ริชาร์ด อาร์โนลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ริชาร์ด อาร์โนลด์ (อังกฤษ: Richard Arnold; เกิด 26 เมษายน 1971) เป็นนักบัญชีชาวอังกฤษ ซึ่งเขาเป็นอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ระหว่างปี ค.ศ. 2022–2023 โดยเขารับตำแหน่งต่อจาก เอ็ด วู้ดเวิร์ด เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022[1][2]

การศึกษา[แก้]

อาร์โนลด์ได้รับการศึกษาที่ โรงเรียนคิงส์สคูล เชสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยบริสตอล ในสหราชอาณาจักร โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา ชีววิทยา ในปี ค.ศ. 1993 เขาผ่านการรับรองเป็นนักบัญชีชาร์เตอร์ดในปี ค.ศ. 1996[3] ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการโรงเรียนคิงส์สคูลเชสเตอร์[4]

การทำงาน[แก้]

อาร์โนลด์ ร่วมงานกับบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ ในปี ค.ศ. 1993 โดยทำงานเป็นผู้จัดการอาวุโสด้านโทรคมนาคมและสื่อ ขณะอยู่ที่ PwC เขาทำงานเกี่ยวกับการแปรรูป บริษัทซาอุดิเทเลคอม และมีส่วนร่วมในการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกของ ออเรนจ์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ ในสหราชอาณาจักร[5]

หลังจาก 6 ปีที่ PwC อาร์โนลด์ ได้ลาออกและร่วมงานกับ Global Crossing Europe Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมระดับโลก และช่วยเหลือพวกเขาในการปรับโครงสร้างธุรกิจระหว่างปี ค.ศ. 1999 ถึง ค.ศ. 2002[3] จากนั้นเขาก็ลาออก

อาร์โนลด์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองกรรมการผู้จัดการของ InterVoice Ltd. ในปี ค.ศ. 2002 โดยรับผิดชอบแผนกการขายและการตลาดช่องทางระหว่างประเทศของบริษัทเทคโนโลยี (InterVoice Inc.) ซึ่งจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ แนสแด็ก

ในปี ค.ศ. 2007 อาร์โนลด์ลาออกจากอินเตอร์วอยซ์และร่วมงานกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการค้า เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นกรรมการผู้จัดการและกรรมการของ Manchester United PLC เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 โดยเข้าควบคุมการดำเนินธุรกิจของสโมสร หลังจากที่ เดวิด กิลล์ หัวหน้าผู้บริหารลาออกและแทนที่โดย เอ็ด วู้ดเวิร์ด รองประธานบริหาร[6] อาร์โนลด์ นั่งเป็นกรรมการของ เอ็มยูทีวี ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของสโมสรและ Manchester United Merchandising Limited ในช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่สโมสร เขาได้มีส่วนสำคัญในการสร้างความน่าสนใจให้กับแบรนด์แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ไปทั่วโลก โดยเปิดสำนักงานการค้าใน เมย์แฟร์, นิวยอร์ก และ ฮ่องกง[7][8] อาร์โนลด์ดูแลการลงนามในสัญญาสปอนเซอร์ที่ทำกำไรได้หลายฉบับ ซึ่งรวมถึงข้อตกลงการเป็นสปอนเซอร์ชุดแข่งมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ทำสถิติโลกเป็นเวลา 7 ปีกับ เจเนอรัลมอเตอร์ส/เชฟโรเลต (2014) และข้อตกลงอุปกรณ์กีฬามูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐกับ อาดิดาส เป็นเวลา 10 ปี (2015) เป็นข้อตกลงที่มีมูลค่าทางการตลาดมากที่สุดในประวัติศาสตร์ธุรกิจกีฬาในขณะนั้น[9][10]

อาร์โนลด์ได้รับการเสนอชื่อเข้ารอบสุดท้ายโดยสถาบันกรรมการในสาขา Young Director of the Year ในปี ค.ศ. 2004 และ 2005 สำหรับผลงานของเขาที่ InterVoice ในปี ค.ศ. 2011 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักนวัตกรรมการกีฬาแห่งปีของนิตยสาร SportBusiness International จากความสำเร็จเชิงพาณิชย์ของเขากับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Richard Arnold biography". ManUtd.com (Manchester United FC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014.
  2. "Ed Woodward will leave Manchester United in April with Richard Arnold becoming new chief executive from February 1". Sky Sports.
  3. 3.0 3.1 "Manchester United PLC: Richard Arnold". Reuters. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  4. "Staff & Governors". June 2016.
  5. "Richard Arnold: Executive Profile & Biography". Bloomberg Businessweek. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  6. "Ed Woodward assumes responsibilities at MU". ManUtd.com (Manchester United FC). สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  7. Ruddick, Graham (8 February 2011). "Manchester United moves commercial operations to Mayfair". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  8. "Manchester United will open US east coast office to grow global appeal". The Guardian Newspaper. 23 October 2012. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  9. Ogden, Mark (28 January 2014). "Manchester United put their shirt on new £65 million world-record deal". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
  10. "Manchester United secures $1.28 billion adidas kit deal". FoxSports. 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  11. "Insider: Richard Arnold". Macroaxis. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.