ราชวงศ์ซะอูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ซะอูด
آل سعود
Royal house
ตระกูลบรรพบุรุษAl-Muqrin of house of Al-Muraydi of the Diriyah (1446; 578 ปีที่แล้ว (1446)) of Banu Hanifa of Banu Bakr bin Wa'il
ประเทศSaudi Arabia (current)
Historical:
ก่อตั้ง1720; 304 ปีที่แล้ว (1720)
ต้นตระกูลSaud I (died 1725)
ผู้นำคนปัจจุบันSalman bin Abdulaziz
ตำแหน่ง
ประเพณีWahhabism (followers of Mohammed ibn Abdulwahhab) /revival[1]
ตราแผ่นดินของซาอุดีอาระเบีย เริ่มใช้ใน ค.ศ. 1950

ราชวงศ์ซะอูด (อาหรับ: آل سعود, อักษรโรมัน: ʾĀl Suʿūd สัทอักษรสากล: [ʔaːl sʊʕuːd]) เป็นพระราชวงศ์ที่ปกครองประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยสืบตระกูลมาจากมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด ผู้ก่อตั้งเอมิเรตดิรอียะฮ์ ที่รู้จักกันในชื่อ รัฐซาอุดีแรก (ค.ศ. 1727–1818) และพี่น้องของพระองค์ผ่านฝ่ายปกครองของวงศ์ตระกูลเป็นส่วนหลักที่ทำให้เกิดลูกหลานของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด ผู้ก่อตั้งประเทศซาอุดีอาระเบียในปัจจุบัน[2] ตำแหน่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดของราชวงศ์คือพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย โดยรวมแล้วมีประมาณ 15,000 คน อย่างไรก็ตาม กลุ่มส่วนใหญ่ที่มีอำนาจ อิทธิพล และทรัพย์สินมีประมาณ 2,000 คน[3][4]

ราชวงศ์ซะอูดแบ่งออกเป็นสามช่วง: เอมิเรตดิรอียะฮ์ รัฐซาอุดีแรก (ค.ศ. 1727–1818) เป็นจุดขยายของวะฮาบีย์; เอมิเรตนัจด์ รัฐซาอุดีที่สอง (ค.ศ. 1824–1891) เป็นจุดที่มีการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง และรัฐซาอุดีที่สาม (ค.ศ. 1902–ปัจจุบัน) ที่กลายเป็นประเทศซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1932 และตอนนี้มีอิทธิพลในตะวันออกกลาง วงศ์ตระกูลเคยมีข้อขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมัน, ชะรีฟแห่งมักกะฮ์, ราชวงศ์เราะชีดแห่งเอมิเรตญะบัลชัมมัรกับวงศ์ข้าราชบริวารในนัจด์, กลุ่มอิสลามทั้งในและนอกประเทศซาอุดีอาระเบีย และชนกลุ่มน้อยชีอะฮ์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

การสืบทอดราชบัลลังก์ซาอุดีอาระเบียจะใช้วิธีการถ่ายโอนอำนาจแก่พระโอรสของอิบน์ ซะอูด กษัตริย์องค์แรก ไปถึงสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด ผู้ปกครองในปัจจุบัน ใน ค.ศ. 2017 มุฮัมมัด อิบน์ นะญีฟ ถูกเปลี่ยนกับมุฮัมมัด บิน ซัลมาน พระโอรสของกษัตริย์ซัลมานในฐานะมกุฎราชกุมาร หลังจากได้รับการยอมรับจากฮัยอะตุลบัยอะฮ์ (هيئة البيعة) ด้วยคะแนนเสียง 31 จาก 34 เสียง[5][6][7][8][9][10] ในอดีต ระบบกษัตริย์เป็นระบบแบบสืบตระกูลผ่านญาติทางบิดาอาวุโส (agnatic seniority) จนถึง ค.ศ. 2006 เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาว่าพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบียในอนาคตต้องมาจากการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการเจ้าชายซาอุ[11]

ตำแหน่ง[แก้]

ตารางลำดับวงศ์ตระกูลผู้นำของอาลซะอูด

ราชวงศ์ซะอูด เป็นคำแปลของ อัลซะอูด ซึ่งเป็นชื่อราชวงศ์อาหรับที่สร้างจากการเพิ่มคำว่า อาล (หมายถึง "ครอบครัวของ" หรือ "ราชวงศ์ของ")[12] ข้างหน้าชื่อตัวของบรรพบุรุษ ในส่วนของอาล ซะอูด บรรพบุรุษคือซะอูด อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ มุกริน พระราชบิดาของผู้ก่อตั้งราชวงศ์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (มุฮัมมัด, โอรสของซะอูด)[13]

ปัจจุบัน นามสกุล "อาล ซะอูด" ถูกใช้โดยลูกหลานของมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด หรือพระอนุชาทั้งสามพระองค์ ฟัรฮาน, ษุนัยยาน และมิชารี ส่วนสาขาอื่นของพงศาวลี เช่น ซะอูด อัลกะบีร, อัลญิลูวี, อัษษุนะยาน, อัลมิชารี และอัลฟัรฮาน ถูกเรียกเป็นสาขาตระกูล (cadet branches) สมาชิกของสาขาตระกูลครองตำแหน่งสูงและมีอิทธิพลในรัฐบาล แม้ว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในเส้นการสืบทอดราชบัลลังก์ซาอุดีอาระเบีย สมาชิกหลายคนแต่งงานกันระหว่างอาล ซะอูด เพื่อสถาปนาเชื้อสายและครองอิทธิพลในรัฐบาลต่อไป[14][15]

สมาชิกทั้งหมดของพระราชวงศ์มีตำแหน่งเอมีร์ (เจ้าชาย) แต่พระโอรส, พระธิดา, พระราชนัดดาทั้งชายและหญิงของกษัตริย์ที่สืบทอดทางพ่อถูกเรียกเป็น "ฮิสรอยัลไฮเนส" (His Royal Highness; HRH) ต่างจากพระราชปนัดดาชายผ่านสายพ่อและสมาชิกสาขาตระกูลถูกเรียกเป็น "ฮิสไฮเนส" (His Highness; HH) ในขณะที่กษัตริย์ที่ครองราชย์ได้ตำแหน่งเพิ่ม คือผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง[14][15][16]

ทรัพย์สิน[แก้]

ซูเปอร์ยอชต์ Kingdom 5KR ถือครองโดยราชวงศ์ซาอุดี จอดเทียบท่าที่Antibes, โกตดาซูร์

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 ฟอบส์ ได้ตั้งเจ้าชายอัลวะลีด บิน เฏาะลาล เป็นบุคคลที่ร่ำรวยในอันดับที่ 34 ของโลก โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 22.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[17] เจ้าชายอัลวะลีดมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 20.4 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 2014[18] ใน ค.ศ. 2016 รายงานจากTeleSUR สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน "ทรงมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 17.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ"[19]

ใน ค.ศ. 2020 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิรวมทั้งพระราชวงศ์อยู่ประมาณ 100 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้เป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในบรรดากษัตริย์ทั้งหมดและเป็นหนึ่งในครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[20]

ผู้นำ[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด

รัฐซาอุดีแรก[แก้]

  1. มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (ประมาณ ค.ศ. 1710[21]−1765) ครองราชย์ ค.ศ. 1744–1765
  2. อับดุลอะซีซ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (สวรรคต ค.ศ. 1803) ครองราชย์ ค.ศ. 1765–1803
  3. ซะอูด อิบน์ อับดุลอะซีซ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (สวรรคต ค.ศ. 1814) ครองราชย์ ค.ศ. 1803–1814
  4. อับดุลลอฮ์ อิบน์ ซะอูด (สวรรคต ค.ศ. 1818) ครองราชย์ ค.ศ. 1814–1818

รัฐซาอุดีที่สอง[แก้]

1. ตุรกี อิบน์ อับดุลลอฮ์ (ค.ศ. 1755–1834) ครองราชย์ ค.ศ. 1824[22]−1834
2 และ 5. ฟัยศ็อล อิบน์ ตุรกี อาล ซะอูด (ค.ศ. 1785–1865) ครองราชย์ ค.ศ. 1834–1838 และ 1843–1865. พระโอรสของตุรกี
3. คอลิด อิบน์ ซะอูด อิบน์ อับดุลอะซีซ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด ครองราชย์ ค.ศ. 1838–1841. ลูกพี่ลูกน้องห่าง ๆ
4. อับดุลลอฮ์ อิบน์ ษุนัยยาน ครองราชย์ ค.ศ. 1841–1843. ลูกพี่ลูกน้องห่าง ๆ
6, 8, และ 11. อับดุลลอฮ์ อิบน์ ฟัยศ็อล อิบน์ ตุรกี อาล ซะอูด ครองราชย์ ค.ศ. 1865–1871, 1871–1873, 1876–1889. พระโอรสของฟัยศ็อล
7 และ 9. ซะอูด อิบน์ ฟัยศ็อล อิบน์ ตุรกี (สวรรคต ค.ศ. 1875) ครองราชย์ ค.ศ. 1871 และ 1873–1875. พระโอรสของฟัยศ็อล
10 และ 12. อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ ฟัยศ็อล (ค.ศ. 1850–1928) ครองราชย์ ค.ศ. 1875–1876 และ 1889–1891. พระโอรสของฟัยศ็อล

ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย[แก้]

ธงพระอิสริยยศของกษัตริย์
  1. สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ ฟัยศ็อล รู้จักกันในพระนาม อิบน์ ซะอูด (15 มกราคม ค.ศ. 1876 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953) ครองราชย์ ค.ศ. 1902[23]–1953
  2. สมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ (15 มกราคม ค.ศ. 1902 – 24 มกราคม ค.ศ. 1969) ครองราชย์ ค.ศ. 1953–1964
  3. สมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดุลอะซีซ (เมษายน ค.ศ. 1906 – 25 มีนาคม ค.ศ. 1975) ครองราชย์ ค.ศ. 1964–1975
  4. สมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด บิน อับดุลอะซีซ (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1982) ครองราชย์ ค.ศ. 1975–1982
  5. สมเด็จพระราชาธิบดีฟะฮัด บิน อับดุลอะซีซ (16 มีนาคม ค.ศ. 1920 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 2005) ครองราชย์ ค.ศ. 1982–2005
  6. สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอะซีซ (1 สิงหาคม ค.ศ. 1924 – 23 มกราคม ค.ศ. 2015) ครองราชย์ ค.ศ. 2005–2015
  7. สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ (พระราชสมภพ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1935) ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Read The 'Wahhabi Myth' Online By Haneef James Oliver | Books (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
  2. "The House of Al Saud – A View of the Modern Saudi Dynasty". Frontline. PBS. 18 September 2015.
  3. "HRH Princess Basma bint Saud bin Abdulaziz Al Saud". Hardtalk. BBC. 28 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.
  4. Milmo Cahal (3 January 2012). "The Acton princess leading the fight for Saudi freedom". The Independent. สืบค้นเมื่อ 3 January 2012.
  5. Chulov, Martin; Borger, Julian (2017-06-21). "Saudi king ousts nephew to name son as first in line to throne". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-09-03.
  6. "Mohammed bin Salman becomes Saudi Crown Prince with 31 out of 34 votes" (ภาษาอังกฤษ). Al Arabiya. สืบค้นเมื่อ 2019-09-03.
  7. Al-awsat, Asharq. "Middle-east Arab News Opinion". Asharq Al-Awsat. London. สืบค้นเมื่อ 2019-09-03.
  8. Nicole Chavez, Tamara Qiblawi and James Griffiths. "Saudi Arabia's king replaces nephew with son as heir to throne". CNN.
  9. Raghavan, Sudarsan; Fahim, Kareem (June 21, 2017). "Saudi king names son as new crown prince, upending the royal succession line". The Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 June 2017.
  10. "Saudi royal decrees announcing Prince Mohammed BinSalman as the new crown prince". The National (ภาษาอังกฤษ). Abu Dhabi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-21. สืบค้นเมื่อ 21 June 2017.
  11. Dewey, Caitlin; Max Fisher (22 July 2013). "Meet the world's other 25 royal families". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  12. Wynbrandt, James; Gerges Fawaz A. (2010). A Brief History of Saudi Arabia. p. xvii. ISBN 978-0-8160-7876-9.
  13. Wahbi Hariri-Rifai; Mokhless Hariri-Rifai (1990). The heritage of the Kingdom of Saudi Arabia. p. 26. ISBN 978-0-9624483-0-0.
  14. 14.0 14.1 Amos, Deborah (1991). "Sheikh to Chic" (ภาษาอังกฤษ). Mother Jones. p. 28. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
  15. 15.0 15.1 "Saudi Arabia: HRH or HH? – American Bedu". 7 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2016.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. "Family Tree". www.datarabia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2016.
  17. "The World's Billionaires". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2 July 2015.
  18. "Meet The Richest People In The Middle East". Forbes. 24 March 2014.
  19. "Saudi King, UAE President at the Center of the Panama Papers". TeleSUR. April 4, 2016.
  20. https://www.investopedia.com/articles/insights/052416/top-10-wealthiest-families-world.asp
  21. "Timeline Saudi Arabia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  22. Turki ibn Abdallah ruled various parts of the area between 1819 and 1824. The Second Saudi State was officially founded in 1824.
  23. Abdul-Aziz ruled various parts of the area between 1902 and 1932. The Kingdom was officially founded in 1932.

สารานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]