วัดสนธิกรประชาราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสนธิกรประชาราม
ทิศตะวันออกของอุโบสถวัดสนธิกรประชาราม
แผนที่
ที่ตั้ง77 หมู่ที่ 3 ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย 67000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระประธานพระพุทธมหามงคล
เจ้าอาวาสพระราชปริยัติบัณฑิต (ถนอม ศรีภักดิ์)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสนธิกรประชาราม เป็นวัดราษฎร์ ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ ณ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533[1] ได้รับรองเป็นวัดในพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2535[1] และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2547[2]

ประวัติ[แก้]

เมื่อปลาย พ.ศ. 2531 พระกิตติสารโสภณ (ชลอ กิตฺติสาโร) และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) ซึ่งต่อมาเป็นพระธรรมวราลังการ (ชลอ กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดเพชรวราราม อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4, 5, 6 และ 7 (ธรรมยุต) ปรารภแก่วลีรัตน์ ลำใย โยมวัดคนหนึ่งว่า ต้องการที่ดินแปลงที่อยู่ติดริมแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสร้างวัดเป็นอนุสรณ์แด่พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อวลีรัตน์ ลำใย ทราบความประสงค์ จึงขอที่ดินแปลงติดแม่น้ำป่าสัก ที่เป็นสวนผลไม้ของขุนชำนาญนิธิกร[เป็นใคร?] ได้สร้างไว้ จากอุทัย นิธิกร มารดาของขุนชำนาญนิธิกร จำนวน 6 ไร่ 23 ตารางวาเศษ ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 18354 เลขที่ดิน 27 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2532[ต้องการอ้างอิง] และ ถวายให้วัดเพชรวรารามในงานสอบธรรมสนามหลวง ประจำปี 2531 ณ วัดเพชรวราราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์[ต้องการอ้างอิง] ต่อมา วัดเพชรวรารามได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีกจำนวน 6 ไร่ 3 งาน รวมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 12 ไร่ 3 งาน[ต้องการอ้างอิง]

ขณะสร้างวัด พระกิตติสารโสภณ (ชลอ กิตฺติสาโร) นิมนต์พระพิพัฒน์ ฐิตายุโก จากวัดถ้ำเขาหินปูน (ปัจจุบันเรียกว่า วัดถ้ำปูนสวรรค์) ตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มาเป็นประธานที่พักสงฆ์[ต้องการอ้างอิง]

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยมีวลีรัตน์ ลำใย เป็นผู้รับใบอนุญาตในการสร้าง[1]

กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยให้ชื่อว่า “วัดสนธิกรประชาราม”[1] และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547[2]

ชื่อ "วัดสนธิกรประชาราม" มาจากคำว่า "สนธิ" ซึ่งมาจากชื่อของพระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) ส่วนคำว่า "กร" มาจากสร้อยนามบรรดาศักดิ์ของขุนชำนาญนิธิกร และคำว่า "ประชา" หมายถึง ประชาชนทั่วไป สำหรับคำว่า "อาราม" หมายถึง วัดหรือสถานที่มีความร่มรื่น รวมเป็น "สนธิกรประชาราม" มีความหมายว่า วัด หรือ สถานที่มีความร่มรื่น ที่ขุนชำนาญนิธิกรและประชาชนร่วมกันสร้างเป็นอนุสรณ์แด่พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร)

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับที่ รายนาม ตั้งแต่ปี จนถึง หมายเหตุ
1. พระครูพิพัฒน์วชิรคุณ
(พิพัฒน์ ฐิตายุโก)
พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2541 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) และผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) ด้วย
2. พระครูวิชมัยปุญญารักษ์
(ศุภชัย ปภาสิริ)
พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต), เจ้าคณะอำเภอหล่มสัก-เขาค้อ (ธรรมยุต) และเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) ด้วย
3. พระราชปริยัติบัณฑิต
(ถนอม ศรีภักดิ์)[3]
พ.ศ. 2545 (ยังอยู่ในตำแหน่ง) เป็นรองเจ้าคณะภาค 4-5 (ธรรมยุต)[4] ด้วย

สิ่งสำคัญภายในวัด[แก้]

พระประธาน[แก้]

พระประธาน

พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย{{อ้างอิง-เส้นใต้|ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป้นผุ้ออกแบบและมีพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระมหานายก เป็นประธานในการเททอง[ต้องการอ้างอิง]

ศาสนสถาน และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ[แก้]

ภายในวัด มีอุโบสถหลังหนึ่ง ประกอบด้วยสองชั้น ชั้นล่างเป็นศาลาการเปรียญ กว้าง 17.20 เมตร ยาว 33 เมตร ชั้นบนใช้ประกอบสังฆกรรม กว้าง 8.90 เมตร ยาว 20.90 เมตร อุโบสถนี้สร้างตามแบบของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

นอกจากนี้ ในวัดยังมีอาคารหลังหนึ่ง เรียก "อาคารธรรมรักษา" เป็นอาคารสองชั้นใช้สำหรับการศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ ชั้นล่างเป็นห้องพักพระวิทยากร 1 ห้อง และห้องเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีอีก 5 ห้อง ส่วนชั้นบนเป็นที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร 20 ห้อง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งวัดในพระพุทธศาสนา (วัดสนธิกรประชาราม) ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. เล่ม 109, ฉบับพิเศษ, ตอนที่ 47 (-): หน้า 7. 8 เมษายน 2535. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2554. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา (งวดที่ 2 ประจำปี 2547) ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2547" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. เล่ม 121, ตอนที่ 51 ง (-): หน้า 2. 24 มิถุนายน 2547. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2554. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. [1] มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 13/2545 มติที่ 187/2545 เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต)
  4. พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช เลขที่ 10/2564 เรื่อง แต่งตั้ง พระราชปริยัติบัณฑิต (ถนอม ปณฺฑิโต) ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 4-5 (ธรรมยุต)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]