อานโตนอฟ อาน-22

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อานโตนอฟ อาน-22 อันเตย์
หน้าที่ เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี
ประเทศผู้ผลิต สหภาพโซเวียต (โซเวียตยูเครน)
ผู้ผลิต อานโตนอฟ
เที่ยวบินแรก 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965
เริ่มใช้ ค.ศ. 1967
สถานะ ในประจำการ
ผู้ใช้หลัก กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซีย
แอโรฟลอต
อานโตนอฟแอร์ไลน์
การผลิต ค.ศ. 1966–1976
จำนวนที่ถูกผลิต 68

อานโตนอฟ อาน-22 อันเตย์ (ยูเครน: Ан-22 Антей, อังกฤษ: Antonov An-22 Antej; สัญลักษณ์เนโท: "Cock") เป็นอากาศยานขนส่งทางทหารขนาดใหญ่ ออกแบบและผลิตโดยอานโตนอฟในสหภาพโซเวียต ถือเป็นอากาศยานขนส่งลำตัวกว้างลำแรกและยังคงเป็นเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทอร์โบใบพัดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน โดยขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 4 เครื่อง เครื่องต้นแบบบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 และปรากฏตัวครั้งแรกในงานปารีสแอร์โชว์ (Paris Air Show) ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน เข้าประจำการเป็นครั้งแรกในกองทัพอากาศโซเวียตในปี ค.ศ. 1967 และในปัจจุบันยังคงประจำการอยู่ในกองทัพอากาศและอวกาศของรัสเซีย

การพัฒนา[แก้]

รุ่น[แก้]

เครื่องบินอานโตนอฟ อาน-22 ลงจอดที่สนามบินนานาชาติเกา ในประเทศมาลี เมื่อปี 2016
ภาพวาดของอานโตนอฟ อาน-22 รุ่นสะเทินน้ำสะเทินบก
ภาพด้านข้าง
อาน-22 ต้นแบบ
ถูกสร้างขึ้นที่โรงงานอานโตนอฟในเคียฟ จำนวน 3 ลำ
อาน-22 สะเทินน้ำสะเทินบก
มีการเสนอรุ่นสะเทินน้ำสะเทินบก แต่ถูกยกเลิก เนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนแบบจำลองขนาด
อาน-22
เป็นรุ่นการผลิตเริ่มต้น พร้อมระบบสตาร์ทภายนอก สร้างขึ้นที่ทาชเคนต์ จำนวน 37 ลำ
อาน-22เอ
เป็นรุ่นปรับปรุงที่มีการติดตั้งระบบสตาร์ทด้วยอากาศ ปรับปรุงระบบไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์วิทยุและระบบนำทาง สร้างขึ้นที่ทาชเคนต์ จำนวน 28 ลำ
อาน-22พีซี
เป็นรุ่นดัดแปลงเพื่อบรรทุกส่วนตรงกลางปีกและปีกด้านนอกของอานโตนาฟ อาน-124 หรือ อาน-225 ไว้ด้านนอกเหนือลำตัว สร้างขึ้นจำนวน 2 ลำ[1]

ผู้ให้บริการ[แก้]

อุบัติเหตุ[แก้]

ข้อมูลจำเพาะ (อาน-22)[แก้]

  • ผู้สร้าง โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต
  • ประเภท ลำเลียงทางยุทธศาสตร์พิสัยบินไกล เจ้าหน้าที่ 5-6 นาย
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบใบพัด คุซเนทซอฟ เอ็นเค-12 เอ็มเอ ให้กำลังเครื่องละ 15,000 แรงม้า ใบพัด 2 ชุดหมุนสวนทางกัน จำนวน 4 เครื่องยนต์
  • กางปีก 64.4 เมตร
  • ยาว 57.8 เมตร
  • สูง 12.53 เมตร
  • พื้นที่ปีก 345 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 114,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 80,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักเชื้อเพลิงสูงสุด 43,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 250,000 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด 740 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง 679 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • พิสัยบินไกลสุด 10,950 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงเต็มที่
    • 5,000 กิโลเมตร เมื่อมีภารกรรมบรรทุกสูงสุด

[2]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gordon, Komissarov and Komissarov Air International January 2006, pp. 35–36.
  2. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522