สงครามอินเดีย-ปากีสถาน ค.ศ. 1947

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามอินเดีย-ปากีสถาน ค.ศ. 1947
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินเดีย-ปากีสถาน

ทหารชาวอินเดียในสงคราม
วันที่22 ตุลาคม ค.ศ. 1947 – 1 มกราคม ค.ศ. 1949
(1 ปี 2 เดือน กับ 10 วัน)
สถานที่
ผล ข้อตกลงหยุดยิง
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • รัฐชัมมูและกัศมีร์กลายเป็นของอินเดีย
  • ปากีสถานได้ปกครองดินแดนหนึ่งในสามของกัศมีร์ และอินเดียปกครองที่เหลือ[1]
คู่สงคราม

อินเดีย ประเทศอินเดีย

ปากีสถาน ประเทศปากีสถาน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู
เมร์ ชาญด์ มหาจัน
ปากีสถาน เลียกัฎ อาลี คาน
ความสูญเสีย
ตาย 1,500 นาย[2][3][4]
3,500 ผู้บาดเจ็บ[5]
ตาย 6,000 นาย[5][6][7]
~14,000 ผู้บาดเจ็บ[5]

สงครามอินเดีย-ปากีสถาน ค.ศ. 1947 (อังกฤษ: Indo-Pakistani War of 1947) หรือ สงครามกัศมีร์ครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามระหว่างประเทศอินเดียและประเทศปากีสถานเพื่อแย่งชิงรัฐชัมมูและกัศมีร์ ถือเป็นสงครามอินเดีย-ปากีสถานครั้งแรกจากสี่ครั้ง สงครามเริ่มขึ้นไม่กี่สัปดาห์ภายหลังรัฐสภาอังกฤษแบ่งบริติชราชออกเป็นสองรัฐเอกราช คือประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน ซึ่งทั้งสองประเทศต่างมีสถานะเป็นประเทศในเครือจักรภพ

รัฐชัมมูและกัศมีร์เป็นรัฐมหาราชาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือ คั่นระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับประเทศใดข้างต้น มหาราชาฮารี ซิงห์ ผู้นับถือฮินดู ได้เผชิญหน้ากับการลุกฮือของชาวมุสลิมในรัฐของพระองค์ ทำให้ทางการต้องสังหารหมู่ชาวมุสลิมในรัฐชัมมูจำนวนมาก พระองค์เริ่มสูญเสียการควบคุมในภาคตะวันตกของรัฐ จนกระทั่งในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1947 กองกำลังชนเผ่ามุสลิม ก็ข้ามพรมแดนเข้ามาจากฝั่งปากีสถาน โดยอ้างว่าเข้ามาเพื่อหยุดยั้งการกบฏในภาคตะวันตกเฉียงใต้ กองกำลังนี้ได้หมายจะไปยังศรีนคร แต่ก็ถูกขัดขวางตั้งแต่เมื่อถึงเมืองอุรี ซึ่งเป็นเมืองชายแดนติดกับปากีสถาน ทำให้ มหาราชาฮารี ซิงห์ได้ร้องขอกำลังเสริมไปยังรัฐบาลอินเดีย อินเดียได้ส่งกำลังทหารมาช่วยเหลือ แลกกับการที่รัฐชัมมูและกัศมีร์จะเข้าเป็นหนึ่งในรัฐของอินเดียซึ่งเป็นประเทศที่นับถือฮินดูเหมือนกัน

หลังสงครามดำเนินมากว่าหนึ่งปี สงครามครั้งนี้สิ้นสุดลงจากข้อตกลงหยุดยิง ปากีสถานสามารถยึดเอาดินแดนราว 1 ในสามของรัฐชัมมูและกัศมีร์

อ้างอิง[แก้]

  1. BBC on the 1947–48 war
  2. "An incredible war: Indian Air Force in Kashmir war, 1947–48", by Bharat Kumar, Centre for Air Power Studies (New Delhi, India)
  3. By B. Chakravorty, "Stories of Heroism, Volume 1", p. 5
  4. By Sanjay Badri-Maharaj "The Armageddon Factor: Nuclear Weapons in the India-Pakistan Context", p. 18
  5. 5.0 5.1 5.2 With Honour & Glory: Wars fought by India 1947–1999, Lancer publishers
  6. "The News International: Latest News Breaking, Pakistan News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 3 April 2016.
  7. India's Armed Forces: Fifty Years of War and Peace, p. 160