วงศ์ปลานกขุนทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลานกขุนทอง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีน-ปัจจุบัน
ปลานกขุนทองปากยื่น (Epibulus insidiator)
ปลาเขียวพระอินทร์ (Thalassoma lunare) ปลาขนาดเล็กชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนเพศได้ตามวัย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Labriformes
วงศ์: Labridae
Cuvier, 1816
สกุล
ดูในเนื้อหา

วงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labridae ในLabriformes

มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง ริมฝีปากหนา สามารถยืดหดได้ กระดูกพรีแม็คซิลลารี เพดิเคิลส์เจริญดี โดยปกติมีฟันแบบฟันเขี้ยวแหลม หรือฟันตัดเพียงแถวเดียว ฟันที่หลอดคอมีขนาดใหญ่พัฒนาดี ไม่มีฟันบนกระดูกโวเมอร์และกระดูกพาลาติน เกล็ดที่ปกคลุมลำตัวมีขนาดใหญ่เป็นแบบขอบเรียบ เส้นข้างลำตัวอาจขาดตอนหรือสมบูรณ์ เป็นปลาที่มีสีสันสดใสสวยงาม รูปร่างลำตัวมีหลายรูปแบบ อาศัยอยู่ในแนวปะการัง หรือกองหินใต้น้ำ

มีขนาดรูปร่างแตกต่างหลากหลายกันมาก ตั้งแต่มีความยาวเพียง 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร ในปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus undulatus) ซึ่งเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และจัดเป็นปลากระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งที่พบได้ในแนวปะการัง[1]

มี 81 สกุล[2] พบมากกว่า 600 ชนิด นอกจากปลานกขุนทองหัวโหนกแล้ว ยังมีชนิดอื่น ๆ ที่รู้จักกันดี อาทิ ปลานกขุนทอง (Halichoeres kallochroma) เป็นต้น[3]

การจำแนกประเภท[แก้]

กลุ่มย่อย และ เผ่า[แก้]

สกุล[แก้]

เส้นเวลา[แก้]

QuaternaryNeogenePaleogeneHolocenePleist.Plio.MioceneOligoceneEoceneสมัยพาลีโอซีนPimelometoponOxyjulisBodianusCheilinusSymphodusLabrusLabrodonQuaternaryNeogenePaleogeneHolocenePleist.Plio.MioceneOligoceneEoceneสมัยพาลีโอซีน

รูปภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คอลัมน์ Blue Planet ตอน จักรพรรดิ...ใต้สมุทร Cheilinus undulatus หน้า 137-140 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 13 ปีที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม 2011
  2. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  3. ["Family Labridae (Labridae & Coridae) (ไทย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-03-09. Family Labridae (Labridae & Coridae) (ไทย)]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]