สิงโตแหลมกู๊ดโฮป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิงโตแหลมกู๊ดโฮป
ภาพวาดของสิงโตแหลมกู๊ดโฮป
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  leo
สปีชีส์ย่อย: P.  l. melanochaita

สิงโตแหลมกู๊ดโฮป (อังกฤษ: Cape lion) เป็นประชากรของสิงโต ที่พบในจังหวัดนาตาลและเคปของแอฟริกาใต้ซึ่งสูญพันธุ์ไปในช่วงกลางศตวรรษที่ 19[1][2] ตัวอย่างต้นแบบมีต้นกำเนิดที่แหลมกู๊ดโฮปและอธิบายไว้ในปี 1842[3]ในอดีต สิงโตแหลมกู๊ดโฮปถือเป็นชนิดย่อยที่แยกกันของสิงโต Panthera leo melanochaita[4][5] อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์สายวิวัฒนาการแสดงให้เห็นว่าประชากรสิงโตในแอฟริกาตอนใต้และแอฟริกาตะวันออกมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด[6][7] ในปี 2017 ชนิดย่อยPanthera leo melanochaitaถูก recircumscribed เพื่อรวมประชากรสิงโตทั้งหมดในแอฟริกาใต้และตะวันออก[8]

ลักษณะ[แก้]

มีลักษณะที่เด่นคือ มีขนแผงคอสีดำซึ่งบางตัวอาจยาวถึงกลางหลังและมีปลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนทั่วใบหน้า จัดเป็นสิงโตขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ตัวผู้เมื่อขนาดโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 2.74-3.35 เมตร น้ำหนักประมาณ 90-100 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียยาวได้ประมาณ 2.13-2.74 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 65-80 กิโลกรัม

สิงโตแหลมกู๊ดโฮป ตัวสุดท้ายในธรรมชาติได้ถูกสังหารด้วยฝีมือมนุษย์เมื่อปี ค.ศ. 1858 และตัวสุดท้ายได้ตายลงเมื่อปี ค.ศ. 1860 สถานภาพในปัจจุบัน ได้ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส[9]

แต่ในปลายปี ค.ศ. 2000 ได้มีลูกสิงโต 2 ตัวที่เชื่อว่าสืบสายพันธุ์มาจากสิงโตแหลมกู๊ดโฮปนี้ มาจากสวนสัตว์ในไซบีเรียที่มีอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส ได้ถูกส่งไปยังแอฟริกาใต้เพื่อทำการอนุรักษ์ต่อไป[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mazak, V. (1975). "Notes on the Black-maned Lion of the Cape, Panthera leo melanochaita (Ch. H. Smith, 1842) and a Revised List of the Preserved Specimens". Verhandelingen Koninklijke Nederlandse Akademie van Wetenschappen (64): 1–44. ISBN 0-7204-8289-5.
  2. Bauer, H.; Packer, C.; Funston, P.F.; Henschel, P. & Nowell, K. (2015). "Panthera leo". IUCN Red List of Threatened Species. 2015.
  3. Smith, C.H. (1842). "Black maned lion Leo melanochaita". ใน Jardine, W. (บ.ก.). The Naturalist's Library. Vol. 15. Mammalia. London: Chatto and Windus. p. Plate X, 177.
  4. Wozencraft, W. C. (2005). "Panthera leo". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 546. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  5. Nowell, K.; Jackson, P. (1996). "Panthera leo" (PDF). Wild Cats: Status Survey and Conservation Action Plan. Gland, Switzerland: IUCN/SSC Cat Specialist Group. pp. 17–21, 37–41. ISBN 978-2-8317-0045-8.
  6. Yamaguchi, N. (2000). "The Barbary lion and the Cape lion: their phylogenetic places and conservation" (PDF). 1. African Lion Working Group News: 9–11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-18. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. Barnett, R.; Yamaguchi, N.; Barnes, I.; Cooper, A. (2006). "Lost populations and preserving genetic diversity in the lion Panthera leo: Implications for its ex situ conservation" (PDF). Conservation Genetics. 7 (4): 507–514. doi:10.1007/s10592-005-9062-0. S2CID 24190889. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-08-24.
  8. Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z.; Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News (Special Issue 11). ISSN 1027-2992.
  9. Cape Lion - Panthera leo melanochaitus
  10. 'Extinct' lions surface in Siberia จากบีบีซี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]