วรรณา บัวแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรรณา บัวแก้ว
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นนา
เกิด2 มกราคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย
ส่วนสูง1.72 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว)
น้ำหนัก61 กิโลกรัม (134 ปอนด์)
กระโดดตบ292 เซนติเมตร (115 นิ้ว)
บล็อก277 เซนติเมตร (109 นิ้ว)
มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวรับอิสระ
ทีมชาติ
1996–2016ไทย ทีมชาติไทย

วรรณา บัวแก้ว ชื่อเล่น นา เป็นอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ตำแหน่งตัวรับอิสระ และตัวเชต เธอเคยเป็นหนึ่งในนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทยที่ได้เล่นวอลเลย์บอลอาชีพกับสโมสรจอห์นสัน สเปซาโน ในประเทศอิตาลี วรรณา บัวแก้ว เป็นนักกีฬาที่มีความมุ่งมั่นสูงสังเกตได้จากที่อายุมากแล้วก็ยังรักษามาตรฐานของตัวเองจนสามารถรับใช้ทีมชาตินับสิบปี มีผลงานรับใช้ทีมชาติในระดับโลกมากมาย เช่น เวิลด์กรังปรีด์ เวิลด์แชมเปี้ยนชีพ เวิลด์คัพ และอีกหลายรายการ วรรณา บัวแก้ว ถือเป็นนักกีฬาสายเลือดเก่าในยุคของแอนนา ไภยจินดา พัชรี แสงเมืองและพัฒนาฝีมือการเล่นร่วมกับชุดปัจจุบันได้อย่างลงตัว จนทีมชุดปัจจุบันเป็นทีมหนึ่งในแนวหน้าของโลก

ประวัติ[แก้]

วรรณา บัวแก้ว เป็นชาวจังหวัดสระแก้ว บิดาชื่อแดง (เสียชีวิตหลังจากที่เธอติดทีมชาติเพียงไม่กี่ปี) และมารดาชื่อสนิท ซึ่งวรรณาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (อาร์แบค) เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่เรียนระดับประถมศึกษา ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนหนองกะพ้อ จังหวัดสระแก้ว หลังจากจบชั้นประถมศึกษา ก็เดินทางเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ โดยศึกษาชั้นมัธยมที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ พร้อมกับเล่นให้แก่หลายสโมสรจนกระทั่งติดทีมชาติ ใน พ.ศ. 2552 วรรณาได้ทำงานที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในฝ่ายสังคมและสิ่งแวดล้อม ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบาย

นอกจากนี้ วรรณา บัวแก้ว ยังเป็นนักกีฬาต้นแบบของนริศรา แก้วมะ รวมถึงเคยสอนเทคนิคการเล่นวอลเลย์บอลให้แก่นริศราด้วยเช่นกัน[1]

ผลงาน[แก้]

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมป์เปี้ยนคัพ

  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 6) ประเทศไทยในฐานะแชมป์ทวีปเอเชีย
  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 5) ประเทศไทยในฐานะแชมป์ทวีปเอเชีย

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก

  • พ.ศ. 2553 (ผ่านเข้ารอบสุดท้าย) ประเทศญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2545 (อันดับ 18) ประเทศเยอรมนี
  • อิตาลี 2014 : ลำดับที่ 17

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์

  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 13)
  • พ.ศ. 2555 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2554 (อันดับ 6)
  • พ.ศ. 2553 (อันดับ 10)
  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 8)
  • พ.ศ. 2551 (อันดับ 11)
  • พ.ศ. 2549 (อันดับ 11)
  • พ.ศ. 2548 (อันดับ 12)
  • พ.ศ. 2547 (อันดับ 10)
  • พ.ศ. 2546 (อันดับ 9)
  • พ.ศ. 2545 (อันดับ 8)

เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย

  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 1)
  • พ.ศ. 2554 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 1)
  • พ.ศ. 2550 (อันดับ 3)
  • พ.ศ. 2548 (อันดับ 6)
  • พ.ศ. 2546 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2544 (อันดับ 3)

เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก

  • ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (อันดับ 4)

สโมสร[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. น้องป๊อปดาวดวงน้อยแห่งวงการลูกยางไทย : SMMOnline.net[ลิงก์เสีย]
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]