ค่าคงตัวแม่เหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค่าคงตัวแม่เหล็ก (magnetic constant) หรือ สภาพให้ซึมผ่านได้ของสุญญากาศ (vacuum permeability) เป็น ค่าคงตัวทางฟิสิกส์ ที่หมายถึงสภาพให้ซึมผ่านได้ทางแม่เหล็กในสุญญากาศ มักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์

ค่าคงตัวแม่เหล็กเป็นค่าคงตัวสากลซึ่งมาจากการทดลอง เชื่อมโยงกับการวัดทางกลศาสตร์และทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมีที่มาจากสมการสนามแม่เหล็ก ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุหรือกระแสไฟฟ้าและยังปรากฏในสมการอื่น ๆ สำหรับสนามแม่เหล็กในสุญญากาศ

ในปี 2006 ค่านี้ได้รับการนิยามโดยระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ เป็น[1]

µ0 = ×10−7 V·s/(A·m)

ในการนิยามหน่วยฐานเอสไอใหม่ ค.ศ. 2019 ได้มีการนิยามค่าคงตัวแม่เหล็กขึ้นใหม่เป็น

ค่าคงตัวแม่เหล็กเป็นค่าคงตัวพื้นฐานทางฟิสิกส์ และเป็นหนึ่งในค่าคงที่ที่ปรากฏใน สมการของแมกซ์เวลล์ในสุญญากาศ ในกลศาสตร์ดั้งเดิม พื้นที่อิสระเป็นแนวคิดในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สอดคล้องกับสุญญากาศที่สมบูรณ์แบบในทางทฤษฎี บางครั้งเรียกว่า "สุญญากาศของพื้นที่ว่าง" หรือ "สุญญากาศแบบดั้งเดิม"[1]

ในสุญญากาศ ค่าคงที่แม่เหล็กคือ อัตราส่วน ของความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก ต่อ ความแรงสนามแม่เหล็ก

ค่าคงตัวแม่เหล็ก และ ค่าคงตัวไฟฟ้า และอัตราเร็วของแสง สัมพันธ์กันโดย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Magnetic constant". Fundamental Physical Constants. Committee on Data for Science and Technology. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20. สืบค้นเมื่อ 2010-02-04 – โดยทาง National Institute of Standards and Technology.