ฮอว์กอาย (ระบบคอมพิวเตอร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบกล้องฮอว์กอายในการแข่งขันเทนนิส เครมลินคัพ ที่มอสโก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2012

ฮอว์กอาย เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาหลายประเทศ อาทิ คริกเกต เทนนิส แกลิกฟุตบอล แบดมินตัน เฮอร์ลิง รักบี้ยูเนียน ฟุตบอล และวอลเลย์บอล มีหน้าที่ในการตรวจสอบวิถีของลูกบอลและแสดงผลโดยใช้ภาพเคลื่อนไหวบนหน้าจอ[1] โดยการแสดงผลของวิถีลูกบอลบนหน้าจอถูกเรียกว่า ช็อตสปอต[2]

ระบบฮอว์กอายซึ่งมีโซนี่เป็นเจ้าของ ถูกพัฒนาขึ้นในสหราชอาณาจักรโดยพอล ฮอว์กิน และได้นำมาใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 2001 กับกีฬาคริกเก็ตที่ถ่ายทอดสดบนโทรทัศน์ ตัวระบบทำงานผ่านกล้องที่มีคุณภาพสูงประมาณ 6-7 ตัว ซึ่งตั้งอยู่ใต้หลังคาของสนามและทำหน้าที่ตรวจสอบลูกบอลจากมุมมองที่แตกต่างกัน วิดีโอจากกล้องเหล่านี้จะถูกปรับมุมเพื่อบีบให้นำเสนอภาพวิถีบอลแบบสามมิติ ฮอว์กอายมีความแม่นยำของภาพในช่วงที่ไม่เกิน 3.6 มิลลิเมตร ทำให้ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่มีความยุติธรรมเป็นอันดับที่สองในวงการกีฬา[3] ระบบนี้ได้รับการยอมรับโดยหน่วยงานบริหารเทนนิส คริกเก็ต และฟุตบอล ในแง่ของการตัดสินที่เที่ยงธรรม ฮอว์กอายถูกใช้ในระบบแชลเลนจ์ในกีฬาเทนนิสมาตั้งแต่ ค.ศ. 2006 และในคริกเก็ตมาตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ต่อมาระบบได้ถูกนำมาใช้ในพรีเมียร์ลีกตั้งแต่ฤดูกาล 2013–14 เพื่อใช้กับเทคโนโลยีโกลไลน์[4] และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 สโมสรในบุนเดิสลีกาลงมติให้นำระบบนี้มาใช้ในการตัดสินการแข่งขันนับตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16 เป็นต้นไป[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Two British scientists call into question Hawk-Eye's accuracy – Tennis – ESPN. Sports.espn.go.com (19 June 2008). Retrieved on 15 August 2010.
  2. "Hawkeye and Shot Spot Technology on All Surfaces: The Red Clay Controversy". bleacherreport.com. 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 17 April 2019.
  3. "Hawk-Eye at Wimbledon: it's not as infallible as you think". The Guardian. 8 July 2013. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
  4. Gibson, Owen (11 April 2013). "Premier League clubs choose Hawk-Eye to provide new goalline technology". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 4 July 2013.
  5. "Bundesliga approves Hawk-Eye goal-line technology for new season". The Observer. 4 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]