ฮะวา อาบดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮะวา อาบดิ
Hawa Abdi
حواء عبدي
เกิด17 พฤษภาคม ค.ศ. 1947(1947-05-17)
โมกาดิชู, ประเทศโซมาเลีย
เสียชีวิต5 สิงหาคม ค.ศ. 2020(2020-08-05) (73 ปี)
โมกาดิชู
สัญชาติโซมาเลีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติโซมาเลีย
อาชีพแพทย์, สูติแพทย์, นักกิจกรรม
เว็บไซต์www.dhaf.org

ฮะวา อาบดิ ษิบลเว (Hawa Abdi Dhiblawe [1] โซมาลี: Xaawo Cabdi, อาหรับ: حواء عبدي 17 พฤษภาคม 1947 – 5 สิงหาคม 2020) เป็นนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและแพทย์ชาวโซมาลี เธอเป็นผู้ก่อตั้งและประธานของมูลนิธิ พญ. ฮะวา อาบดิ (Dr. Hawa Abdi Foundation; DHAF) องค์กรไม่แสวงผลกำไร

การทำงาน[แก้]

องค์กรพัฒนาสุชภาพในพื้นที่ชนบท[แก้]

ในปี 1983 อาบดิได้เปิดตัวองค์กรพัฒนาสุขถาพในพื้นที่ชนบท (Rural Health Development Organization; RHDO) บนที่ดินส่วนบุคคลของครอบครัวเธอในภูมิภาค Lower Shebelle ตอนใต้ แรกเริ่มเปิดเป็นคลินิกที่มีเพียงห้องเดียว ให้บริการด้านสูตินรีเวชแก่สตรีในขนบทราว 24 คนต่อวัน ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นโรงพยาบาลขนาดสี่ร้อยเตียง[2]

เมื่อสงครามกลางเมืองโซมาเลียปะทุขึ้นในต้นทศวรรษ 1990s อาบดิได้ใช้ความมั่งคั่งของเธอช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม เธอตั้งคลินิกแห่งใหม่รวมถึงโรงเรียนสำหรับเด็กกำพร้าตากสงคราม[2]

องค์กร RHDO ของเธอได้ถูกเปลี่ยนขื่อเป็นมูลนิธิ พญ. ฮะวา อาบดิ (Dr. Hawa Abdi Foundation; DHAF) ในปี2007[2] ที่ซึ่งเติบโตและขยายการทำงานออกไปสู่การตั้งค่ายบำบัดภัย ที่ซึ่งระหว่างภัยแล้งแอฟริกาตะวันออก ปี 2011 ได้เป็นที่พักอาศัยของผู้คนกว่า 90,000 คนบนพื้นที่ 1,300 เอเคอร์รอบโรงพยาบาลของเธอ[2][3]

สองปีก่อนหน้า ในยุคที่ อัล-ชาบาบกำลังรุ่งเรืองในโซมาเลียใต้ กองกำลังของอัลชาบาบได้ส่งกำลังพลเข้ายึดพื้นที่โรงพยาบาลและค่ายบำบัดภัยของเธอ รวมทั้งข่มขู่ในอาบดิปิดตัวโครงการทั้งหมดของเธอเสีย เธอยืนหยัดที่จะไม่ทำตามจนกระทั่งกองกำลังกบฏได้ยอมถอยออกในอาทิตย์ถัดมา ประกอบกับแรงกดดันจากชาวบ้านในพื้นที่, สหประชาชาติ และกลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ[2][4] พื้นที่ของเธอถูกบุกอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ซึ่งทำให้อาบดิต้องยอมยกเลิกการบริการทั้งหมดไปจนในที่สุดกองกำลังยอมออกจากพื้นที่[2]

มูลนิธิ พญ. ฮะวา อาบดิ[แก้]

ศูนย์ฮะวา อาบดิ C

มูลนิธิ พญ. ฮะวา อาบดิ (Dr. Hawa Abdi Foundation; DHAF) ดำเนินงานโดยฮาบดิเองและลูกสาวสองคนของเธอที่เป็นแพทย์เช่นกัน คือ Deqo Adan (หรือรู้จักในชื่อ Deqo Mohamed) ผู้เป็นซีอีโอของมูลนิธิ และผู้ช่วยAdan (หรือที่รู้จักในชื่อ Amina Mohamed),[2] ข้อมูลจากปี 2012 ระบุว่าองค์กรมีเจ้าหน้าที่จากนานาชาติกว่า 102 คน และมีทีมอาสาสมัครชาวประมงและชาวนาอีกกว่า 150 คน[2]

DHAF is นั้นไม่มีความยึดโยงกับรัฐบาล การเมือง ศาสนา หรือชนเผ่าใด และเป็นองค์กรที่เป็นเอกเทศทางการเงิน เงินทุนทั้งหมดได้มาจากการบริจาคจากทั่วโลกและจากกิจกรรมเรี่ยไรต่าง ๆ เท่านั้น นอกจากนี้เพื่อให้องค์กรไม่มีความยึดโยงกับรัฐบาล องค์กรได้ปฏิเสธการรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมาโดยตลอด[5]

พื้นที่ของศูนย์ DHAF ประกอบด้วยโรงพยาบาล โรงเรียน และศูนย์โภชนาการ[2] และให้บริการที่พักพิง น้ำ อาหาร และการรักษาโรคแก่สตรีและเด็กเป็นหลัก[4][6] นับตั้งแต่การก่อตั้งในต้นทศวรรษ 1980s มีการประมาณการว่าที่นี่ได้ช่วยเหลือผู้คนไปมากกว่า 2 ล้านคน[2]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เมื่ออาบดิอายุได้สิบสองปี เธอได้ถูกบังคับแต่งงานกับตำรวจชายที่อายุแก่กว่าเธอมาก ที่ซึ่งทั้งคู่ได้เลิกรากันไปในหลายปีถัดมาก่อนที่เธอจะเดินทางออกจากโซมาเลียไปยังมอสโกและเคียฟ สหภาพโซเวียต ระหว่างที่เธอใช้ชีวิตอยู่ที่โซเวียต เธอได้พบกับอะเดน โมเฮมเมด (Aden Mohammed) นักเรียนแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ (fellow) ชาวโซมาเลีย[7][8]

ในปี 1973 อาบดิได้แต่งงานกับอะเดน มีลูกด้วยกันคนแรกหลังแต่งงานได้สองปี[9] ทั้งสองมีลูกด้วยกันสามคน คือ Deqo, Amina และ Ahmed โดยที่ Ahmed เสียชีวิตในอุบัติเหตุรถชนในปี 2005 ที่ Hargeisa ขณะเดินทางไปเยี่ยมอะเดนที่ได้แยกกับอาบดิไป[10] ลูกสาวทั้งสอของเธอ Deqo และ Amina เป็นแพทย์ทั้งคู่[11]

อาบดิเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2020 ที่บ้านพักของเธอในเมืองโมกาดิชู ด้วยอายุ 73 ปี โดยไม่มีการรายงานสาเหตุการเสียชีวิตของเธอ[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Abdi, H.; Jacobsen, S.D. (17 August 2013). "Dr. Hawa Abdi, M.D.: Physician & Human Rights Activist, Hawa Abdi Foundation". In-Sight (3.A): 21–29.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "Dr. Hawa Abdi: Somalia is my Golden Jubilee". Sabahi. 22 March 2012. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.
  3. Kristof, Nicholas D. (15 December 2010). "Heroic, Female and Muslim". New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.
  4. 4.0 4.1 Griswold, Eliza. "Dr. Hawa Abdi & Her Daughters: The Saints of Somalia". Glamour. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.
  5. "Dr. Hawa Abdi". 4 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-02. สืบค้นเมื่อ 4 April 2018.
  6. Ali, Laila (23 August 2011). "The doctor undaunted by Somalia's insurgents". Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.
  7. Sen, Veronica (August 17, 2013). "A brave woman's hard fight". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  8. Abdi, Hawa (April 2, 2013). Keeping Hope Alive: One Woman—90,000 Lives Changed. Grand Central Publishing. ISBN 9781455599295.
  9. 1947-, Hawa Abdi (2013). Keeping hope alive : one woman: 90,000 lives changed. Robbins, Sarah J. (1st ed.). New York, NY: Grand Central Pub. ISBN 9781455503766. OCLC 806015186.{{cite book}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  10. Ibrahim, Mohamed; Gettleman, Jeffrey (January 7, 2011). "Under Siege in War-Torn Somalia, a Doctor Holds Her Ground". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  11. 11.0 11.1 Latif Dahir, Abdi (August 6, 2020). "Hawa Abdi, Doctor Who Aided Thousands in Somalia, Dies at 73". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.