อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474
ศาลากลางเมืองHankou ในช่วงน้ำท่วมปี 1931
วันที่กรกฎาคม - พฤศจิกายน 2474 (ขึ้นอยู่กับแม่น้ำแต่ละสาย)
ที่ตั้งภาคกลางและภาคตะวันออกของจีน
เสียชีวิต422,499-4,000,000[1]

อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474 เป็นอุทกภัยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายครั้งทางตอนกลางของประเทศจีน โดยเกิดน้ำท่วมตลิ่งแม่น้ำสามสายหลัก ทั้งแม่น้ำหวง (หวงเหอ) แม่น้ำแยงซี (แยงซีเกียง) และแม่น้ำหวย (หวยเหอ) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ประมาณการตั้งแต่ 145,000 คน [2] ถึง 4 ล้านคน [3][4][5] ได้รับการบันทึกว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดที่มีการบันทึกไว้ และร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 [6]

ก่อนเกิดน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2474 ได้เกิดภาวะแห้งแล้งยาวนานทางตอนกลางของประเทศจีนตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ถึง 2473 [5] ตอนปลายปี พ.ศ. 2473 เกิดสภาพอากาศแปรปรวน โดยฤดูหนาวในปีนั้นเกิดพายุหิมะอย่างหนัก เมื่อหิมะละลายในฤดูใบไม้ผลิจึงทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงกว่าทุกปี ประกอบกับมีพายุฝนรุนแรงกว่าปกติ ในปีนั้นมีพายุไซโคลนพัดกระหน่ำถึง 7 ลูก จากค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 2 ลูกสถานที่เกิดเมืองกวางตุ้ง[6]

สาเหตุทางอุตุนิยมวิทยาและผลกระทบทางกายภาพ[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึง 2473 ประเทศจีนได้รับผลกระทบของภัยแล้งเป็นเวลานาน จนเมื่อฤดูหนาวปี 2473 เกิดพายุหิมะที่รุนแรง โดยมีผลกระทบเป็นหิมะและน้ำแข็งจำนวนมากบนภูเขาในพื้นที่บริเวณนั้น ช่วงต้นปี 2474 ในช่วงที่ฝนตกหนักทำให้หิมะและน้ำแข็งไหลลงมาที่ช่วงกลางของแม่น้ำแยงซี โดยปกติแล้วในภูมิภาคนี้น้ำจะขึ้นสูงในช่วง ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ทำให้ต้นปี 2474 มีน้ำท่วมหนักอย่างต่อเนื่อง เมื่อเดือนมิถุนายนผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำถูกบังคับให้ต้องละทิ้งบ้าน[7] มิหนำซ้ำช่วงฤดูร้อนยังเกิดพายุไซโคลน ในเดือนกรกฎาคมของปีนั้นแม้เพียงเดือนเดียวเกิดพายุไซโคลนถึงเก้าลูกเข้าปะทะซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยสองลูกต่อปี ในเดือนนี้สถานีอุตุนิยมวิทยาสี่แห่งในบริเวณแม่น้ำแยงซีรายงานว่ามีฝนตกรวมกว่า 600 มม. (24 นิ้ว) ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำแยงซีมีระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ฤดูใบไม้ร่วงในปีนั้นมีฝนตกหนักและเส้นทางของแม่น้ำบางสายนั้นไม่กลับสู่เส้นทางเดิมจนประทั่งเดือนพฤศจิกายน

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของน้ำท่วมมีพื้นที่ประมาณ 180,000 ตารางกิโลเมตร กินพื้นที่ขนาดเท่ากับประเทศอังกฤษบวกกับครึ่งหนึ่งของประเทศสกอตแลนด์ หรือพื้นที่รัฐนิวยอร์ก, รัฐนิวเจอร์ซีย์และรัฐคอนเนตทิคัตรวมกัน[8] เครื่องวัดระดับน้ำที่บันทึกไว้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่เมือง Hankou ในเมืองอู่ฮั่นแสดงระดับน้ำที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 16 เมตร มีค่าเฉลี่ย 1.7 ม. (5.6 ฟุต) เหนือเซี่ยงไฮ้บันด์ ในภาษาจีน เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักว่า "江淮水灾" ซึ่งแปลอย่างง่ายๆว่า "ภัยพิบัติน้ำท่วมในห้วยแม่น้ำแยงซี" อย่างไรก็ตามชื่อนี้ล้มเหลวในด้านความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น ทางน้ำทั่วประเทศถูกน้ำท่วมโดยเฉพาะที่แม่น้ำฮวงโหและคลองใหญ่. แปดมณฑลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือมณฑลอานฮุย, มณฑลหูเป่ย์, มณฑลหูหนาน, มณฑลเจียงซู, มณฑลเจ้อเจียง, มณฑลเจียงซี, มณฑลเหอหนานและมณฑลชานตง นอกเหนือจากพื้นที่ถูกน้ำท่วมหลัก พื้นที่ที่อยู่ไกลออกไปทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ไปทางเหนือถึงแมนจูเรียและทางตะวันตกของมณฑลเสฉวนก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน[9]

ยอดผู้เสียชีวิตและความเสียหาย[แก้]

ในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประมาณการผู้ที่รับผลกระทบจากน้ำท่วมไว้ที่ 25 ล้านคน[10] นักประวัติศาสตร์นับแต่นั้นมาแนะนำว่าจำนวนที่ได้รับผลกระทบจริงอาจจะมากถึง 53 ล้านคน ส่วนการประมาณการผู้เสียชีวิตมีระยะที่กว้าง การศึกษาร่วมสมัยที่จัดทำโดยจอห์น ลอสซิง บัค กล่าวว่ามีประชาชนอย่างน้อย 150,000 รายที่จมน้ำเสียชีวิตในช่วงสองถึงสามเดือนแรกของน้ำท่วม โดยมีอีกหลายแสนคนที่เสียชีวิตจากความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บในปีต่อมา การใช้รายงานสื่อร่วมสมัยของนักประวัติศาสตร์ชาวจีนนำโดย หลี่เหวินไห่ ได้คำนวณจำนวนผู้เสียชีวิตไว้ที่ 422,499 คน แหล่งข้อมูลของฝั่งตะวันตกบางแห่งกล่าวว่าอาจมีผู้เสียชีวิตระหว่าง 3.7 และ 4 ล้านคนตามการอ้างผลกระทบของความอดอยากและโรคภัยที่ตามมา ชาว Tanka ที่อาศัยอยู่บนเรือ ตามแบบดั้งเดิมในแม่น้ำแยงซีต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมากจากผลกระทบของน้ำท่วม[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Courtney 2018, p. 249.
  2. "中国水利网". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
  3. "NOAA News Online (Story 334b)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
  4. NOVA Online | Flood! | Dealing with the Deluge
  5. 5.0 5.1 Glantz, Mickey. Glantz, Michael H. [2003] (2003). Climate Affairs: A Primer. Island Press. ISBN 1559639199. pg 252.
  6. 6.0 6.1 Pietz, David. [2002] (2002). Engineering the State: The Huai River and Reconstruction in Nationalist Chine 1927-1937. Routledge. ISBN 0415933889. pg xvii, pg 61-70
  7. Courtney 2018, หน้า 54.
  8. National Flood Relief Commission 1933, หน้า 4
  9. 李文海; 程歗; 刘仰东; 夏明方 (December 1994). 中国近代十大灾荒. 上海人民出版社. ("The Ten Great Disasters of Modern China" by Li Wenhai et al)
  10. National Flood Relief Commission 1933, p. 5, 203.
  11. "NOAA'S top global weather, water and climate events of the 20th century" เก็บถาวร 2011-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. NOAA.gov. 13 ธันวาคม 2542