อารามวัตรมหายาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารามวัตรมหายาน มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย
ชื่อสามัญอารามวัตรมหายาน วัดพระกษิติครรภ์
ที่ตั้งเลขที่ 88 หมู่ที่ 1 บ้านพริก ถ.ปื่นเกล้า-นครชัยศรี พุทธมณฑลสาย6 ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ประเภทวัดในนิกายมหายาน
นิกายมหายาน จากสาธารณรัฐประชาชนจีน
พระพุทธรูปสำคัญพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์
เจ้าอาวาสหลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ (สือกว่างตู้)
เวลาทำการทุกวัน เวลา 08.00 น. - 17.00น.
จุดสนใจพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ แกะสลักจากหินและไม้ พระวสุธราธรณี พระสังฆนายกหุ้ยเหนิง
กิจกรรมสักการะพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ การบรรยายปาฐกถาธรรม พิธีขมากรรม
เว็บไซต์http://www.mahayanathai.org/
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

อารามวัตรมหายาน มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย หรือที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า วัดพระกษิติครรภ์ (จีน:大乘禪寺ヽ地藏道場ヽ佛眼弘法基金會) เป็นวัดพุทธในนิกายมหายาน ตั้งอยู่ เลขที่ 88 หมู่ที่ 1 บ้านพริก (ทางเข้าหมู่บ้านกฤษดา โครงการ27) ถ.ปื่นเกล้า-นครชัยศรี พุทธมณฑลสาย6 ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม [1]

ประวัติ[แก้]

หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ ฉายา 釋廣度 หรือ สือกว่างตู้ ชาวไทยผู้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในนิกายมหายาน สังกัดสายฌาน หรือเซน และยังสังกัดสายอวตังสกะ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย พระสูตรและสมาธิกรรมฐานที่ภูเขาจิ่วหัวซาน มณฑลของพระกษิติครรภโพธิสัตว์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ.2548 เป็นชาวไทยคนเดียวผู้ได้รับแต่งตั้งจากพระฌานาจารย์หุ้ยกวงเถระ กรรมการสมัชชาพุทธศาสนาแห่งชาติจีน รองประธานพุทธสมาคมแห่งภูเขาจิ่วหัวซาน เจ้าอาวาสอารามหัวเหยียน ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชา ให้สืบทอดเป็นพระเถราจารย์รุ่นที่ 2 ด้วยการมอบบาตร จีวร คฑาขักขระ ตราประทับ คฑาหยู่อี่ ตราตั้ง และได้รับมอบตัวอักษรพู่กันจีนจากพระอุปัชฌาชย์ว่า 九華龍象 แปลว่า นาคะแห่งภูเขาจิ๋วหัวซาน จากนั้น ท่านได้กลับมาประเทศไทย และได้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย อารามวัตรมหายาน (大乘禪寺:佛眼弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 อำเภอสามพราน เป็นวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก ต่อมา ในปี 2563 ได้สร้างอารามจีนปากช่องเขาใหญ่ เป่าซานซื่อ ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีพระมหาไวโรจนปฐมพุทธเจ้า วัสดุทองเหลือง สูง 17.35 เมตรพร้อมรัศมีพระพุทธเจ้าพันพระองค์เป็นประธาน และสร้างพระโพธิสัตว์ประจำปีนักษัตร อัญเชิญจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แห่งแรกในไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. https://th.worldorgs.com/