร์คูลเลอร์เทอร์โบ 12,913 360/380/410/450/460/480/520 2546–ปัจจุบัน
1F F17D V8・ไม่มี/อินเตอร์คูลเลอร์เทอร์โบคู่ 16,745 310/450/560 2535–2546
1K K13C 6 สูบเรียง อินเตอร์คูลเลอร์เทอร์โบ 12,882 360/410 2535–2546
2K K13D 6 สูบเรียง 13,267 270 2537–2543
2P P11C 6 สูบเรียง 10,520 300/325/340/360 2535–2530
3F F20C V8 19,688 355/380 2535–2543
4F F21C 20,781 360/390/430 2537–2546

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "日野自動車、日野市内の本社工場を閉鎖へ-2020年めどに茨城へ移転" [Hino Motors' Hino headquarters plant set to close. Production transfer to Ibaraki by 2020]. Hachioji Economic (ภาษาญี่ปุ่น). 2011-01-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
  2. "Home". kuozui.com.tw.
  3. "Home". hino.com.ph.
  4. Salter, Andy (2006-03-02). "Hino enters the fray". Commercial Motor. Vol. 203 no. 5167. Sutton: Reed Business Information. pp. 62–64. ISSN 0010-3063.
  5. 2段過給ターボ・空冷インタークーラー2基搭載。3代目プロフィアより搭載

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]