หน่วยเสียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน่วยเสียง[1] (อังกฤษ: phoneme) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาษาพูด สมาคมสัทศาสตร์สากลนิยามหน่วยเสียงว่าหมายถึง "ส่วนที่เล็กที่สุดของเสียงที่ใช้เพื่อสร้างความหมายต่าง ๆ เมื่อเปล่งเสียงออกมา"[2]

ในทางภาษาศาสตร์ยังมีทรรศนะแตกต่างกันว่าหน่วยเสียงเป็นอย่างไรแน่ และภาษาจำแนกออกเป็นหน่วยเสียงได้อย่างไร แต่โดยทั่วไปจะเข้าใจอย่างกว้าง ๆ ร่วมกันว่าหน่วยเสียงเป็นภาวะนามธรรมของชุดเสียงพูดที่ถือว่ามีลักษณะเหมือนกันในภาษานั้น ๆ ตัวอย่างเช่นในภาษาอังกฤษ k ในคำ kit และ skill ออกเสียงต่างกัน แต่ผู้พูดภาษาอังกฤษรับรู้ว่าเป็นเสียงเดียวกัน ดังนั้น k ในคำทั้งสองจึงเป็นสมาชิกของหน่วยเสียงเดียวกันคือ /k/ กรณีเสียงพูดต่างกันแต่ใช้หน่วยเสียงเดียวกันนี้เรียกว่าหน่วยเสียงย่อย ดังนั้นจึงถือว่าหน่วยเสียงเป็นตัวแสดงคำต่าง ๆ ออกมา

การศึกษาระบบหน่วยเสียงถือเป็นประเด็นศึกษาหลักของสัทวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 43
  2. International Phonetic Association (1999), "Phonetic description and the IPA chart", Handbook of the International Phonetic Association: a guide to the use of the international phonetic alphabet, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-63751-0, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06, สืบค้นเมื่อ 2012-06-08