สุทธิชัย วีรกุลสุนทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุทธิชัย วีรกุลสุนทร
สุทธิชัย ใน พ.ศ. 2553
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตจอมทอง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าก่อตั้งเขตเลือกตั้ง
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ก่อนหน้ากิตพล เชิดชูกิจกุล
ถัดไปพิพัฒน์ ลาภปรารถนา
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตจอมทอง เขต 2
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2537 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ก่อนหน้าศิริ น่วมพิทักษ์
ถัดไปยุบเขตเลือกตั้ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (67 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2565—ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชากรไทย
ไทยรักไทย
ประชาธิปัตย์ (2549—2563)
ก้าวไกล (2563)
คู่สมรสนันทพร วีรกุลสุนทร

สุทธิชัย วีรกุลสุนทร หรือ เฮียล้าน (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499) เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 6 สมัย จากเขตจอมทอง และอดีตประธานสภากรุงเทพมหานครคนที่ 18

ประวัติ[แก้]

สุทธิชัยเกิดวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน อาศัยอยู่ในพื้นที่จอมทอง ต่อมาได้สมรสกับนางนันทพร วีรกุลสุนทร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย และมีบุตร 3 คน คือ ศรัณยสัณฑ์ วีรกุลสุนทร อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566, พิมพ์เพ็ญ วีรกุลสุนทร และพิรกร วีรกุลสุนทร อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 2 สมัย[1]

การศึกษา[แก้]

สุทธิชัยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และปริญญาโท ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2]

บทบาทการเมือง[แก้]

สุทธิชัยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครั้งแรกใน พ.ศ. 2537 สังกัดพรรคประชากรไทย จากเขตจอมทอง[3] และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2541, พ.ศ. 2545 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2549 เขาย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์และลงสมัครรับเลือกตั้งพร้อมกันกับพิรกร วีรกุลสุนทร บุตรชาย และได้รับเลือกทั้งคู่[4] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 เขาและบุตรชายยังได้รับเลือกต่อเนื่อง[5] และยังได้รับเลือกให้เป็นประธานสภากรุงเทพมหานครอีกด้วย[6]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2563 นายสุทธิชัยได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลในระยะสั้น ๆ รวมถึงเขาได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์อดีตสังกัดเก่าว่าไม่ให้ความสำคัญกับสมาชิกพรรค[7] การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 เขาได้สังกัดพรรคเพื่อไทยลงเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 6[8] เขายังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ในสภากรุงเทพมหานครชุดปัจจุบัน[9]

บทบาททางธุรกิจ[แก้]

สุทธิชัยและนันทพรเคยประกอบธุรกิจโรงงานเม็ดพลาสติกและรีไซเคิลพลาสติก ก่อนจะเปลี่ยนแนวธุรกิจจากพลาสติกมาทำอสังหาริมทรัพย์ ก่อนจะเข้ามาทำงานการเมืองในภายหลังเนื่องจากเวลาเขาติดต่องานกับหน่วยงานต่าง ๆ มักจะถูกเอาเปรียบเสมอจึงอยากที่จะช่วยคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""ก้าวไกล"ดูดอดีตส.ก.5 สมัยปชป.ลงเลือกตั้งท้องถิ่นพ้อพรรคเก่าเมิน". posttoday. 2020-07-12.
  2. "สุทธิชัย วีรกุลสุนทร". พรรคเพื่อไทย (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๗ (๖ มีนาคม ๒๕๓๗ - ๕ มีนาคม ๒๕๔๑)". BMC.
  4. "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๑๐ (๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ - ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓)". BMC.
  5. "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๑๑ (๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ - ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๗)". BMC.
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศชื่อประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
  7. "ซบก้าวไกล "สุทธิชัย วีรกุลสุนทร" ทิ้ง "ประชาธิปัตย์" บอกไม่เคยอยู่ในสายตา". สยามรัฐ. 2020-07-12.
  8. https://www.matichon.co.th/politics/news_3373930
  9. "สภา กทม. เห็นชอบร่างข้อบัญญัติงบรายจ่ายเพิ่มเติม ปีงบ 66 เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูจากกรณีโควิดและน้ำท่วม". THE STANDARD. 2023-04-06.
  10. "ศรัณยสัณฑ์ วีรกุลสุนทร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตจอมทอง พร". OPT News (ภาษาอังกฤษ).