สมถวิล วิเศษสมบัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รองศาสตราจารย์ สมถวิล วิเศษสมบัติ (12 พฤษภาคม 2480) ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิ เพชรภาษา ซึ่งเริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 มีผลงานในการคัดกรอง ครูสอนภาษาไทยทุกระดับ สื่อมวลชน ศิลปิน นักร้องมาเป็นประกายเพชร คือผู้ที่ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง[ใคร?]

การศึกษา[แก้]

ผลงาน ตำรา บทความ[แก้]

  • วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา (พ.ศ. 2525)
  • วรรณคดีการละคร (พ.ศ. 2527)
  • วิธีสอนภาษาไทยมัธยมศึกษา (พ.ศ. 2528)
  • สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า องค์ผู้ทรงให้กำเนิดการฝึกหัดครูไทย (พ.ศ. 2535)
  • คู่มือภาษาไทยฉบับรวม ม.4-5-6 สามัญ 1 - สามัญ 2 (พ.ศ. 2538)
  • การศึกษาแบบเรียนภาษาไทย (พ.ศ. 2540)
  • สอบภาษาไทย...ง่ายนิดเดียว (พ.ศ. 2542)
  • ลิลิตตะเลงพ่าย : ยุทธศาสตร์ การสอนวรรณคดีไทย(พ.ศ. 2548)
  • ภาษาไทย...ง่ายนิดเดียว(เล่ม1) (พ.ศ. 2548)
  • ประลองสนามสอบภาษาไทย (เล่ม2) (พ.ศ. 2549)
  • คลังภาษา (เล่ม1) (พ.ศ. 2551)

ปาฐกถาและบทความ[แก้]

  • มิติการสอนหลักภาษาไทย
  • เทคนิคการสอนวรรณคดีไทย ระดับมัธยมศึกษา
  • คู่มือการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา
  • การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ในการเขียนบทความ
  • การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย
  • การใช้ภาษาในการเขียนผลงานทางวิชาการ
  • พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการละครไทย
  • ความรู้ทางหลักภาษา
  • การใช้ศิลปะในด้านวรรณศิลป์

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • ปี 2507 อาจารย์สอนภาษาไทย และอาจารย์แนะแนว โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม (มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม)
  • ปี 2517 รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์)
  • ปี 2518 รองคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา)
  • ปี 2522 ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา)
  • ปี 2526 รองศาสตราจารย์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา)
  • ปี 2530 - 2531 อาจารย์โครงการแลกเปลี่ยน สอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2536 - ปัจจุบัน ประธานมูลนิธิเพชรภาษา ทำหน้าที่คัดกรองผู้สอนและผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  • สายสะพาย 2. ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ปช)

คำคม[แก้]

  • ครูต้องรู้เรื่องที่จะสอนอย่างดีที่สุด ค้นหาความรู้ก่อนเข้าห้องสอน
  • ต้องเตรียมการสอนและมีเทคนิคการสอนทุกครั้ง
  • จริงจังกับอาชีพ จริงใจกับลูกศิษย์

เกร็ดความรู้เรื่อง การใช้ภาษาไทย โดยอาจารย์สมถวิล[แก้]

  • คำว่า “อำนาจบาตรใหญ่”
    • เมื่อได้รับบทความของเพื่อนคนหนึ่ง เขียนข้อความตอนหนึ่งมาว่า “ไม่ใช้อำนาจบาทใหญ่” โดยให้ความหมายมาว่า เขามีอำนาจและเป็นใหญ่เป็นโตซึ่งสามารถใช้อำนาจสั่งการได้ แต่เขาไม่ทำ เพราะฉะนั้นคำว่า บาท จึงใช้คำนี้ ซึ่งแปลว่าเท้า อาจารย์สมถวิลอธิบายว่า ในความหมายของสำนวนนี้ ควรจะใช้ บาตร เพราะมีความหมายว่า เขามีอำนาจมีเงินมีทองมากมาย ซึ่งบาตรนี้ หมายถึงขันใส่ข้าวหมายถึงมีเงินมีทองมากมาย
  • เขียน “ ไม่ย่นย่อรอรา” ให้ถูกต้อง
    • พบกลอนบทหนึ่งเขียนว่า “ไม่ย่นย่อรอลา” เรียนถามอาจารย์สมถวิล อาจารย์อธิบายความว่า ควรใช้ “รอรา” เพราะคำว่า ลา หมายถึงจากไป แต่ในความหมายของ รอรา คือไม่รอให้เสียเวลา
  • “ภาคภูมิใจ” หรือ “ความภูมิใจ”
    • อาจารย์สมถวิล อธิบายความหมายว่า ภูมิใจ เป็นคำกริยา แปลว่า กระหยิ่มใจ รู้สึกว่ามีเกียรติยศ ส่วนคำว่า ภาคภูมิใจ เป็นคำวิเศษ แปลว่า มีสง่า ผ่าเผย เพราะฉะนั้น ถ้าจะใช้คำที่หมายถึง สิ่งที่ตนเองทำแล้วเกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุด ก็น่าจะใช้คำว่า ความภูมิใจ
  • ตัวอย่างการละบุพบทที่น่าสนใจ
    • เพื่อนคนหนึ่งมีบ้านพักตากอากาศที่ชะอำ และตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านทะเลล้อมดาว” เมื่ออาจารย์สมถวิลทราบ ท่านชมว่า ชื่อเพราะและมีความหมายดี คือบ้านอยู่ชายทะเลซึ่งแวดล้อมด้วยหมู่ดวงดาวยามค่ำคืน ฉะนั้นเมื่อมาตั้งเป็นชื่อบ้าน สามารถละ บุพบท ด้วย โดยไม่ต้องเขียนลงไป ก็จะได้ความหมายเหมือนกัน เข้าใจได้เช่นกัน
  • ใช้คำว่า “เกษียณ” ให้ถูกต้อง
    • รศ. สมถวิล วิเศษสมบัติ ได้เขียนบทความให้กับลูกศิษย์ที่ไปกราบเรียนขอท่าน เพื่อนำมาลงในหนังสือรุ่น ที่จะจัดทำขึ้นใหม่ ข้อความตอนหนึ่งท่านกล่าวถึงคำว่า “เกษียณ” เพราะคนส่วนใหญ่ จะใช้คำว่า “เกษียณ” เพียงคำเดียว ซึ่งผิดหลักการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ท่านอธิบายความว่า คำว่า “เกษียณ” แปลเป็นภาษาไทยว่า “สิ้นไป” เพราฉะนั้นจะหมายถึง การหมดไป ตายไป หรือมีบางคนก็จะใช้ต่อไปว่า “เกษียณอายุ” ท่านก็บอกว่า ใช้ไม่ได้ เพราะความหมาย ก็จะหมายถึงอายุสิ้นไป ก็คือตายไปแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นคำที่ควรจะใช้ให้ถูกต้อง ควรจะเป็นการใช้คำให้หมดความ คือควรใช้ว่า “เกษียณอายุทางราชการ” นั่นหมายถึง ผู้ที่จะต้องหมดชีวิตการทำราชการเมื่ออายุ 60 ปี การใช้ภาษาให้หมดความเช่นนี้จึงจะถูกต้อง
  • คำว่า กล้ำกลาย ที่ถูกควรเป็น กล้ำกราย
    • รศ. สมถวิล อธิบายว่า คำว่า กล้ำกราย ความหมายคือ ไม่มาใกล้ ไม่มาเฉียด แต่คำว่า กลาย หมายถึง กลับกลายไปเป็นอย่างอื่น
  • คำว่า ปรีดิ์เปรม
    • ลูกศิษย์ของอาจารย์สมถวิลได้เรียนถามอาจารย์ว่า ทำไมคำว่า ปรีดิ์ จึงต้องมีสระ อิ และมีทันทฆาตบน ด เด็ก อาจารย์ได้อธบายความว่า เพราะคำว่า ปรีดิ์ มาจาก ปรีดา ซึ่งหมายถึงความยินดียิ่ง