วิกตอเรียพีก

พิกัด: 22°16′32″N 114°08′38″E / 22.275469°N 114.143828°E / 22.275469; 114.143828
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกตอเรียพีก
太平山 | 扯旗山
View showing Victoria Peak with High west to the left and The Mount Austin to the right
วิกตอเรียพีกมองจากเหววิกตอเรีย
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
552 เมตร (1,811 ฟุต)
พิกัด22°16′31.69″N 114°8′37.78″E / 22.2754694°N 114.1438278°E / 22.2754694; 114.1438278
ชื่อ
ชื่อท้องถิ่น太平山  (จีน)
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
วิกตอเรียพีกตั้งอยู่ในฮ่องกง
วิกตอเรียพีก
วิกตอเรียพีก
ที่ตั้งของวิกตอเรียพีกในฮ่องกง
ที่ตั้งธงของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกง
วิกตอเรียพีก
ภาษาจีน太平山
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน扯旗山
วิกตอเรียพีก มองจากถนนฟินด์เลย์

วิกตอเรียพีก (อังกฤษ: Victoria Peak, จีน: 太平山 หรือเดิม 扯旗山) หรือ ภูเขาออสติน (Mount Austin) หรือชื่อท้องถิ่นคือ เดอะพีก (The Peak) เป็นภูเขาที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะฮ่องกง เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนเกาะ มีความสูง 552 เมตร (1,811 ฟุต) และอยู่ในอันดับที่ 31 ของภูเขาที่สูงสุดในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (จุดที่สูงที่สุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงคือ ไทโมชาน สูง 957 เมตร (3,140 ฟุต))

ชาวยุโรปรู้จัก "เดอะพีก" มาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เนื่องจากเป็นจุดที่มองเห็นเกาะได้ดีที่สุดและมีอากาศที่อบอุ่น ต่างจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะฮ่องกงที่มีอากาศกึ่งเขตร้อน ข้าหลวงคนที่หกแห่งฮ่องกงคือ เซอร์ริชาร์ด แมกดอนเนลล์ สร้างบ้านพักตากอากาศที่นี่ราวปี ค.ศ. 1868[1] แต่เดิมผู้ที่จะเดินทางขึ้นมาที่ยอดเขาจะต้องใช้เกี้ยวที่มีคนหาม แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1888 มีการเปิดให้บริการกระเช้าไฟฟ้า[1][2] ทำให้การขึ้นสู่ยอดเขาสะดวกสบายมากขึ้น ระหว่างปี ค.ศ. 1904–1930 มีการประกาศให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่อาศัยเฉพาะของชาวต่างชาติ[3]

ในปัจจุบัน วิกตอเรียพีกรองรับนักท่องเที่ยวกว่า 7 ล้านคนต่อปี เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของฮ่องกง[4] นักท่องเที่ยวมักจะมาถ่ายมุมกว้างของเกาะ และเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น พีกทาวเวอร์, พีกแกลเลอเรีย, สวนวิกตอเรียพีก, วิกตอเรียแกป และถนนลูการ์ด การเดินทางสามารถมาได้ทั้งทางกระเช้าไฟฟ้า บริการขนส่งสาธารณะ รถแท็กซี่ และรถยนต์ส่วนตัว

นอกจากจะเป็นพื้นที่พักอาศัยและแหล่งท่องเที่ยวแล้ว วิกตอเรียพีกยังเป็นที่พำนักของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งบริหารของฮ่องกง เช่น เลขานุการกระทรวงยุติธรรมฮ่องกง หัวหน้าเลขานุการฝ่ายบริหารฮ่องกง หัวหน้าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์สูงสุดฮ่องกง เป็นต้น รวมถึงนักธุรกิจที่มีชื่ออย่างเหลก๊าเส่ง[5]

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเดอะพีก (ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 25.0
(77)
28.0
(82.4)
26.9
(80.4)
29.0
(84.2)
32.6
(90.7)
32.7
(90.9)
32.3
(90.1)
32.9
(91.2)
32.1
(89.8)
30.6
(87.1)
28.7
(83.7)
25.5
(77.9)
32.9
(91.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.4
(61.5)
17.5
(63.5)
19.5
(67.1)
22.7
(72.9)
25.8
(78.4)
27.3
(81.1)
28.4
(83.1)
28.5
(83.3)
27.9
(82.2)
25.5
(77.9)
22.0
(71.6)
18.0
(64.4)
23.3
(73.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 13.3
(55.9)
14.5
(58.1)
16.6
(61.9)
20.1
(68.2)
23.3
(73.9)
25.1
(77.2)
25.8
(78.4)
25.7
(78.3)
25.0
(77)
22.5
(72.5)
19.2
(66.6)
15.0
(59)
20.5
(68.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.1
(52)
12.3
(54.1)
14.5
(58.1)
18.2
(64.8)
21.5
(70.7)
23.4
(74.1)
24.0
(75.2)
23.8
(74.8)
23.2
(73.8)
20.7
(69.3)
17.3
(63.1)
12.8
(55)
18.6
(65.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -1.0
(30.2)
4.1
(39.4)
4.9
(40.8)
9.4
(48.9)
13.4
(56.1)
17.9
(64.2)
19.8
(67.6)
20.8
(69.4)
18.1
(64.6)
12.4
(54.3)
6.3
(43.3)
3.5
(38.3)
−1.0
(30.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 34.7
(1.366)
30.4
(1.197)
71.5
(2.815)
138.6
(5.457)
310.8
(12.236)
496.4
(19.543)
392.4
(15.449)
384.8
(15.15)
245.8
(9.677)
92.4
(3.638)
44.7
(1.76)
30.5
(1.201)
2,273.0
(89.488)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 6.1 9.0 9.8 11.0 14.0 18.4 17.3 15.7 13.6 7.1 6.0 5.1 133.1
แหล่งที่มา: หอดูดาวฮ่องกง[6][7][8]


อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Peak History". The Peak. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-07. สืบค้นเมื่อ 14 March 2007.
  2. "Peak Tram History". The Peak Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-20. สืบค้นเมื่อ 13 March 2007.
  3. Peak District Reservation Ordinance, 1904
  4. DeWolf, Christopher "9 Hong Kong tourist traps – for better or worse" CNN Go. 27 October 2010. Retrieved 3 March 2012
  5. "Hutchison Sells Second Hong Kong House Over HK$500Mln". Bloomberg.com. 25 November 2013.
  6. "Monthly Means of Meteorological Elements for The Peak, 2004-2017". หอดูดาวฮ่องกง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018. 山頂氣象要素月平均值 (2004-2017)
  7. "Monthly Means of Meteorological Statistics for The Peak, 2004-2017". หอดูดาวฮ่องกง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018. 山顶气象统计月平均值 (2004-2017)
  8. "Extreme Values and Dates of Occurrence of Extremes of Meteorological Elements between 1884-1939 and 1947-2017 for Hong Kong". หอดูดาวฮ่องกง. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

22°16′32″N 114°08′38″E / 22.275469°N 114.143828°E / 22.275469; 114.143828