เศก ศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เศก ศักดิ์สิทธิ์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
ที่เกิดจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีกีตาร์
ช่วงปีพ.ศ. 2517 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงรถไฟดนตรี
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
แกรมมี่โกลด์

เศก ศักดิ์สิทธิ์ มีชื่อจริงว่า ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง เป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลง แนวเพลงเพื่อชีวิต และลูกทุ่ง

เป็นชาวอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย [1] เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยเป็นสมาชิกวง "คุรุชน" ของวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ร่วมในการประท้วงของนักศึกษา ก่อนหน้าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ต่อมาได้ร่วมงานกับระพินทร์ พุฒิชาติ ในนามวงกะท้อน และ ซูซู โดยเป็นผู้แต่งเพลงที่มีชื่อเสียง คือเพลง "สาวรำวง" [2] "บ่อสร้างกางจ้อง" ปัจจุบันเป็นนักแต่งเพลงให้กับ พี่เบิร์ด ธงไชย

ผลงาน[แก้]

อัลบั้มเพลง[แก้]

  • คุรุชน (2518) กับวงคุรุชน
  • เจ้าดอกทิชชู่ (พฤษภาคม 2535)
  • แรงงานมาแล้ว (กันยายน 2536)
  • เจ้าขวัญใจ (2539)
  • คนเฉียงเหนือ (2541)
  • รำวงลูกหนี้ (พฤษภาคม 2543)
  • คิดถึงวันเก่า (มีนาคม 2544) เป็นอัลบั้มรวมบทเพลงที่ได้รับความนิยม บางบทเพลงนำมาขับร้องทำดนตรีใหม่
  • หัวใจตีกลอง (กันยายน 2546)

อัลบั้มรวมเพลง[แก้]

  • ภูผา รำลึก (2535) (ภายหลังได้มีการเปลี่ยนปกใหม่ พร้อมชื่อใหม่เป็น "บทเพลงจากภูผา ฝากใจสู่นาคร ดาวแดงแห่งภูพาน)
  • หมายเหตุประเทศไทย (2536)
  • บทเพลงจากภูผา (2536)
  • หาเงินสร้างบ้าน (2537)
  • น้ำใจพี่น้องผองเพื่อน ประเสริฐ จันดำ (2538)
  • ตุลาธาร (ตุลาคม 2540) - จัดทำขึ้นเพื่อรำลึก 25 ปี 14 ตุลา
  • ตำนานเพลงเพื่อชีวิต Songs For Life (2546)
  • ประวัติศาสตร์ 15 ฅน 15 เพลงเพื่อนชีวิต (พฤษภาคม 2546)
  • ซับน้ำตาอันดามัน (2548) - จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติคลื่นยักษ์ สึนามิ 6 จังหวัดภาคใต้
  • ร่วมพลิกชะตากรรมชาติ อ่าน คิด ลงประชามติ รธน. (2550) - จัดทำขึ้นโดย คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ ในคณะกรรมการอำนวยการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • บันทึกประวัติศาสตร์เพลงชีวิต พันธมิตรประชาธิปไตย (2551) - จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนกองทุนเพลงกู้ชาติ
  • เพื่อชีวิตฮิตเกินร้อย ชุด 3 (2556)
  • 3 ช่า พาเพลิน ฮิต (สิงหาคม 2558)
  • 9 ปี ถนนดนตรี 92.5 fm radio thailand (2558) - จัดทำขึ้นเพื่อร่วมก่อตั้งกองทุนศิลปินเพื่อชีวิต
  • เพื่อชีวิตฮิตเต็มร้อย 1-2 (มีนาคม - พฤศจิกายน 2561)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต รวมนํ้าใจศิลปินเพื่อชีวิต แต่มิตร ประเสริฐ จันดำ (22 กันยายน 2538)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 (29-30 มกราคม 2542)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 8 (8 ตุลาคม 2545)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 9 (5 เมษายน 2546)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 10 (11 ธันวาคม 2547)
  • คอนเสิร์ต เอาประเทศไทยของเราคืนมา (19 กันยายน 2549)
  • คอนเสิร์ต พันธมิตรประชาธิปไตย (22 ธันวาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 3 (21 มกราคม 2550)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 11 (26 ธันวาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 12 (12 ธันวาคม 2551)
  • คอนเสิร์ต ศิลปะ ดนตรี กวี การเมือง ตอน ยิ้มกลางสายฝน (8 สิงหาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 13 (30 มกราคม 2553)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ครั้งที่ 14 (23 มกราคม 2553)
  • คอนเสิร์ต ร่วมใจสร้างบ้าน สรส ครั้งที่ 1 (1 พฤษภาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 15 (19 กุมภาพันธ์ 2554)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 16 (12 มกราคม 2556)
  • คอนเสิร์ต ร่วมใจสร้างบ้าน สรส ครั้งที่ 2 (5 กรกฎาคม 2557)

ศิลปินรับเชิญในอัลบั้ม[แก้]

  • เป็นนักร้องประสานเสียงในเพลง อานนท์ ในอัลบั้ม อานนท์ ของ คาราวาน (2531)
  • โปรดิวเซอร์, เล่นแอดคอเดียนในอัลบั้ม สามตะกร้า ลีลาไทย ของ สามารถ พยัคฆ์อรุณ, ทอม ดันดี, กษาปณ์ จำปาดิบ (2541)

เพลงที่แต่งให้กับศิลปินคนอื่นๆ[แก้]

  • เด็กปั๊ม (คนด่านเกวียน ,ใช้นามปากกา บุญ น้อยลำดวน)
  • สาวรำวง (กะท้อน ,ใช้นามปากกา เชื้อกลาง ณ พันลำพวน)
  • ลูกสาวชาวนา (กะท้อน)
  • สาวนากุ้ง (กะท้อน)
  • บ่อสร้างกางจ้อง (ซูซู)
  • มยุรา (ซูซู โดยแต่งร่วมกับ ยืนยง โอภากุล)
  • ราชาสามช่า (ซูซู)
  • สิงห์รายวัน (มงคล อุทก)
  • เดินกะบวน (มงคล อุทก)
  • รอ (สรพงศ์ ชาตรี)
  • อ้ายคนแต้ (อินโดจีน)
  • ตามดูผู้แทน (คาราบาว)
  • พี่ไม่ดัง นางไม่มอง (เด่นชัย สายสุพรรณ)
  • เธอผู้เสียสละ (พงษ์สิทธิ์ คำภีร์)

อ้างอิง[แก้]

  1. "คุรุชน ครูผู้แบกกีตาร์เข้าหามวลชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-23. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  2. "หน้าปก a day ฉบับ ตค.49 น้าหงา,น้าแอ๊ด,พี่ปู ใส่สูท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.