หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล
Long Range Surveillance Unit
อาร์มหน่วยลาดตระเวนระยะไกล
อาร์มตำรวจตระเวนชายแดน
เครื่องหมายราชการ
ชื่อทางการชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44
อักษรย่อชปพ.ฉก.ตชด.44 (ลาซู)[1]
ชปพ.ลาซู / LRSU
คำขวัญเสียสละ อดทน ดำรงตนอย่างมีเกียรติ
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้งพ.ศ. 2553
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
แผนที่เขตอำนาจของ
กองกํากับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44
เขตอำนาจตามกฎหมาย • จังหวัดยะลา
 • จังหวัดนราธิวาส
 • จังหวัดปัตตานี
ลักษณะทั่วไป
เขตอำนาจเฉพาะทาง
  • กองกำลังกึ่งทหาร การปราบปรามความไม่สงบ และการควบคุมจลาจล
  • ตระเวนชายแดน รักษาความปลอดภัย และความมั่นคง
สำนักงานใหญ่ค่ายพญาลิไท บ้านบุดี หมู่ที่ 1 ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พ.ต.อ. มานิต นาโควงศ์, ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44
หน่วยงานปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 • กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
สิ่งอำนวยความสะดวก
รถตำรวจลาดตระเวนจักรยานยนต์วิบาก
เรือลาดตระเวนเรือยาง
เรือท้องแบน
เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ จากกองบินตำรวจ
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์
https://bpp44.go.th/

หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล (อังกฤษ: Long Range Surveillance Unit: LRSU) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ลาซู เป็นชุดปฏิบัติการพิเศษ[2] สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ค่ายพญาลิไท กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีศักยภาพในการปฏิบัติงานในสภาวะภูมิประเทศที่หลากหลาย ทั้ง 3 มิติ[3] คือ จู่โจมทางบก รบทางอากาศ พิฆาตทางน้ำ[4]

บางครั้งถูกเรียกว่า หน่วยเฝ้าตรวจลาดตระเวนระยะไกล แต่หากยึดตามชื่อเรียกของตัวหน่วยงานเอง จะใช้ชื่อว่าหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล[5][6][7][8] ซึ่งตรงตามคำแปลทางการทหารของศูนย์ภาษา กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ[9] และคู่มือศัพท์และคำย่อทางทหาร กรมจเรทหารบก[10]

ประวัติ[แก้]

หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการชุดปฏิบัติการพิเศษที่มีศักยภาพสูง สามารถปฏิบัติงานในภูมิประเทศที่หลากหลายซับซ้อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยป่าเขา หน้าผาสูงชัน[11] พื้นที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ อาทิ เขื่อนบางลาง และลำน้ำเหนือเขื่อน ในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งผู้ก่อความไม่สงบได้ใช้ภูมิประเทศดังกล่าวในการปฏิบัติการจนทำให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้เกิดความสูญเสียในการปฏิบัติงานและทำการโต้ตอบได้อย่างยากลำบาก เพราะสภาพภูมิประเทศและการขาดทักษะของเจ้าหน้าที่

ในปี พ.ศ. 2553[12] พันตำรวจเอก ณรงค์ ธนานันทกุล ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ในขณะนั้น จึงก่อตั้งหลักสูตรการฝึกที่ได้นำหลักสูตรการรบที่มีความหลากหลายของหน่วยปฏิบัติการพิเศษหน่วยตระเวนชายแดนสหรัฐ[12]มาปรับประยุกต์ให้เหมาะกับสภาพของพื้นที่และฝึกให้กับบุคลากรในสังกัด[3] เพื่อเสริมศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน ทำการฝึกรุ่นแรกในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[6] โดยใช้รหัสการฝึกแต่ละรุ่นเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ[8][7]

ภารกิจ[แก้]

หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และตำรวจภูธรภาค 9 ในการรักษาความสงบและดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การอารักขาบุคคลสำคัญที่ลงมาในพื้นที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย[13][12] การช่วยเหลือประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยง[14][15] และเป็นหน่วยในการปฏิบัติการร่วมกับทหารในการปิดล้อมพื้นที่ ตรวจค้นเป้าหมาย การลาดตระเวนเพื่อค้นหาผู้ก่อความไม่สงบ พิสูจน์ทราบ และดำเนินการต่อเป้าหมายเพื่อทำลายภัยคุกคาม[16]

นอกจากนี้ยังมีภารกิจในการป้องกันพื้นที่ป่าต้นน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ[17]ภายในโครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้และสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ (พื้นที่ส่วนที่ 2) จังหวัดยะลา/นราธิวาส (ป่าบาลา - ฮาลา) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติสูง[18] และการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำในสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่รถยนต์เข้าไม่ถึง[19] ภายในพื้นที่เขื่อนบางลางซึ่งมีฐาน ตชด. 445 (ฐานนางนวล) ตั้งอยู่[20] ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในพื้นที่อื่นในภาคใต้ตามการร้องขอกำลังจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง[21]

สำหรับหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลจะเข้าเวรปฏิบัติงานระยะเวลา 30 วัน และมีช่วงพักผ่อน 10 - 12 วัน ก่อนจะสลับเปลี่ยนกำลังมาประจำการอีกครั้ง[12]

ถึงแม้ว่าหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล จะเป็นหน่วยเฉพาะกิจที่ของกองกำลังกึ่งทหารที่ต้องใช้อาวุธ แต่หลักการสำคัญในการปฏิบัติงานของหน่วยคือการมวลชนสัมพันธ์[22] การพบปะและพูดคุยสื่อสารกับชาวบ้านในพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี จะช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือมากกว่าการใช้แนวทางแข็งกร้าว ซึ่งตำรวจตระเวนชายแดนต้นสังกัดของหน่วยก็มีหลักในการปฏิบัติการต่อมวลชนแบบนี้เช่นกัน[12][2]

การฝึก[แก้]

หลักสูตรหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล ดำเนินการฝึกโดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ค่ายพญาลิไท โดยหลักสูตรการฝึกใช้ระยะเวลาประมาณ 60 - 65 วัน[23] ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยในภาคปฏิบัติส่วนหนี่งจะมีการฝึกในพื้นที่จริงคือป่าฮาลา-บาลา อำเภอเบตก จังหวัดยะลา พร้อมด้วยอาวุธประจำกาย เป็นระยะเวลา 7 วัน[24]

สำหรับคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึก จะต้องเป็นข้าราชการตำรวจ ทั้งภายในกองบัญชการตำรวจตระเวนชายแดนเอง และสังกัดอื่น อาทิ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษของตำรวจภูธร[7] กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด[25] ที่มีสภาพร่างกายและจิตใจที่พร้อม มีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์พิเศษในการปฏิบัติงานทั้ง 3 มิติ คือ ภาคพื้นดิน ภาคน้ำ และภาคอากาศ มีความชำนาญในการปฏิบัติการในพื้นที่ป่าภูเขา การปฏิบัติการทางน้ำ[26] การส่งกำลังทางอากาศ และการบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ[16]

เครื่องหมายแสดงความสามารถหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล

เมื่อผ่านการฝึกแล้วจะถูกส่งตัวกลับต้นสังกัด ทั้งของหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลเอง และหน่วยงานสังกัดอื่นที่เข้าร่วมฝึก โดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จะมีหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และตำรวจภูธรภาค 9 ในการรักษาความสงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[12] ซึ่งบางส่วนของหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลจะถูกส่งเข้าไปประจำการที่ฐานนางนวล (ฐานฮาลา 2) กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา[22] ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่สีแดงที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเคลื่อนไหวอยู่[12]

เมื่อสำเร็จการฝึกจะได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถ โดยความหมายของเครื่องหมาย[4] ประกอบไปด้วย

  • ฟ้า ภูเขา น้ำ หมายถึง ศักยภาพในการปฏิบัติการในทั้ง 3 มิติ คือการลาดตระเวนระยะไกลในสภาพภูมิประเทศป่า ภูเขา และน้ำ สามารถปฏิบัติการการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ การปฏิบัติการภายในเมือง รวมถึงการกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เกลียวเชือกหมายถึงความกลมเกลียวสามัคคีของชุดปฏิบัติการ
  • สายฟ้า หมายถึง ความรวดเร็วเหมือนสายฟ้าฟาดในการปฏิบัติการ
  • กรอบอาร์ม หมายถึง เป็นรูปหัวลูกศรแสดงถึงความกล้าแข็ง แม่นยำ เฉียบขาด พื้นสีเขียวหมายถึงสีของธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำที่ตำรวจตระเวนชายแดนต้องรักษาไว้
  • เกลียวคลื่น หมายถึง ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการทางทะเล การดำน้ำ การว่ายน้ำ รวมถึงการค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัยทางทะเล

การปฏิบัติงาน[แก้]

อุปกรณ์ประจำกายพื้นฐาน[แก้]

อุปกรณ์ประจำกายพื้นฐานของหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล[12] ประกอบไปด้วย

  • ไรเฟิลจู่โจม เอ็ม 16 / เครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม 203
  • ปืนพกขนาด 9 มม.
  • ระเบิดมือ
  • มีดพก
  • วิทยุสื่อสาร
  • กระสุนสำรอง จำนวน 180 นัด

พาหนะ[แก้]

รักษาความสงบ[แก้]

หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล มีขอบเขตการปฏิบัติการหลักภายใต้เขตพื้นที่ของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 คือพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี โดยปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ อาทิ ร่วมกับชุดสลาตัน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า[28] ที่ประกอบกำลังจาก กรมทหารพรานที่ 43 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30 ในการปิดล้อมตรวจค้น และจับกุมผู้ก่อความไม่สงบ จนเป็นที่ยอมรับในผลการปฏิบัติงาน[3]

การนำกำลังร่วมปฏิบัติการคุ้มกันพื้นที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดพิสูจน์หลักฐาน และชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด เข้าพิสูจน์ทราบวัตถุระเบิดหรือพยานวัตถุต่าง ๆ หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ[29] เพื่อป้องกันการสร้างสถานการณ์เพื่อลวงให้เจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติการและก่อเหตุซ้ำ และอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ และชุดพิสูจน์หลักฐาน โดยปฏิบัติการร่วมกันกับตำรวจท้องที่ และร่วมกับชุดปฏิบัติการอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายงานการประชุมบริหารกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ครั้งที่ 8/2563 หน้า 19 http://www.bpp.go.th/documents/2563/25630827_01.pdf
  2. 2.0 2.1 "61ปี 'ตำรวจตระเวนชายแดน' สืบสานปณิธานพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน". dailynews. 2017-04-11.
  3. 3.0 3.1 3.2 "ภารกิจลาซู". www.thairath.co.th. 2014-04-18.
  4. 4.0 4.1 "ทำความรู้จัก "หน่วยเฝ้าตรวจลาดตระเวนระยะไกล" หรือ "ลาซู" ปฏิบัติการลดความสูญเสียของกำลังพลชายแดนใต้". PoliceTalks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05.
  5. "กก.9 บก.กฝ.บช.ตชด. : กองกำกับการ 9 กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน". training9.bpp.police.go.th.[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 ตชด.ฝึก LRSU Part 1.mpg, สืบค้นเมื่อ 2022-04-05
  7. 7.0 7.1 7.2 รวมภารกิจการฝึก LRSU รุ่น D, สืบค้นเมื่อ 2022-04-05
  8. 8.0 8.1 ดวงเดือน LRSU i Series, สืบค้นเมื่อ 2022-04-05
  9. "ศูนย์ภาษา กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ - ดาวน์โหลด Military Vocabulary". english.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-07. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05.
  10. คู่มือศัพท์และคำย่อทางทหาร กรมจเรทหารบก (inspectorrta.org)
  11. ทำความรู้จัก “หน่วยเฝ้าตรวจลาดตระเวนระยะไกล” หรือ "ลาซู", สืบค้นเมื่อ 2022-04-05
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 Limited, Bangkok Post Public Company. "Elite combat unit heads South". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05.
  13. "ทหาร-ตร.ใต้พร้อมใจดูแลคนดีที่ทำประโยชน์ให้แผ่นดิน". www.posttoday.com. 2017-11-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "พบร่างตชด.พลร่มจมหายเขื่อนบางลาง". www.posttoday.com. 2016-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "ผ่านาทีเป็น-นาทีตาย!!! หน่วยลาซูล่องเรือช่วยด่วนหญิงตกเลือดในแพเขื่อนบางลางกลางดึก ก่อนนำขึ้นกระบะส่งรพ. ย้อนภารกิจนักรบ3มิติชายแดนใต้!?!". Tnews. 2017-10-25.
  16. 16.0 16.1 "ลาซู ตำรวจตระเวนชายแดนใน มากกว่ารักฯ". oknation.nationtv.tv.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ตชด.44 สนธิกำลังตรวจป่าไม้ เผยพบถูกทำลายกว่า 200 ไร่". mgronline.com. 2014-11-08.
  18. "โครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้และสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้". www.dnp.go.th.
  19. THE REPORTER : หน่วยปฎิบัติการลาซู ตชด. 44, สืบค้นเมื่อ 2022-04-05
  20. matichon (2016-08-27). "นักบิน ฮ.ตำรวจเปิดนาทีระทึก-ลงจอดฉุกเฉิน". มติชนออนไลน์.
  21. 21.0 21.1 21.2 ""ลาซู" หน่วยปฏิบัติการทางน้ำ ตชด.44 ยะลาฝึกซ้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้". mgronline.com. 2015-12-08.
  22. 22.0 22.1 22.2 "ตชด.กับภารกิจพิทักษ์ป่าฮาลา-บาลา". mgronline.com. 2012-09-18.
  23. ""ชุดปฏิบัติการพิเศษลาซู"". NationTV. 2017-03-24.
  24. "= ฝึกลาซู =". NationTV. 2015-07-29.
  25. "ชุดปฎิบัติการพิเศษ.ลาซู - The LRSU Unit". www.facebook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "สงสัยหลักสูตร3หลักสูตรนี่ครับว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร". Pantip.
  27. "ไทยใต้!! เรื่องดีดีที่ต้องแชร์!!! คำพูดสุดประทับใจ "LRSU TEAM" ในวันที่รถมอไซด์วิบากเพื่อนเสีย!! ระหว่างลาดตระเวนปฏิบัติหน้าที่!!! "เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"". Postjung.com.
  28. "จนท.รวบผู้ต้องสงสัยระดับปฏิบัติการที่รือเสาะ". www.sanook.com/news.
  29. matichon (2022-01-04). "'ผกก.ตชด.44' สั่ง จนท.เข้าพิสูจน์หลักฐาน-เก็บกู้ระเบิดที่ธารโต หลังเจอ 2 จุด". มติชนออนไลน์.