อิ้นเสียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิ้นเสียง
Yinxiang
อี๋ชินหวัง
ดำรงพระยศ1722 - 1730
ก่อนหน้า-
ถัดไปหงเสี่ยว
ประสูติ16 พฤศจิกายน 1686
สิ้นพระชนม์18 มิถุนายน 1730 (ชันษา 43 ปี 214 วัน)
พระนามเต็ม
อ้ายซินเจว๋หลัว อิ้นเสียง (愛新覺羅 胤祥)
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาจักรพรรดิคังซี
พระราชมารดาจิ้งหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ สกุลจางเจีย

อี๋ชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอิ้นเสียง (จีน: 胤祥: 16 พฤศจิกายน 1686 – 18 มิถุนายน 1730) เป็นเจ้าชายในราชวงศ์ชิง และเป็นอ๋องพระมาลาเหล็กในตำแหน่งอี๋ชินหวังเป็นพระองค์แรก

ประวัติ[แก้]

อิ้นเสียงเกิดในราชสกุลอ้ายซินเจว๋หลัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 22 ของจักรพรรดิคังซี แต่เป็นพระองค์ที่ 13 ที่เติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ พระมารดาของพระองค์คือจิ้งหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ สกุลจางเจีย ซึ่งเป็นธิดาของนายทหารชั้นสูงในกองธงขลิบเหลือง เมื่อพระชันษาได้ 14 ปี พระมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหรินจึงอบรมเลี้ยงดูพระองค์ต่อมา เนื่องจากพระองค์ทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือกรัชทายาทของจักรพรรดิคังซี โดยพระองค์สนับสนุนองค์ชาย อิ้นเจิง ให้เป็นรัชทายาทมาตั้งแต่แรก ซึ่งในตอนนั้นตำแหน่งรัชทายาทเป็นของอิ้นเหริง พระองค์ทรงเห็นว่า อิ้นเจิง นั้นมีคุณสมบัติมากว่า อิ้นเหริง จักรพรรดิคังซีทรงไม่พอพระทัย พระองค์จึงถูกพระบิดาสั่งคุมขังนานนับ 10 ปี

เมื่อเจ้าชายอิ้นเจินขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิยงเจิ้ง อิ้นเสียงได้ถูกปล่อยตัวออกมาและได้เข้ารับราชการ จักรพรรดิยงเจิ้งได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เป็น เหอซั่วอี๋ชินหวัง อิ้นเสียงเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันของจักรพรรดิยงเจิ้งและทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อช่วยจักรพรรดิในการบริหารราชการ แม้จะทุกข์ทรมานจากสุขภาพที่ไม่ดี ในปี ค.ศ. 1725 อิ้นเสียงถูกส่งไปดูแลปัญหาน้ำ รวมทั้งการควบคุมน้ำท่วมและการขนส่ง พระองค์ได้ประชวรจึงต้องเสด็จกลับเมืองหลวงปักกิ่งในเวลาต่อมา

อิ้นเสียงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคที่คล้ายกับหอบหืดและวัณโรคปอดในปี ค.ศ. 1730 จักรพรรดิยงเจิ้งทรงเสียพระทัยอย่างมาก อิ้นเสียงเป็นพระอนุชาที่ได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปลี่ยนพระนามจาก อิ้น เป็น หยุน และฐานันดรศักดิ์ของพระองค์ยังได้ถูกบรรจุในอ๋องพระมาลาเหล็ก พระโอรสของพระองค์จึงได้สืบฐานันดรศักดิ์ต่อมา

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

  • พระราชบิดา : จักรพรรดิคังซี
  • พระราชมารดา : จิ้งหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ สกุลจางเจีย
  • พระชายาเอก
    • พระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
  • พระชายารอง
    • พระชายารอง สกุลฟู่ฉา
    • พระชายารอง สกุลอูซู
    • พระชายารอง สกุลกัวเอ่อร์เจีย
  • พระอนุชายา
    • พระอนุชายา สกุลสือเจีย
    • พระอนุชายา สกุลน้าล่า
  • พระโอรส
    • เจ้าชายหงฉาง (弘昌, 1706 - 1771) อี่เก๋อเป้ยเล่อ (已革貝勒) โอรสในพระชายารอง สกุลกัวเอ่อร์เจีย
    • เจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (1708 - 1709) โอรสในพระอนุชายา สกุลสือเจีย
    • เจ้าชายหงถุน (弘暾, 1710 - 1728) เป้ยเล่อ (貝勒) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายหงเจี่ยว (弘晈, 17 มิถุนายน 1713 - 9 กันยายน 1764) หนิงเหลียงจวิ้นหวัง (寧良郡王,1730-1764) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายหงก่วง (弘㫛, 1716) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายหงฉิ่น (弘昑, 1716 - 1729) เป้ยเล่อ (貝勒) โอรสในพระชายารอง สกุลอูซู
    • เจ้าชายหงเสี่ยว (弘曉, 23 พฤษภาคม 1722 - 11 พฤษภาคม 1778) เหอซั่วอี๋ซีชินอ๋อง (和硕怡僖親王,1730-1778) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายโซ่วเอิน (綬恩, 1725) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายอามู่ซานหลาง (阿穆珊琅, 1726 - 1727) โอรสในพระอนุชายา สกุลน้าล่า
  • พระธิดา
    • เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1703 - 1776) ธิดาในพระชายารอง สกุลกัวเอ่อร์เจีย
    • เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1707 - 1726) ธิดาในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1710 - 1711) ธิดาในพระชายารอง สกุลฟู่ฉา
    • เจ้าหญิงเหอซั่วเหอฮุ่ยกงจวู่ (和碩和惠公主,1714 - 1731) ธิดาในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า อิ้นเสียง ถัดไป
อี๋ชินหวัง
(ค.ศ. 1722 - 1730)
หงเสี่ยว