อุทยานหลวงชินจุกุ

พิกัด: 35°41′07″N 139°42′31″E / 35.68533°N 139.70850°E / 35.68533; 139.70850
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชินจุกุ เกียวเอ็ง ในฤดูใบไม้ผลิ
ชินจุกุ เกียวเอ็ง ในฤดูใบไม้ร่วง
ฤดูใบไม้ร่วง
สะพาน

อุทยานหลวงชินจุกุ (ญี่ปุ่น: 新宿御苑) หรือ ชินจูกุเกียวเอ็ง เป็นอดีตพระราชอุทยานขนาดใหญ่ในเขตชินจูกุและเขตชิบูยะของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เดิมสวนนี้เป็นที่ดินของตระกูลไนโตระหว่างยุคเอโดะ ต่อมาจึงอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักพระราชวังหลวง ปัจจุบันสวนสาธารณะแห่งนี้อยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงสิ่งแวดล้อม

ค่าผ่านประตู 200 เยนสำหรับผู้ใหญ่ และ 50 เยนสำหรับเด็ก

ประวัติ[แก้]

ในยุคเอโดะ โชกุนได้มอบที่ดินผืนนี้แก่ ข้าหลวงไนโตะ ไดเมียวแห่งสึรุงะ ซึ่งได้สร้างที่นี่เป็นสวนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2315.[1] ต่อมาภายหลังการปฏิรูปเมจิ พื้นที่สวนแห่งนี้ก็ถูกเปลี่ยนเป็นศูนย์ทดลองทางเกษตรกรรม[2] จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นสวนพฤกษศาสตร์ ก่อนที่ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 จะกลายมาเป็นพระราชอุทยานหลวง

ผังและโครงสร้างของสวนในปัจจุบันนั้นคงเดิมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2449 ถึงแม้ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพื้นที่ของสวนแทบทั้งหมดจะเสียหายจากการทิ้งระเบิดทางอากาศ ซึ่งได้มีการบูรณะภายหลังจบสงคราม แล้วในปี พ.ศ. 2490 สองปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สวนแห่งนี้ถูกโอนการดูแลจากสำนักพระราชวังไปสู่กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (ปัจจุบันคือกระทรวงสาธารณสุข, แรงงาน และสวัสดิการ)

21 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 สวนแห่งนี้ก็ได้เปิดให้บริการแก่สาธารณชนเป็นครั้งแรก ในนาม "อุทยานหลวงชินจุกุแห่งชาติ" (National Park Shinjuku Imperial Gardens) ก่อนที่ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2544 จึงโอนมาอยู่ใต้อำนาจการดูแลของกระทรวงสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนชื่อสวนเป็น "อุทยานหลวงชินจุกุ" (Shinjuku Gyoen)

อ้างอิง[แก้]

  1. Mansfield. Page 15.
  2. Mansfield. Page 15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

35°41′07″N 139°42′31″E / 35.68533°N 139.70850°E / 35.68533; 139.70850