วงโคจรผ่านบรรยากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงโคจรผ่านบรรยากาศ (อังกฤษ: transatmospheric orbit; TAO ) เป็นวงโคจรรอบเทหวัตถุซึ่งจุดต่ำจุดของวงโคจรตัดกับเส้นกำหนดแนวเขตชั้นบรรยากาศ[1][2][3] โดยทั่วไป นิยามของวงโคจรผ่านบรรยากาศใช้เส้นคาร์มันที่ความสูง 100 km (62 mi) ตามที่กำหนดโดยสหพันธ์กีฬาทางอากาศนานาชาติเป็นตัวแบ่งแยกระหว่างวงโคจรผ่านบรรยากาศกับวงโคจรต่ำของโลก แต่นิยามอย่างเช่นความสูง 50 mi (80 km) ที่กำหนดโดยสหรัฐก็ถูกใช้เช่นกัน วงโคจรเช่นดังกล่าวจะได้รับแรงต้านบรรยากาศมาก ทำให้เกิดการเสื่อมวิถีโคจรอย่างรวดเร็ว

ดาวเทียมบางส่วนนั้นอยู่ในวงโคจรผ่านบรรยากาศ[4] โดยทั่วไปแล้วเกิดจากข้อขัดข้องในการส่งขึ้น ด้วยลักษณะของวงโคจรผ่านบรรยากาศที่ทำให้วัตถุในวิถีเกิดการเสื่อมวิถีโคจรอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประโยชน์ในการนำไปใช้มีจำกัด โดยมีตัวอย่างการใช้เช่นการทดสอบการกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของเครื่องบินอวกาศไอเอกซ์วี ซึ่งถูกส่งไปยังวงโคจรผ่านบรรยากาศที่มีจุดต่ำสุดที่ 76 km (47 mi) และจุดสูงสุดที่ 416 km (258 mi)[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. McDowell, Jonathan (24 May 1998). "Jonathan's Space Report". Transatmospheric orbit (TAO): orbital flight with perigee less than 80 km but more than zero. Potentially used by aerobraking missions and transatmospheric vehicles, also in some temporary phases of orbital flight (e.g. STS pre OMS-2, some failures when no apogee restart)
  2. "ADB143755" (PDF). 5 August 1997.
  3. Graham, William (10 February 2015). "Vega rocket launches IXV spaceplane – Mission Complete".
  4. McDowell, Jonathan (26 December 2022). "Definitions Uncataloged ('U') Launches". สืบค้นเมื่อ 4 January 2023.
  5. "VV04-launchkit-GB" (PDF). February 2015. สืบค้นเมื่อ 4 January 2023.