สงครามสามเฮนรี (ค.ศ. 977–978)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สงครามสามเฮนรี (อังกฤษ: War of the Three Henrys) เป็นการปฏิวัติสั้นๆ ของผู้นำเยอรมันที่ชื่อ “เฮนรี” ทั้งสามคนในการต่อต้านจักรพรรดิออทโทที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 977 ขณะที่จักรพรรดิออทโททรงรณรงค์ต่อต้านโบเลเสลาส์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย (Boleslaus II of Bohemia) ก็เกิดการคบคิดขึ้นในบาวาเรีย ผู้คบคิดก็ได้แก่ไฮน์ริชที่ 1 บิชอปแห่งเอาก์สบูร์ก (Henry I, Bishop of Augsburg) ไฮน์ริชที่ 2 ดยุกแห่งบาวาเรีย (Henry II, Duke of Bavaria) ผู้ที่เพิ่งถูกปลด และไฮน์ริชที่ 1 ด่ยุกแห่งคารินเทียโดยการสนับสนุนของคริสตจักร จักรพรรดิออทโทผู้ทรงไปเป็นพันธมิตรกับออทโทที่ 1 ดยุกแห่งชวาเบียและบาวาเรีย (Otto I, Duke of Swabia and Bavaria) ก็เดินทัพไปพาสเซาที่ยึดโดยผู้ก่อการ ในเดือนกันยายนพาสเซาก็ยอมแพ้เนื่องมาจากวิธีการล้อมที่รวมทั้งการสร้างสะพานเรือเข้ามายังตัวเมืองที่อยู่บนเกาะ เมื่อถึงอีสเตอร์ปี ค.ศ. 978 ที่มัคเดอบวร์ค (Magdeburg) “เฮนรี” ทั้งสามคนก็ถูกลงโทษ ดยุกทั้งสองคนถูกแบน และไฮน์ริชแห่งคารินเธียก็เสียดินแดนให้แก่ออทโทที่ 1 ดยุกแห่งคารินเทียบุตรของคอนราด ดยุกแห่งลอแรน (Conrad, Duke of Lorraine) ส่วนบิชอปถูกคุมขังอยู่จนเดือนกรกฎาคม ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้เป็นการลดอำนาจของบาวาเรียลงเป็นอันมาก

อ้างอิง[แก้]

  • H. M. Gwatkin, J. P. Whitney (ed) et al. The Cambridge Medieval History: Volume III. Cambridge University Press, 1926

ดูเพิ่ม[แก้]