สำนักงานธนานุเคราะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานธนานุเคราะห์
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Public Pawnshop Office
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง29 เมษายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
สำนักงานใหญ่อาคาร 8 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ประสงค์ พันธ์ลิมา, ผู้อำนวยการ
  • นภัส หลักคำ, รองผู้อำนวยการ
  • สุพัสตรา จันทร์ศรี, รองผู้อำนวยการ
หน่วยงานลูกสังกัด
  • สถานธนานุเคราะห์ จำนวน 45 แห่ง
เว็บไซต์https://www.pawn.co.th

สำนักงานธนานุเคราะห์ หรือ โรงรับจำนำของรัฐ[1] เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2498 ดำเนินภารกิจเกี่ยวกับโรงรับจำนำ ปัจจุบันมีสถานธนานุเคราะห์ในสังกัด จำนวน 45 แห่งทั่วประเทศ

ประวัติ[แก้]

สำนักงานธนานุเคราะห์ โรงรับจำนำของรัฐ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2498 ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย

ปี พ.ศ. 2500 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานธนานุเคราะห์” การดำเนินงานระยะแรก มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ สังกัดแผนกธนานุเคราะห์ กองสวัสดิการสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย

ปี พ.ศ. 2517 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยคณะที่ปรึกษาฝ่ายบริหารราชการ แผ่นดินจากการเป็นหน่วยงานของทางราชการเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัด กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยใช้ชื่อว่า “สำนักงานธนานุเคราะห์”

ปี พ.ศ. 2536 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน และเงินงบประมาณของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ไปเป็น ของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตามประกาศ พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2536 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2536

ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน พนักงาน ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม ในส่วนของสำนักงานธนานุเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ มาเป็น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 102 ก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2545

โรงรับจำนำที่สังกัด[แก้]

สำนักงานธนานุเคราะห์มีสถานธนานุเคราะห์ (โรงรับจำนำ) ทั้งหมด 45 แห่ง ตั้งอยู่ ในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 29 แห่ง ปริมณฑล 5 แห่ง คือ จังหวัดนนทบุรี (2 สาขา) จังหวัดปทุมธานี (2 สาขา) และจังหวัดสมุทรปราการ และส่วนภูมิภาค 10 แห่ง คือ จังหวัดระยอง (2 สาขา) จังหวัดลพบุรี จังหวัดลำพูน จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพิษณุโลก[2] จังหวัดชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดราชบุรี

  1. สำนักงานธนานุเคราะห์
  2. ที่ตั้งสถานธนานุเคราะห์