ลัมบรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ศรีวิชัยแสดงที่ตั้งของลามูรี (ที่ปลายเกาะสุมาตรา)

ลามูรี (อินโดนีเซีย: Lamuri) หรือ ลัมบรี (Lambri)[1] เป็นอาณาจักรทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียในสมัยศรีวิชัยจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 บริเวณนี้มีประชากรฮินดูเข้าอาศัยประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7[2] และยังมีหลักฐานของศาสนาพุทธด้วย[3] เชื่อกันว่าภูมิภาคนี้เป็นหนึ่งในสถานที่แรก ๆ ที่ศาสนาอิสลามเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซีย และผู้ปกครองในยุคหลังกลายเป็นมุสลิม

โดยทั่วไปถือว่าลัมบรีตั้งอยู่ใกล้บันดาอาเจะฮ์ในจังหวัดอาเจะฮ์ ส่วนที่ตั้งได้มีการเสนอแนะว่าอยู่ในพื้นที่ลัมบาโรทางตะวันตกของบันดาอาเจะฮ์ในปัจจุบันที่มีซากอาคารที่จมอยู่และมีการค้นพบหลุมฝังศพ[1] แม้ว่าปัจจุบันบางคนจัดให้ลัมบรีเข้ากับลัม เระฮ์ (Lam Reh) ทางตะวันออกของอาเจะฮ์ที่มีหลุมฝังศพสมัยโบราณหลายแห่งอยู่[4] บันทึกประวัติศาสตร์ลัมบรีปรากฏในข้อมูลหลายแห่งตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา และคาดว่าถูกดูดกลืนเข้ากับรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16

ชื่อ[แก้]

ชาวอาหรับรู้จักอาณาจักรลามูรีหรือลัมบรีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา และระบุชื่อเป็น รอมนี (رامني), เลารี, ลามุรี และรูปแบบอื่น ๆ[5] ข้อมูลอินเดียอันเดียวที่กล่าวถึงบริเวณนี้ปรากฏในจารึกตันโจเรอ (Tanjore inscription) ใน ค.ศ. 1030 ที่ระบุชื่อในภาษาทมิฬว่า Ilâmurideśam[5] ส่วนในบันทึกของชาวจีน มีการกล่าวถึงครั้งเป็น หลานหลี่ (藍里) ใน หลิ่งไว่ไต้ตา โดยโจว ชู่เฟย์ใน ค.ศ. 1178 จากนั้นปรากฏเป็น หลานอู๋หลี่ (藍無里) ในจูฟ่านจื้อ, หนานอูลี (喃哩) ในเต่าอี๋จิ้อเลฺว่ และรูปสะกดที่คล้ายกันแบบอื่น ๆ[6] ในบันทึกของชาวยุโรปปรากฏเป็น Lambri (เช่นใน บันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล),[7] Lamuri หรือรูปสะกดแบบอื่น (Lamori, Lambry, ฯลฯ)

ในนาการาเกรตากามา ผลงานชวาที่เขียนขึ้นใน ค.ศ. 1365 ระบุบริเวณนี้เป็น Lamuri และในพงศาวดารมลายูระบุเป็น Lambri[5] คำว่า lam ในภาษาอาเจะฮ์หมายถึง "ใน", "ข้างใน" หรือ "ลึก" และยังใช้เป็นอุปสรรคสำหรับที่อยู่อาศัยหลายแห่งรอบ ๆ อาเจะฮ์[1]

บันทึกประวัติศาสตร์[แก้]

รายพระนามผู้ปกครอง[แก้]

หินหน้าหลุมศพของมาลิก ชัมซุดดิน

จากสุสาน 84 แห่งในพื้นที่ 17 แห่ง มีหินหน้าหลุมฝังศพ 28 อันที่มีจารึกไว้ ในจำนวนนี้มีกษัตริย์ 10 พระองค์ที่ปกครองลามูรี แบ่งออกเป็นผู้ที่มีตำแหน่ง มาลิก 8 พระองค์ และ ซุลตัน 2 พระองค์[8]

  • มาลิก ชัมซุดดิน (สวรรคต ฮ.ศ. 822/ค.ศ. 1419)
  • มาลิก อาลาวุดดิน (สวรรคต ฮ.ศ. 822/ค.ศ. 1419)
  • มาลิก มุซฮีรุดดิน
  • ซุลตัน มูฮัมมัด อิบน์ อาลาวุดดิน (สวรรคต ฮ.ศ. 834/ค.ศ. 1431)
  • มาลิก นีซาร์ อิบน์ ไซด์ (สวรรคต ฮ.ศ. 837/ค.ศ. 1434)
  • มาบิก ไซด์ (อิบนื นีซาร์?) (สวรรคต ฮ.ศ. 844/ค.ศ. 1441)
  • มาลิก จาวาดุดดิน (สวรรคต ฮ.ศ. 842/ค.ศ. 1439)
  • มาลิก ไซนัล อาบีดิน (สวรรคต ฮ.ศ. 845/ค.ศ. 1442)
  • มาลิก มูฮัมมัด ชะฮ์ (สวรรคต ฮ.ศ. 848/ค.ศ. 1444)
  • ซุลตัน มูฮัมมัด ชะฮ์ (สวรรคต ฮ.ศ. 908/ค.ศ. 1503)[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 E. Edwards McKinnon (October 1988). "Beyond Serandib: A Note on Lambri at the Northern Tip of Aceh". Indonesia. 46 (46): 102–121. doi:10.2307/3351047. hdl:1813/53892. JSTOR 3351047.
  2. "Indra Patra Fortress". Indonesia Tourism.
  3. "Situs Lamuri Dipetakan". Banda Aceh Tourism. 28 September 2014.
  4. Suprayitno (2011). "Evidence of the Beginning of Islam in Sumatera: Study on the Acehnese Tombstone" (PDF). TAWARIKH: International Journal for Historical Studies. 2 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-28.
  5. 5.0 5.1 5.2 H.K.J. Cowan (1933). "Lamuri — Lambri — Lawri — Ram(N)I — Lan-Li — Lan-Wu-Li — Nan-Po-Li". Journal of the Humanities and Social Sciences of Southeast Asia. 90 (1): 422–424. doi:10.1163/22134379-90001421.
  6. Derek Heng Thiam Soon (June 2001). "The Trade in Lakawood Products between South China and the Malay World from the Twelfth to Fifteenth Centuries AD". Journal of Southeast Asian Studies. 32 (2): 133–149. doi:10.1017/s0022463401000066. JSTOR 20072321.
  7. J.M. Dent (1908), "Chapter 36: Of the Town of Lop Of the Desert in its Vicinity - And of the strange Noises heard by those who pass over the latter", The travels of Marco Polo the Venetian, p. 344
  8. "Nisan-nisan Kerajaan Lamuri di Lamreh dan Kuta Leubok, Aceh Besar (1)". สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
  9. "Nisan-nisan Kerajaan Lamuri di Lamreh dan Kuta Leubok, Aceh Besar (2)". สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]