สาธารณรัฐโซเวียตเบรเมิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐโซเวียตเบรเมิน

Bremer Räterepublik  (เยอรมัน)
1919–1919
ที่ตั้งของสาธารณรัฐโซเวียตเบรเมิน
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการยอมรับ
เมืองหลวงเบรเมิน
ภาษาทั่วไปเยอรมัน
การปกครองสาธารณรัฐโซเวียต
ประธานกรรมการราษฎร 
• 1919
อัลเฟรท เฮินเกอ
โยฮัน คนีฟ
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรโซเวียต
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
• ก่อตั้ง
10 มกราคม 1919
• สิ้นสุด
4 กุมภาพันธ์ 1919
สกุลเงิน"Papiermark" (ℳ)
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐไวมาร์
เสรีนครฮันเซอเบรเมิน
สาธารณรัฐไวมาร์
เสรีนครฮันเซอเบรเมิน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี

สาธารณรัฐโซเวียตเบรเมิน (เยอรมัน: Die Bremer Räterepublik) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์อายุสั้น โดยดำรงอยู่เพียง 25 วัน ใน ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐมีอาณาเขตควบคุมรัฐเบรเมิน ประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน[1] สาธารณรัฐก่อตั้งขึ้นท่ามกลางการปฏิวัติเยอรมัน (หลังจากความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

รัฐบาล[แก้]

การประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐ ณ ศาลาว่าการเบรเมิน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน

สภาผู้แทนราษฏรโซเวียตทำหน้าที่เป็นสภานิติบัญญัติและมีผู้แทนรวมทั้งสิ้นเก้าคน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกของกลุ่มฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงแห่งเบรเมินจำนวน 3 คน สมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมนีจำนวน 3 คน ซึ่งนำโดย อัลเฟรท เฮินเกอ และสมาชิกนายทหารอิสระ 3 คน[1] โยฮัน คนีฟ สมาชิกแห่ง องค์การคอมมิวนิสต์สากลแห่งเยอรมนี เป็นผู้มีอิทธิพลที่สุดในสาธารณรัฐ ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการราษฎร[2] ลักษณะการปกครองของสาธารณรัฐเป็นไปในรูปแบบของสภาแรงงานที่จัดตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Great Soviet Encyclopedia, 3rd Edition".
  2. Bourrinet, Philippe (2016). The Dutch and German Communist Left (1900 68): Neither Lenin Nor Trotsky Nor Stalin! - All Workers Must Think for Themselves!. Historical Materialism Book. Vol. 125. Brill. p. 78. ISBN 978-9004269774.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]