สัณหพจน์ สุขศรีเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัณหพจน์ สุขศรีเมือง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 (51 ปี)
พรรคการเมืองรวมใจไทยชาติพัฒนา
พลังประชารัฐ
คู่สมรสพีรภาว์ เทียมไพศาล
บุตร3 คน

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง (เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2516) รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เลขานุการคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร[1]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 1 สมัย

ประวัติ[แก้]

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 เป็นบุตรของนายประเสริฐ และ นางพร้อม สุขศรีเมือง[2] สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีขนถ่ายวัสดุ จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารรัฐกิจและกฎหมาย มหาวิทยารามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2550[2] สมรมกับ นางสาวพรีภาว์ เทียมไพศาล มีบุตร-ธิดา 3 คน

การทำงาน[แก้]

สัณหพจน์เคยเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส.เอส.เบลท์ จำกัด รวมถึงเคยทำงานเป็นเลขาฯของนายสมคาด สืบตระกูล อดีตรองหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นอกจากนี้ยังเคยเป็นอดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสภาทนายความ และเป็นอดีตที่ปรึกษาสภาทนายความจังหวัดมีนบุรี ในช่วง พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2554

งานการเมือง[แก้]

สัณหพจน์เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในนามพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เขต 12 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้เพียง 447 คะแนน นอกจากนั้นยังเคยลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2556 สังกัดอิสระ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยสามารถเอาชนะวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส. 8 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปได้

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัคร ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 3 (อำเภอปากพนัง และอำเภอหัวไทร) โดยสังกัดพรรคเดิม[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นาย สัณหพจน์ สุขศรีเมือง
  2. 2.0 2.1 หมายเลข 6 นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง
  3. "เปิดใจ 'ดร.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง' แม่ทัพใต้ 'พลังประชารัฐ'". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-04-02.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]