วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/กันยายน 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:กุญ

ขอคำแปลภาษาไทยของคำว่า รอบ Knock-Out จะนำไปใช้ในบทความครับ[แก้]

ขอ คำภาษาไทย ที่จะใช้ในบทความนะครับ เพราะคิดไม่ออกจริงๆ

- รอบ Knock-Out

อันนี้ขอแถมนะครับ ช่วยอ่านชื่อ คน ให้หน่อยครับ พอดีผมไม่ถนัดเรื่องนี้
Nurdin Bukuev
Li Zhizhong

ขอบคุณมากครับ --Jeckoiman 02:33, 3 กันยายน 2551 (ICT)

ขอประกอบเรื่องชื่อคนหน่อยนะครับ Li Zhizhong เป็นชื่อชาวจีน ซึ่งถ้าทับศัพท์เป็นอังกฤษแล้วเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเสียงวรรณยุกต์เป็นอย่างไร เพราะภาษาจีนมีวรรณยุกต์ ถ้าอ่านผิดความหมายก็ผิดเหมือนเช่นภาษาไทย คำว่า Li อาจจะเป็น ลี-หลี-หลี่-ลี่ อันไหนก็ไม่รู้ --Octra Dagostino 12:26, 4 กันยายน 2551 (ICT)
รอบตกออก/ แพ้คัดออก มั้ง --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 13:58, 6 กันยายน 2551 (ICT)
  • จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง ส่วนมากแล้วจะเป็นแซ่ลี่มากกว่าลี หลี หลี่ ครับ (edit 17:22, 12 ธันวาคม 2551 (ICT) - มีแซ่หลี่มากกว่าแซ่ลี่ครับ และมากที่สุดในโลก ขออภัยที่ผมลืมไป --lovekrittaya gwperi 17:22, 12 ธันวาคม 2551 (ICT)) แต่ก็อย่างที่คุณ Octraฯ บอกนั่นแหละครับ ต้องดูตัวอักษรจีน หรือพินอินเป็นหลัก รวมทั้งบางคนชื่อเพี้ยนไปเป็นชื่อภาษาอื่น เช่นใช้ชื่ออังกฤษ แล้วใช้แซ่ตามหลัง (เช่น เอดิสัน เฉิน หรือ เฉิน กวานซี นั่นเอง (แต่คนนี้ไม่ได้แซ่ Li นะครับ ผมยกตัวอย่างเฉยๆ)) อาจจะอ่านเป็นลี Lee หรืออ่านอย่างอื่น
  • (อาจจะใช้ http://en.wiktionary.org โดยกรอกตัวจีนลงไป แล้วค้นหาพินอิน (สามารถใช้ช่วยในการออกเสียง) ครั้งละหนึ่งตัว (ภาษาจีนจะไล่เสียงเป็น ลี หลี หลี่ ลี่ นะครับ โดย li1 คือ ลี, li2 คือ หลี, li3 คือ หลี่, ถ้า li4 คือ ลี่ ครับ))
  • ขออนุญาตแสดงตัวอย่างสักหน่อยนะครับ ตัวอย่างนี้ผมใช้ตัว 丽 (เอามาจากบทความลี่เจียง) สมมุติว่าไม่ทราบว่าตัวนี้อ่านว่าอะไร ผมก็เอาตัวนี้ไปค้นหาในเว็บนั้น ผลลัพธ์ (อยู่ทางด้านล่าง) จะบอกว่า Mandarin (แมนดารินคือภาษาจีนกลางนั่นเอง) Hanzi 丽 (traditional 麗, pinyin lì (li4) , Wade-Giles li4) ซึ่ง li4 คือ ลี่ ดังที่บทความนั้นเขาอ่านมา ซึ่งตัวอักษรของคุณ อาจจะไม่ได้อ่านว่าลี่นะครับ ควรจะตรวจสอบ นี่อาจไม่ใช่วิธีที่แม่นยำที่สุด แต่ (ผมว่ามัน) ก็ง่ายนะครับ --lovekrittaya 15:51, 8 กันยายน 2551 (ICT)
รอบตัดเชือก --Wap 01:21, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

สอบถามความหมายของคำว่า ปภพ[แก้]

สิ่งที่ต้องการทราบคือ ความหมายของคำ แปลว่า ผู้นำใช่หรือไม่ เป็นภาษาบาลีหรือว่าสันสกฤตครับ ประวัติของคำว่า ปภพ เป็นคำที่มีความหมายดีมากใช่หรือไม่ครับ

ถามเพื่อป็นความรู้ครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.149.24.161 (พูดคุย | ตรวจ) 00:44, 4 กันยายน 2551 (ICT)

ปภพ ไม่มีความหมายครับ แต่คาดว่าน่าจะมาจาก ปรภพ หรือ ประภพ ซึ่งแปลว่า การเกิดก่อน; แดน, ที่เกิด. มาจากภาษาสันสกฤต ปฺร+ภว --Octra Dagostino 12:30, 4 กันยายน 2551 (ICT)

ปภพมีความหมายค่ะ แต่ไม่ได้แปลว่าผู้นำ

ปภพมีความหมายอย่าง "ปรภพ" โดยแปลว่า "การเกิดออกมา การฟุ้งออกมา การปล่อยออกมา ("emanation") ; การเริ่มต้น ("beginning") ; การเกิด ("ิbirth")" ค่ะ

ปภพเป็นบาลี สันสกฤตว่า "ปรภพ" นั่นแหละค่ะ

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๔๔ นาฬิกา (GMT+7)

a barrage of court มีความหมายว่าอะไรครับ[แก้]

อยากทราบความหมายของ a barrage of court --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ช้างดำ (พูดคุยหน้าที่เขียน) 10:27, 4 กันยายน 2551 (ICT)

เห่ชมเรือกระบวน[แก้]

ช่วยแปลกาพย์เห่ชมเรือกระบวนน่ะค่ะ

ถาม[แก้]

ต้องการเปลี่ยนurlเป็นภาษาไทยค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Mexim (พูดคุยหน้าที่เขียน) 06:28, 6 กันยายน 2551 (ICT) สุภัสศร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.175.146.14 (พูดคุย | ตรวจ) 02:22, 29 ธันวาคม 2551 (ICT)

การสมัคร[แก้]

สมัครยังไง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.25.70 (พูดคุย | ตรวจ) 03:29, 7 กันยายน 2551 (ICT)

คลิกด้านมุมบนขวามือ ที่มีคำว่า ล็อกอิน / สร้างบัญชีผู้ใช้

ขั้นต่อไปคลิกคำว่า สร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่

หรือไม่เช่นนั้น ไปที่ลิงก์นี้ http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=Special:UserLogin&type=signup

--202.28.27.6 10:35, 7 กันยายน 2551 (ICT)

เอนกประสงค์-อเนกประสงค์[แก้]

ต้องการสอบถามว่าถ้าจะบอกว่าอาคารเอนกประสงค์จะเขียนอย่างไร ระหว่าง เอนกประสงค์ และ อเนกประสงค์ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.10.102.86 (พูดคุย | ตรวจ) 09:32, 7 กันยายน 2551 (ICT)

คำที่ถูกคือ อเนกประสงค์ ดูที่ รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด --Octra Dagostino 11:20, 8 กันยายน 2551 (ICT)

ดูอา[แก้]

อยากทราบดูอาการเข้าบ้าน --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.173.145.91 (พูดคุย | ตรวจ) 03:13, 8 กันยายน 2551 (ICT)

คุณหมายถึง ดุอาอ์ หรือเปล่าครับ
ดุอาอ์ จาก วิกิพจนานุกรม ที่เก็บคำศัพท์เสรี
  • รากศัพท์ * มาจากภาษาอาหรับ หรือภาษามาเลย์ dua
  • คำนาม * หมายถึงคำวิงวอนต่ออัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม
  • คำพ้อง * บางครั้งสะกด ดุอา หรือออกเสียงเพี้ยนเป็น ดุออ

--lovekrittaya 16:02, 8 กันยายน 2551 (ICT)

ไม่ทราบว่ามี เว็ปไหนให้บริการแปลภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษแบบคำต่อคำบ้าง เช่น[แก้]

เช่น คำว่า บุญชู BoonchU คำว่า จิรัชญา Jiratchaya อะไรอย่างนี้น่ะคับ พอจะมีเว็ปไหนบ้างครับ อยากได้ไว้ใช้ในการทำงานน่ะครับ ช่วยหน่อยน่ะคับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.195.65 (พูดคุย | ตรวจ) 04:09, 8 กันยายน 2551 (ICT)

นั่นไม่ใช่การแปล แต่เป็นการถอดอักษร ดูเพิ่มที่ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน --Octra Dagostino 11:22, 8 กันยายน 2551 (ICT)

ขอบคุณมากครับ..ผมปริ๊นออกมาแล้วครับขอบคุณมากเลยครับ

supply[แก้]

_supplyหมายความว่าอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.214.0 (พูดคุย | ตรวจ) 12:37, 4 กันยายน 2551 (ICT)

http://dict.longdo.com/search/supply

English-Thai: Longdo Dictionary

  • supply (n) อุปทาน
  • supply chain (jargon) โซ่อุปทาน, สายโซ่อาหาร

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]

  • supply [N] จัดหาให้, See also: จัดส่ง, หาให้, บรรจุ
  • supply [VT] จัดหาให้, See also: จัดส่งให้, Syn. provide, furnish, contribute
  • supply [VT] ชดเชย (คำทางการ) , See also: ทดแทน, เสริมให้, Syn. fulfill, satisfy
  • supply [VT] ทำหน้าที่แทน (คำทางการ) , See also: ทำการแทน, เข้าทำแทน, Syn. act as a substitute
  • supply from [PHRV] เก็บสำรองจาก, See also: สำรองจาก
  • supply to [PHRV] จัดเตรียมให้กับ
  • supply with [PHRV] จัดเตรียมด้วย

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]

  • supply (ซะไพล') vt.,vi.,n. (การ) จัดหา,จัดส่ง,ส่งเสบียง,บรรจุ,เสริม,ให้,ชดเชย,แทนที่,พัสดุ,เสบียง,สิ่งที่จัดหาให้,สิ่งของจำเป็นทางทหาร,ค่าใช้สอย,ผู้ทำการแทน adv. อย่างอ่อนน้อม,อย่างนิ่มนวล, S. . suppliable adj. supplier n.

English-Thai: Nontri Dictionary

  • supply (n) เสบียง,การจัดหา,การให้,ค่าใช้สอย,ผู้ทำการแทน
  • supply (vt) ส่งเสบียง,จัดหา,ให้,ผนวก,ชดใช้,แทนที่

--lovekrittaya 19:50, 5 กันยายน 2551 (ICT)

อยากรู้จักตัวอักษรจีน แต่ละตัวของจีน ว่าแปลว่าอะไรบ้าง หาได้จากไหนครับ[แก้]

อยากรู้จักตัวอักษรจีน แต่ละตัวของจีน ว่าแปลว่าอะไรบ้าง หาได้จากไหนครับ พอช่วยได้ไหมครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.195.65 (พูดคุย | ตรวจ) 13:03, 8 กันยายน 2551 (ICT)

จากบทความอักษรจีน อักษรจีนอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ฮั่นจื้อ 漢字 [汉字] (hànzi). สัญลักษณ์แต่ละตัวแสดงคำในภาษาจีนและความหมาย มีจุดกำเนิดจากรูปคน สัตว์ หรือสิ่งอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป รูปร่างของอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างและไม่เหมือนกับสิ่งที่เลียนแบบอีกต่อไป สัญลักษณ์หลายตัวเกิดจากสัญลักษณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน

ระบบอักษรจีนไม่มีข้อกำหนดเรื่องจำนวนอักษร พจนานุกรมที่ใหญ่ที่สุดมี 56,000 ตัว แต่ส่วนใหญ่มีที่ใช้น้อย การรู้อักษรจีนประาณ 3,000 ตัวจะสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาจีนได้ราว 99 % ส่วนในการอ่านวรรณคดี งานเขียนทางเทคนิค หรือหนังสือโบราณ ควรจะต้องรู้ประมาณ 6,000 ตัว

นอกจากนี้ ยังมีทั้งอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวย่อ และแบบอื่นๆ อีก อักษรจีนราว 2,000 ตัวที่ใช้ในประเทศจีนและประเทศสิงคโปร์ได้เปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบอักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เขียนง่ายขึ้น แต่ในไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า และมาเลเซีย ยังใช้อักษรตัวเต็มอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม อักษรทั้ง 2 แบบก็ยังได้รับความนิยมจนปัจจุบัน นอกจากนี้ อักษรจีนบางตัว ที่มีการดัดแปลงไปเล็กน้อย ใช้เขียนภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น (ถ้าจำไม่ผิด ผมว่าตัวญี่ปุ่นบางตัวที่เขียนเหมือนตัวจีนตรงๆ เลย ก็น่าจะมีเช่นกัน แต่จะอ่านต่างกัน)

ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนอักษรจีนเป็นตัวย่อ รัฐบาลจีนออกแถลงการณ์ให้เหตุผลว่า ต้องการให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อักษรจีนมากขึ้น จึงต้องลดจำนวนขีดของตัวอักษรลงมาเพื่อลดระดับความยาก โดยย่อหมวดนำหรือตัดบางส่วนออก และย่อรูปรวม

ต่อไปนี้จะยกจากคำถามคำตอบข้างบน (คำตอบในส่วนของผมเอง) มาประกอบการตอบคำถามนี้ด้วย (ยินดีตอบใหม่) ดังนี้ อาจจะใช้ http://en.wiktionary.org โดยกรอกตัวจีนที่ต้องการทราบความหมายลงไป แล้วค้นหาพินอิน (สามารถใช้ช่วยในการออกเสียง) ครั้งละหนึ่งตัว (สมมุติ แซ่ของคนจีน ที่มีการเขียนเป็นอังกฤษว่า Li ภาษาจีนจะไล่เสียงวรรณยุกต์เป็น ลี หลี หลี่ ลี่ นะครับ โดย li1 คือ ลี, li2 คือ หลี, li3 คือ หลี่, ถ้า li4 คือ ลี่ ครับ))

ขออนุญาตแสดงตัวอย่างสักหน่อยนะครับ ตัวอย่างนี้ผมใช้ตัว 丽 (เอามาจากบทความลี่เจียง) สมมุติว่าไม่ทราบว่าตัวนี้อ่านว่าอะไร ผมก็เอาตัวนี้ไปค้นหาในเว็บนั้น ผลลัพธ์ (อยู่ทางด้านล่าง) จะบอกว่า Mandarin (แมนดารินคือภาษาจีนกลางนั่นเอง) Hanzi 丽 (traditional 麗, pinyin lì (li4) , Wade-Giles li4) ซึ่ง li4 คือ ลี่ ดังที่บทความนั้นเขาอ่านมา --lovekrittaya 14:41, 9 กันยายน 2551 (ICT)

หาได้จากพจนานุกรมภาษาจีน จำแค่ตัวเบื้องต้นที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็พอครับ ไม่ต้องจำหมดหรอก เฉพาะที่มีอยู่ในยูนิโคดก็ 7 หมื่นกว่าตัวแล้ว เว็บพจนานุกรมที่แนะนำคือ http://www.mandarintools.com --Octra Dagostino 14:44, 9 กันยายน 2551 (ICT)
เข้าเว็ปไม่ได้ครับ ขอเว็ปอื่นอีกได้ไหม
ตะกี้นี้ ตก www. ผมก็เลยเข้าไม่ได้เช่นกัน ขอบคุณด้วยคนนะครับคุณ Octraฯ ที่แนะนำเว็บดังกล่าว (ยังไม่รู้จัก) --lovekrittaya 14:56, 9 กันยายน 2551 (ICT)
เดี๋ยวนี้ไม่ต้องใส่ www กันแล้วครับ :) --Octra Dagostino 15:16, 9 กันยายน 2551 (ICT)
อันนี้ผมทราบครับ แต่ที่ผมทำไปตะกี้ เพราะผมเข้าเว็บนั้นแบบไม่มี www ไม่ได้จริงจริง ต้องขออภัยด้วยครับ (ผมว่ามันคงเป็นเพราะตัวเว็บนั้นเองน่ะครับที่ทำให้ต้องมี www) --lovekrittaya 15:26, 9 กันยายน 2551 (ICT)

เทคโนโลยีชีวภาพ[แก้]

เทคโนโลยีชีวภาพหมายถึง

ตัวสะกดไม่ตรงมาตราหมาถึง[แก้]

ความหมายตัวสะกดไม่ตรงมาตรา --203.144.187.18 19:00, 9 กันยายน 2551 (ICT)

ตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา ได้แก่ ก ง ด น บ ม ย ว (ตามมาตราแม่ กก กง กด กน กบ กม เกย และเกอว ตามลำดับ)
นอกเหนือจากนี้ ก็เป็นตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตราครับ
วิชาภาษาไทย ป.๑ หนึ่งพันบาท! (ใครเข้าใจมุกบ้าง)
--Wap 01:08, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

พูดภาษาอังกฤษ[แก้]

ทำยังไงถึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คะ..ช่วยบอกหน่อย --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.219.139 (พูดคุย | ตรวจ) 03:05, 10 กันยายน 2551 (ICT)

  • เปล่งเสียงว่า พา-สา-อัง-กริด ครับ นั่นไงครับ พูดได้แล้ว
  • ล้อเล่นน่ะครับ, ฝึกสิครับ ฝึก หาโอกาสพูดบ่อยๆ ครับ ถ้าโอกาสมีไม่มาก ก็หาแฟนเป็นฝรั่งเสียเลยครับ
  • อีกอย่างหนึ่งก็ กล้าพูด ครับ อย่าไปกังวลเรื่อง grammar จะผิด ฝรั่งไม่หัวเราะสมน้ำหน้าคุณหรอกครับ
  • tips ตามท้องตลาดมีขายหลายเล่มครับ -- Wap 01:32, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

ภาษาก็อย[แก้]

ภาษาก็อยที่แปลว่า นก --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.120.95.58 (พูดคุย | ตรวจ) 14:07, 10 กันยายน 2551 (ICT)

วิธีการเขียนเครื่องหมายอัญประกาศในภาษาไทย[แก้]

สวัสดีค่ะ ไม่ทราบว่าวิธีการเขียนเครื่องหมายอัญประกาศในภาษาไทยจำเป็นต้องเว้นวรรคก่อนและหลังการใส่เครื่องหมายอัญประกาศไหมค่ะ เช่น วัดที่มีพื้นที่ส่วน "ธรณีสงฆ์" นี้มากกว่าเขตอื่นๆ หรือไม่ต้องมีเว้นวรรคก่อนและหลังใส่เครื่องหมาย เช่น วัดที่มีพื้นที่ส่วน"ธรณีสงฆ์"นี้มากกว่าเขตอื่นๆ

แบบไหนถูกต้องค่ะ

ขอบคุณค่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.44.135.35 (พูดคุย | ตรวจ) 02:44, 11 กันยายน 2551 (ICT)

แบบแรกครับ ถ้าไม่เว้นเลยคุณจะรู้ไหมว่า อันไหนเปิด อันไหนปิด เวลามีเครื่องหมายนี้ใช้เยอะๆ --Octra Dagostino 17:06, 11 กันยายน 2551 (ICT)

ตำรับ - ตำรับ[แก้]

ต่างกันหรือไม่ อย่างไรครับ ใครรู้ตอบหน่อยได้มั้ยครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 221.115.239.2 (พูดคุย | ตรวจ) 03:08, 11 กันยายน 2551 (ICT)

คำที่ถูกคือ ตำรับ มาจากภาษาเขมร แต่อ่านเหมือน ตำ-หรับ --Octra Dagostino 17:04, 11 กันยายน 2551 (ICT)

ความหมาย[แก้]

คำว่า อนันตรทรัพย์ หมายถึงอะไร? เกิดจากคำประเภทไหนผสมกัน?

ขอบคุณครับ

ตากลม --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.147.111 (พูดคุย | ตรวจ) 07:11, 11 กันยายน 2551 (ICT)

ที่จริงควรเป็น อนันตทรัพย์ ซึ่งมาจาก อนันต์ (ความไม่สิ้นสุด) + ทรัพย์ (สิ่งมีค่า) เป็นคำสมาส --Octra Dagostino 13:28, 13 ตุลาคม 2551 (ICT)

"อนันตระ" ก็มีนะคะ (อน + อันตร = ติดต่อกันเรื่อยไป ไม่เว้นว่าง, มีความหมายอย่างเดียวกับ นิรันตระ หรือนิรันดร)

"อนันตรทรัพย์" คงแปลว่า ทรัพย์ที่ไม่มีเว้นว่าง

แต่ว่ากันตามความหมายจริง ๆ แล้ว "อันตระ" (ที่ไปสมาสกะ "อน") แปลว่า ระหว่าง เช่น ในคำ "อันตราย" ที่แปลว่า ความขัดข้องที่มาในระหว่าง กล่าวคือ "อนันตระ" มันแปลว่า ช่วง ๆ หนึ่งที่ต่อเนื่องกันไปตลอด เหมือนกับเส้นรอบวงกลมวงหนึ่ง คือมันวนไปเป็นวงนั้นอยู่เรื่อยไปเป็นต้น (อธิบายยากแฮะ 55+)

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๓๖ นาฬิกา (GMT+7)

การเขียนโปรแกรมจำนวนเฉพาะภาษา C[แก้]

อยากทราบการเขียนโปรแกรมจำนวนเฉพาะภาษา C จังค่ะอยากมากทำไม่ได้ จะสอบแล้วยังไม่มีตัวอย่างเลย --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.137.146.4 (พูดคุย | ตรวจ) 03:42, 16 กันยายน 2551 (ICT)

ช่างยนต์[แก้]

ย้ายจากหน้า คุยกับผู้ใช้:61.7.252.151

ช่างยนต์ ภาษาอังกฤษ เขียนอย่างไร --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยหมายเลขไอพี 114.128.59.76 (พูดคุย • ตรวจ) 05:53, 12 กันยายน 2551 (ICT)

ทั่วไปก็คือ mechanician หรือ machinist ครับ --Octra Dagostino 06:29, 25 กันยายน 2551 (ICT)

ฐิรอิมภรณ์ , ฐิติฤทธินันท์ , ภูบดีวิทย์[แก้]

ย้ายจากหน้า คุยกับผู้ใช้:124.157.154.198

มีใครรู้บ้างค่ะ ว่า ฐิรอิมภรณ์ , ฐิติฤทธินันท์ , ภูบดีวิทย์ แปลว่าอะไร ช่วยกรุณาตอบด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยหมายเลขไอพี 124.157.154.198 (พูดคุย • ตรวจ) 18:36, 13 กันยายน 2551 (ICT)

ต้องการทราบภาษา (ด่วน)[แก้]

พอดีดิฉันต้องการทราบว่า "คำว่าบริหารคอมพิวเตอร์ธุรกิจ " ในภาษาเอสโตเนีย และภาษาลิทัวเนีย พูดว่าอย่างไรคะ

เพลงลาวดวงเดือน[แก้]

อยากทราบว่าเพลงลาวดวงเดือนเป็นบทความ หรือเป็นกลอนประเภทอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.143.179.38 (พูดคุย | ตรวจ) 03:49, 19 กันยายน 2551 (ICT)

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยเดิมเพลงหนึ่งที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวไทย ทรงพระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เดิมเพลงนี้กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงตั้งชื่อว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน แต่เนื่องจากเนื้อร้องมีคำว่า ดวงเดือน อยู่หลายตอน ทำให้ผู้ฟังเรียกผิดเป็น ลาวดวงเดือน

--สนทนาประสาคนหลงกฤตยา 10:55, 19 กันยายน 2551 (ICT)

คำว่า"นก"ในภาษาก็อยเรียกว่าอะไร[แก้]

ช่อยบอกที --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.199.87 (พูดคุย | ตรวจ) 09:00, 21 กันยายน 2551 (ICT)

ภาษาฝรั่งเศส[แก้]

อยากทราบว่า คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาษาฝรั่งเศส พูดว่ายังไงค่ะ และอ่านยังไง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.29.83.65 (พูดคุย | ตรวจ) 06:58, 22 กันยายน 2551 (ICT)

วิชานี้หรือเปล่าครับ en:Business informatics; fr:Informatique de gestion --Octra Dagostino 11:30, 25 กันยายน 2551 (ICT)

Informatique de gestion ว่า /แองฟอร์มาตีก-เดอ-แกสชียง/ และ Business informatics ว่า /บีซีแนส-แองฟอร์มาตีก/

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๒๗ นาฬิกา (GMT+7)

ความหมาย และความถูกต้องตามหลักภาษา ของคำว่า รฤกถึง[แก้]

อยากทราบความหมายและ และการใช้ตามหลักภาษาไทยครับ--117.47.67.202 15:21, 24 กันยายน 2551 (ICT) อนามิส --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.67.202 (พูดคุย | ตรวจ) 08:19, 24 กันยายน 2551 (ICT)

  • น่าจะเป็นการดัดแปลงคำว่า "ระลึกถึง" ครับ (ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นภาษาวิบัติหรือเปล่า) --lovekrittaya but gwperi 18:44, 24 กันยายน 2551 (ICT)
น่าจะเป็นอักขรวิธีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางกระมังครับ ที่จะมีการใช้คำว่า เปน เหน หรือคำอื่นๆ ซึ่งสะกดผิดแผกจากปัจจุบัน--ดำรง วงศ์ตระกูล 19:22, 24 กันยายน 2551 (ICT)

ถูกอย่างคุณดำรงกล่าวไว้ --Octra Dagostino 16:00, 13 ตุลาคม 2551 (ICT)

มานุษยวิทยา[แก้]

อยากทราบที่มาของคำว่า "มานุษย" ในคำว่ามานุษยวิทยา และมีคำนิยามต่างไปจาก "มนุษย์" ในมนุษยศาสตร์ อย่างไร ขอพระคุณมากครับ

คำว่า "มนุษย์" และ "มนุษย์" ไม่ต่างกัน มาจากภาษาสันสกฤตทั้งคู่ และเดิมเป็นคำวิเศษณ์เหมือนกัน หมายความว่า "เกี่ยวกับคน" หรือ "ของคน" แต่ในภาษาไทยเป็นคำนามแปลว่า "คน" ได้ด้วย

ภาษาบาลีว่า "มนุสฺส" (คน) , "มนุสฺยะ" (เกี่ยวกะคน) , ส่วนสันสกฤตว่า "มนุษฺ" (คน) , "มนุษฺยะ" (เกี่ยวกับคน)

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๒๔ นาฬิกา (GMT+7)

การใช้เครื่องหมายฟันหนู " "[แก้]

ตัวอย่าง ถ้าพิมพ์ว่า บริษัท เอบีซี จำกัด (มหาชน) ("บริษัท")

ถามว่า

  1. ถูกต้องหรือไม่
  2. ("บริษัท") หมายความว่าอย่างไร ในเมื่อพิมพ์ชื่อเต็มของบริษัทฯ แล้วทำไมต้องมีการย่อตามมาอีก

ตัดออกเลยครับ --Octra Dagostino 00:33, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

จะใช้ในภาษาสัญญาครับ หากเขียนเช่นนี้ แปลว่า หลังจากนี้ (ในสัญญาฉบับนี้) ถ้าเขียนคำว่า บริษัท เฉยๆ ที่ไหนก็ตาม จะหมายถึง บริษัท เอบีซี จำกัด (มหาชน) ครับ หากไม่เขียนเช่นนี้ไว้ก่อน คำว่า บริษัท ลอยๆ ที่โผล่มาทีหลัง อาจใช้บังคับไม่ได้ครับ --Wap 01:01, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

อ้อลืมนึกไป ไม่มีบริบทนี่นา อยู่ๆ มาถามลอยๆ :D --Octra Dagostino 01:03, 18 ตุลาคม 2551 (ICT)

ภาษาดัตช์[แก้]

คำว่าการบริหารธุรกิจคอมพิวเตอร์ของภาษาดัตช์เขียนอย่างไรและสะกดอย่างไร--202.29.83.65 14:47, 25 กันยายน 2551 (ICT) วิจิตรา เที่ยงทางธรรม

ภาษาอิตาลี[แก้]

ragazzi แปลว่าอะไรคับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.100.23 (พูดคุย | ตรวจ) 05:44, 29 กันยายน 2551 (ICT)

ใช้ Google Translate และ Yahoo! Babel Fish แปลได้เหมือนกันว่า Boys (เด็กผู้ชายหลายคน) ครับ ถ้าเป็นคนเดียวจะใช้ ragazzo แทนครับ --The Apostle Of Destruction 16:54, 8 ตุลาคม 2551 (ICT)

สงสัยครับ[แก้]

1.เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีใช้คำขึ้นต้นยังไง....และ..ลงท้ายยังไงคับ 2.เขียนจดหมายถึงประธานศาลฏีกาขึ้นต้น และ ลงท้ายยังไงคับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.174.18.112 (พูดคุย | ตรวจ) 04:17, 30 กันยายน 2551 (ICT)

โปรดดู

——ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๑, ๐๒:๒๑ นาฬิกา (GMT+7)

เครือญาติ[แก้]

เครือญาติโดยตรงคืออะไร

หมายถึงเครือญาติที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยเป็นลูกเขยหรือลูกสะใภ้ไงครับ --Octra Dagostino 17:10, 1 ตุลาคม 2551 (ICT)