วิกิพีเดีย:สารวิกิพีเดีย/11-2553/หน้าเดียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารวิกิพีเดีย

สารวิกิพีเดีย

การระดมทุนทำลายสถิติ บทความคัดสรรรอบครึ่งปี และอื่น ๆ

ผู้ใช้:Horus 9 ธันวาคม 2553, หน้าเดียว


การเริ่มต้น "ทดสอบทางเทคนิค" การระดมทุนอย่างไม่เป็นทางการทำลายสถิติยอดบริจาค

แม้ว่าจะอธิบายว่าเป็น "การทดสอบทางเทคนิค" ก่อนเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน การระดมทุนในวันแรก ๆ ของวิกิมีเดียนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน ก็ได้สร้างสถิติใหม่โดยมียอดบริจาคสูงสุดภายในหนึ่งวัน โดยในวันที่ 13 พฤศจิกายน มีเงินบริจาคกว่า 517,938.57 ดอลลาร์สหรัฐจากผู้ให้บริจาคจำนวน 18,246 คน

ปรากฏว่าการเพิ่มขึ้นนอกกล่าวมาจากการใช้ป้ายกราฟฟิกซึ่งแสดงภาพส่วนตัวของจิมมี เวลส์ (ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างการทดสอบ ถึงจุดที่ว่าในช่วงแรกจะไม่มีป้ายข้อความใดที่ถูกส่งเข้ามาโดยประชาคมจะได้รับการนำไปใช้เลย) แต่ผู้อ่านจำนวนมากพบว่าป้ายดังกล่าวเป็นการก้าวก่ายกันเกินไป เจ้าหน้าที่ Deniz Gultekin ได้อธิบายว่า "ป้ายใหญ่ก็จริง แต่ก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน" ในขณะที่ ขณะที่อาสาสมัครทีมสื่อสังคม (SM) User:Fetchcomms ได้รายงานว่า "มีทัศนคติของ ... "อย่ามีรูปจิมมีเลย ได้โปรด" บนทวิตเตอร์จำนวนมาก" และชี้ว่าผลตอบรับยินดีกับการออกแบบของป้ายอื่นที่จะถูกใช้ในภายหลังมากกว่า ผู้อ่านบางคนมีปฏิกิริยาขบขันในการพบภาพเวลส์มองพวกเขาจากด้านบนของหน้าวิกิพีเดีย มีคนหนึ่งได้เปรียบเทียบป้ายกับบทความโรคกลัวการถูกจ้องมอง อีกหลายคนมองป้ายว่าเป็น "จิมมี เวลส์ อันเดตสเคิร์จแห่งวิกิพีเดีย"

แผนกประชาคมของมูลนิธิได้โพสต์ข้อความประกาศการระดมทุนอย่างเป็นทางการ (""2010 Contribution Campaign launched") และการเผยแพร่สื่อในวันที่ 15 พฤศจิกายน จากแผนกการพัฒนาทั่วโลก ("Seventh Annual Campaign to Support Wikipedia Kicks Off") The Signpost

บทความคัดสรรรอบครึ่งปี

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ปฏิบัติการเท็งโงได้ผ่านการคัดเลือกเป็นบทความคัดสรรลำดับที่ 81 หลังจากสถานีอวกาศนานาชาติได้ผ่านการคัดเลือกเป็นบทความคัดสรรลำดับที่ 80 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ซึ่งห่างกันนับ 6 เดือน โดยระหว่างนั้น ได้มีการเสนอบทความคัดสรรหลายบทความ แต่ไม่ผ่านการคัดเลือก คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (23 กรกฎาคม) พระอภัยมณี (10 สิงหาคม) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (5 ตุลาคม) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (19 ตุลาคม) ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม (4 พฤศจิกายน) และเอลวิส เพรสลีย์ (7 พฤศจิกายน)

โดยในหน้าเสนอบทความดังกล่าว มีผู้สนับสนุนบทความ 1 เสียง และข้อเสนอปรับปรุงลิงก์ในบทความถือว่าไม่มีผลต่อการคัดเลือกบทความคัดสรร

ข่าวสั้น

  • สตรีในวิกิพีเดีย: ในการโพสต์ล่าสุด ชื่อเรื่องว่า "Unlocking the Clubhouse: Five ways to encourage women to edit Wikipedia" ผู้อำนวยการบริหาร ซู การ์ดเนอร์ ได้สรุปการขาดการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในวิกิพีเดียและในวัฒนธรรมหุบเขาซิลิกอนโดยทั่วไป และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงประเด็นปัญหานี้ การ์ดเนอร์ ผู้ซึ่งเริ่มทำงานในด้านการกระจายเสียงสาธารณะได้ชี้ให้เห็นสถิติที่สำคัญหลายประการ: มีผู้ร่วมพัฒนาวิกิพีเดียเพียง 13% เท่านั้นที่เป็นสตรี และน้อยกว่า 2% ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เสรี และร้อยละที่ลดลงของผู้เชี่ยวชาญหุบเขาซิลิกอน ซู การ์ดเนอร์ได้ยกคำกล่าวมาจาก "Unlocking the Clubhouse" หนังสือในปี พ.ศ. 2544 ในหัวข้อที่เขียนโดยนักวิชาการ เจน มาร์โกลิส และแอลเลน ฟิชเชอร์ และได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ MIT โดยสรุปเป็นใจความหลัก 5 ประเด็น The Signpost
  • แผนผังความคิดจากบทความวิกิพีเดีย: เว็บไซต์ en.inforapid.org ได้ให้ไดอะแกรมคล้ายแผนผังความคิดซึ่งแสดงความเชื่อมโยงระหว่างบทความวิกิพีเดียใด ๆ กับบทความที่คล้ายกัน ได้รับการประกาศโดยบริษัทเยอรมัน Inforapid ในฐานะที่เป็นโครงการไม่ใช่เชิงพาณิชย์เพื่อสาธิตเซิร์ฟเวอร์ "KnowledgeMap" ฝ่าย WikiMindMap เองก็ได้จัดทำแผนผังความคิดที่คล้ายกัน (โดยใช้ซอฟต์แวร์ FreeMind เป็นหลัก) ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีโครงสร้างที่เรียบง่ายกว่า แต่มีข้อดีตรงที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเสรี The Signpost
  • ทำไมนักวิชาการไม่ร่วมแก้ไข: บนวิกิวิทยาลัย en:User:Mietchen (ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการวิจัยของมูลนิธิวิกิมีเดียและล่าสุดได้เป็นบรรณาธิการจัดการของซิติเซนเดียม) ได้ลำดับรายการ "สิบเหตุผลหลักที่นักวิชาการไม่ร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย" โดยตั้งใจให้เป็น "พื้นฐานสำหรับการอภิปรายการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญในวิกิพีเดียและโครงการวิกิอื่น ๆ The Signpost

การระดมทุนและการล้อเลียนดำเนินต่อไป และอื่น ๆ

ผู้ใช้:Horus 5 กันยายน 2553, หน้าเดียว
ภาพจับหน้าจอหนึ่งในป้ายระดมทุนที่แสดงภาพของจิมมี เวลส์

การระดมทุนและการล้อเลียนยังดำเนินต่อไป

หลังจากการระดมทุนของมูลนิธิวิกิมีเดียเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ภาพถ่ายของจิมมี เวลส์ได้ปรากฏขึ้นเกือบทุกหนแห่งในไซต์วิกิมีเดีย พร้อมกับจดหมายส่วนตัวที่ส่งถึงผู้ให้บริจาค (ในรูปของโฆษณาซึ่งพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการทดสอบ) ยังคงได้รับการตอบรับอย่างขบขันและรำคาญ รวมไปถึงการล้อเลียนจำนวนมาก มูลนิธิวิกิมีเดียได้ตอบสนองต่อเหตุดังกล่าวด้วยอารมณ์ขัน โดยรวบรวม "รายชื่อของเกร็ดที่ดีหรือน่าตลกขบขันที่สุด" จากข่าวและสื่อสังคมในการโพสต์ในบล็อกวันที่ 16 พฤศจิกายน

ปฏิกิริยาตอบรับแบบอื่นรวมไปถึงการออกส่วนขยายเบราเซอร์สำหรับกูเกิลโครมอันมีประโยชน์ ซึ่งให้ผู้ท่องอินเทอร์เน็ตสามารถเห็นป้ายการระดมทุนอันมีภาพของจิมมี เวลส์ในทุกเว็บไซต์แทนที่จะแสดงเฉพาะไซต์ของมูลนิธิวิกิมีเดีย การเปรียบเทียบสายตาของเวลส์กับสายตาของลูกสุนัข และรายงานของ Faking News ที่ว่า "มาเฟียขอทานในเดลฟี" กำลังหาผลประโยชน์จากความสำเร็จของการระดมทุนเพื่อประโยชน์ของตนเอง: "หลังจากใช้ภาพของเทพและเทพีฮินดูเพื่อแสวงหาเงินจากผู้เชื่อแล้ว พวกขอทานตอนนี้ได้ใช้รูปภาพของจิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย และหลอกเอาเงินจากผู้มีปัญญาบนอินเทอร์เน็ต" The Signpost

การระดมทุนประจำปีของมูลนิธิวิกิมีเดียได้ยอดบริจาคจำนวนมากกว่า 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเล็กน้อย จนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน ตามหน้าสถิติการระดมทุนอย่างเป็นทางการ คิดเป็นเกือบหนึ่งในสามของยอดการระดมทุนที่ 16 ล้านดอลลาร์

การระดมทุนได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน นับตั้งแต่มีป้ายกราฟฟิกซึ่งมีภาพของจิมมี เวลส์ (ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการทดสอบ) ยังคงถูกใช้ในการโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ และได้รับปฏิกิริยาตอบรับทั้งในด้านที่สนุกสนานและรำคาญในข่าวและสื่อสังคม (ป้ายดังกล่าวสามารถถูกนำออกได้ชั่วคราวโดยกด "X" ที่อยู่มุมขวาบน ผู้ใช้ที่ล็อกอินเท่านั้นที่จะสามารถนำป้ายออกอย่างถาวรได้ผ่านแก็ดเจ็ตในการตั้งค่าผู้ใช้)

นิตยสายสเลท ("His Wikiness requests your money") ได้ถามว่า "เวลส์อาจเป็นบิดาผู้ก่อตั้งก็จริง แต่เขาสมควรจะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงผู้เผด็จการหมู่เกาะแคริบเบียนเชียวหรือ อย่างชัดเจน ใบหน้าของเขาได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าเป็นไอคอนระดมทุนที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าจะขัดกับการแข่งขันที่ค่อนข้างไม่น่าประทับใจก็ตาม" โดยชี้ให้เห็นถึง ป้ายระดมทุนแบบอื่นได้รับการเสนอให้แสดงภาพอาสาสมัครวิกิพีเดีย เสลทได้ระบุเพิ่มเติมว่า "ขณะนี้เวลส์มีการแก่งแย่งที่ยากลำบากจากผู้อยู่ใต้บังคับของตนเอง"

มีการโพสต์ในบล็อกของการริเริ่มวิจัยวิกิพีเดีย "มุมมองอันมีวิจารณญาณ" ตั้งคำถามว่า "ทำไมพวกเขาจึงต้องการเงินมากนัก" และกล่าวอ้างอย่างไมาถึงต้องว่า "มี[ลูกจ้าง]คนผอมเพียง 23 คนเท่านั้นที่อยู่บนหนังสือ[ของวิกิพีเดีย]" และ "ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นค่าใช้จ่ายหลักของค่าดำเนินงานทั้งหมด"

การทำป้ายล้อเลียนได้เริ่มปรากฏขึ้น สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ได้รายงานการหยอกล้อ "การบริจาควิกิพีเดียอันน่าตลกขันและไม่มีเจตนาโดยสิ้นเชิง" (TechCrunch) ทาง 4chan โดยผู้ก่อตั้งของไซต์ m00t (คริสโตเฟอร์ พูล) ได้เชื่อมโยงกับรูปภาพของลูกแมวมากกว่าการขอรับบริจาค (รายงานโดย Erictric) และทุกหน้าในไร้สาระนุกรมกำลังแสดงหนึ่งในป้ายทำล้อเลียนจำนวนมากซึ่งแสดงภาพของจิมมี เวลส์

บล็อก "Techerator" ได้อธิบายว่าวิกิพีเดีย "ต้องการเงินจำนวนเหมาะสมเพื่อที่จะรักษาความเป็นอิสระ" และเรียกการขอรับบริจาคว่าเป็น "วิธีการที่ไม่เสแสร้างและสมเหตุสมผลในการขอรับบริจาค" แต่ก็ให้ความเห็นว่า "จิมมี เวลส์ได้ทำให้ตัวเองกลายมาเป็นอารมณ์ขันอันไม่มีที่สิ้นสุดบนอินเทอร์เน็ตจริง ๆ กับการเคลื่อนไหวทางการตลาดล่าสุด" โดยเสนอภาพจากโฟโตชอปและข้อความทวีตถากถางเป็นตัวอย่าง

บล็อก "Urlesque" ของ AOL ได้เปรียบเทียบหนึ่งในป้ายขอรับบริจาคกับบทความ "การแข่งจ้องตา" และถามว่า "ที่จิมมี เวลส์จ้องตาคุณอยู่นั้นน่าขยะแขยงหรือเป็นความพยายามที่จะให้คนบริจาคเงินให้กับวิกิพีเดียจริง ๆ กันแน่ ปิดงานโฆษณาภาพจิมมีกำลังจ้องเสียที" โดยเชื่อมโยงกับผลการทดสอบป้ายของมูลนิธิ

ดังที่ได้รายงานใน "เรื่องจากข่าว" ส่วนขยายเบราเซอร์อย่างไม่เป็นทางการของส่วนขยายกูเกิลโครม (เข้าถึงได้ที่นี่) แสดงป้ายระดมทุนของวิกิพีเดียซึ่งมีภาพของจิมมี เวลส์ ในเว็บเพจทุกหน้าที่เข้าถึง ทำให้ป้ายระดมทุนดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงในสื่อเพิ่มเติมอีก พีซีเวลด์อินเดีย เสนอว่ามันน่าจะสามารถเพิ่มลงไปในคอมพิวเตอร์สาธารณะได้ เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตามวิทยาลัยต่าง ๆ ส่วนขยายกูเกิลโครมอีกแห่งหนึ่งกลับกล่าวตารงกันข้าม โดยให้สัญญาว่าจะเปลี่ยนภาพถ่ายของเวลส์กับภาพของลูกแมวในหน้าวิกิพีเดียทั้งหมด

บล็อกเกอร์จาก Colorado Springs Independent กล่าวป้องกันป้ายจากการล้อเลียนต่าง ๆ : "เชิญสนุกสนานกับใบหน้าของจิมมี เวลส์ที่พบเห็นได้ทั่วไปเท่าที่คุณต้องการ ... แต่นั่นจะไม่เป็นการลดประสิทธิภาพของผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียในการรณรงค์ระดมทุนนี้" The Signpost

ข่าวสั้น

  • วิกิพีเดียภาษาพม่า: ตอบรับการเรียกร้องของมูลนิธิวิกิมีเดียให้เพิ่มบทความในวิกิพีเดียภาษาพม่า สมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์พม่าได้ขอให้ชาวพม่าใช้เวลา 15 นาทีในการสร้างบทความในภาษาพม่า โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้มีบทความครบ 15,000 บทความภายในเดือนกรกฎาคมปีหน้า ตามการรายงานข่าว การยืนกรานที่จะใช้ยูนิโคดของวิกิพีเดีย (ซึ่งการตั้งค่าของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพม่าที่ไม่ใช้ยูนิโคดสำหรับฟอนต์อักษรพม่า [Zawgui]) อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่มีอัตราการมีส่วนร่วมของผู้พัฒนาวิกิพีเดียในหมู่ประชาชนชาวพม่า 20 ล้านคน อีกเหตุผลหนึ่งที่มีการกล่าวถึง คือ ความไม่ชื่นชอบรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผยของวิกิพีเดีย และการขาดรางวัลที่เป็นตัวเงินในการมีส่วนร่วม Myanmar Times

บั๊ก การซ่อมแซม และข่าวปฏิบัติการภายใน

ผู้ใช้:Horus 9 ธันวาคม 2553, หน้าเดียว

ยกเลิก "นำฉันกลับไป"

ลิงก์ "นำฉันกลับไป" ซึ่งได้แสดงอยู่บนสุดของทุกหน้าสำหรับผู้ใช้ล็อกอินที่ใช้สกินเวกเตอร์นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้สกินดังกล่าวตั้งแต่หกเดือนที่ผ่านมา ได้ถูกนำออกแล้ว ลิงก์ดังกล่าว ซึ่งได้รับการออกแบบมาาเพื่อให้ผู้เขียนสามารถเปลี่ยนกลับไปใช้สกินโมโนบุ๊กได้อย่างง่ายดาย เดิมเคยมีกำหนดจะถูกนำออกในเดือนตุลาคม แต่การนำออกได้มีการล่าช้า ("ไม่ใช่เพราะเหตุผลใดโดยเฉพาะ" ผู้พัฒนา เทรเวอร์ ปาร์สคาล กล่าว) (บั๊ก #25850)

ผู้มีบัญชีผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนไปใช้สกินอื่น ๆ ที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ — รวมทั้งสกินเวกเตอร์และโมโนบุ๊ก — ผ่านการตั้งค่าผู้ใช้ เวกเตอร์ยังคงเป็นค่าโดยปริยายของการใช้สกินของผู้ใช้ไม่ล็อกอินทั้งหมด The Signpost

สถิติการเข้าชมหน้าได้รับการแก้ไขและขยาย

เกิดข้อผิดพลาดขนานใหญ่ขึ้นในตัวเลขการเข้าชมหน้าในไซต์วิกิมีเดีย ซึ่งนำไปสู่การนับจำนวนโปรแกรมหุ่นยนต์ (ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา) ราวกับว่าบอตเหล่านี้เป็นมนุษย์โดยอุบัติเหตุ ขณะนี้ ได้รับการแก้ไขแล้ว นอกเหนือไปจากการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดต่อเดือนจาก 10,658,000,000 เป็น 13,100,000,000 คนแล้ว นักวิเคราะห์ Erik Zachte ยังได้เขียนในบล็อกว่า "จำนวนผู้อ่านวิกิพีเดียหลายภาษาจากสหรัฐอเมริกาลดลงอย่างมาก ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงกะทันหันนี้ คือ ก่อนหน้าการแก้ไข ส่วนแบ่งการเข้าชมหน้าในวิกิพีเดียภาษาฮังการีมาจากสหรัฐอเมริกา 21% แต่หลังจากการแก้ไขกลับลดเหลือเพียง 0.6%" The Signpost

ข่าวสั้น

  • ด้วยการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากบั๊ก #21911 บทบาทของข้อความเตือน "หน้านี้มีความยาวกว่า x กิโลไบต์" (ในวิกิพีเดียบางภาษาอาจมีข้อความต่อว่า "บางเบราเซอร์อาจมีปัญหาในการแก้ไขหน้าที่ยาวกว่า 32 กิโลไบต์" เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้สัดส่วนของเบราเซอร์ที่มีขีดจำกัดอยู่ที่ 32 กิโลไบต์ได้ลดลงจนอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่มี บางคนจึงเสนอแนะว่าจะสมเหตุสมผลมากกว่าถ้ามีข้อความเตือนเพื่อปรับปรุงความยาวของบทความโดยตรง ในหน้าที่มีความยาวมากกว่า 70 หรือ 80 กิโลไบต์ The Signpost
  • พิเศษ:หน้าของฉัน และ พิเศษ:หน้าพูดคุยของฉัน กำลังจะสนับสนุนพารามิเตอร์ oldid, diff และ dir เมื่อใช้ในยูอาร์แอล - เช่น http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Special:Mytalk&diff=cur จะนำไปยังการแก้ไขล่าสุดบนหน้าพูดคุยของผู้อ่านที่ล็อกอินทันที (บั๊ก #25829) The Signpost
หน้าหลัก เกี่ยวกับ ความเห็น ขอรับรายเดือน กรุ