รางวัลลอเรนซ์โอลิวีเอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลโอลิวีเอร์
ปัจจุบัน: งานประกาศรางวัลลอเรนซ์โอลิวีเอร์ พ.ศ. 2565
รางวัลลอเรนซ์โอลิวีเอร์ ออกแบบโดยประติมากรนามว่าแฮร์รี่ ฟรานเชตตี ซึ่งตัวประติมากรรมแสดงโอลิวีเอร์ขณะแสดงบทบาทพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ณ ดิโอลด์วิก เมื่อปี พ.ศ. 2480
รางวัลสำหรับละครเวทีในลอนดอนที่ดีที่สุด
ประเทศอังกฤษ
จัดโดยสมาคมโรงละครลอนดอน
รางวัลแรกพ.ศ. 2519; 48 ปีที่แล้ว (2519)
เว็บไซต์officiallondontheatre.com/olivier-awards/

รางวัลลอเรนซ์โอลิวีเอร์ (อังกฤษ: Laurence Olivier Awards) หรือรู้จักกันในชื่อ รางวัลโอลิวีเอร์ (อังกฤษ: Olivier Awards) เป็นรางวัลประจำปีที่มอบเพื่อยกย่องความเป็นเลิศด้านละครเวทีในลอนดอนโดยสมาคมโรงละครลอนดอนภายในงานประกาศรางวัลประจำปีซึ่งจัดขึ้นในเมืองหลวงของสหราชอาณาจักร แต่เดิมรางวัลนี้ชื่อว่า รางวัลสมาคมโรงละครเวสต์เอ็นด์ (อังกฤษ: Society of West End Theatre Awards) แต่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ลอเรนซ์ โอลิวีเอร์ นักแสดงชายชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2527

รางวัลนี้มอบให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโปรดักชันเวสต์เอ็นด์ตลอดจนโรงละครที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในลอนดอน ซึ่งมีความครอบคลุมทั้งหมวดหมู่ละคร ละครเพลง การเต้นรำ โอเปรา และ โรงละครที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลโอลิวีเอร์พิเศษซึ่งมีผู้ท้าชิงโดยดุลยพินิจในแต่ละปีด้วย รางวัลโอลิวีเอร์นี้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ว่าเป็นรางวัลอันมีเกียรติยศสูงสุดในวงการละครเวทีอังกฤษ เทียบเท่ารางวัลแบฟตาสำหรับวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์และรางวัลบริตสำหรับวงการเพลง และยังเทียบเท่ากับรางวัลโทนีของละครเวทีบรอดเวย์และรางวัลโมลิแยร์ของวงการละครเวทีฝรั่งเศส

นับแต่การเริ่มมอบรางวัล สถานที่จัดงานถูกเปลี่ยนไปในสถานที่และโรงละครหลายแห่งทั่วลอนดอน จนกระทั่วปี พ.ศ. 2555 ถึง 2559 ได้จัดประจำที่รอยัลโอเปราเฮาส์ และย้ายไปจัดประจำที่รอยัลอัลเบิร์ตฮอลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา โดยมีการออกอากาศผ่านโทรทัศน์ในช่วงเวลายอดนิยมทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งได้รับสิทธิ์การถ่ายทอดนับแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา พร้อมกับการออกอากาศทางวิทยุโดยสถานีวิทยุแมจิก

ประวัติ[แก้]

รางวัลโอลิวีเอร์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2519 โดยสมาคมโรงละครลอนดอน ในฐานะรางวัลสมาคมโรงละครเวสต์เอ็นด์ โดยตัวรางวัลได้รับการออกแบบโดยทอม เมอร์ริฟิลด์ งานประกาศรางวัลครั้งแรกถูกจัดขึ้นในเดือนธันวาคมปีดังกล่าว ณ โรงแรมโฮเทลคาเฟรอยัล ปี พ.ศ. 2527 ลอเรนซ์ โอลิวีเอร์ นักแสดงชาวอังกฤษยินยอมให้รางวัลนี้ใช้ชื่อของเขาเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ดังนั้น รางวัลจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น รางวัลลอเรนซ์โอลิวีเอร์[1]

การตัดสิน[แก้]

ทุกปี คณะกรรมการตัดสินด้านโรงละคร โอเปรา การเต้นรำ และการแสดงที่เกี่ยวข้องจะถูกรวบรวมขึ้นโดยสมาคมโรงละครลอนดอน[2]

สำหรับโอเปรา การเต้นรำ และการแสดงที่เกี่ยวข้อง แต่ละองค์คณะจะประกอบไปด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญ (ได้แก่ นักสื่อมวลชน ผู้กำกับฝ่ายคัดเลือกนักแสดง ผู้จัดการศิลป์ ผู้จัดพิมพ์ และ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสหกรรมอื่นที่ได้รับการคัดเลือกจากความรู้ในสาขาของตน) และสมาชิกของสาธารณชนผู้หลงใหลในโรงละครลอนดอน อันดับแรก คณะกรรมการจะเลือกการแสดงที่เห็นสมควรที่จะเสนอชื่อเพื่อเข้าชิงรางวัลโอลิวีเอร์มากที่สุด จากนั้นจึงจะลงคะแนนเลือกผู้ชนะในตอนท้ายสุดของการตัดสิน[2]

สำหรับรางวัลด้านโรงละคร บัญชีรายการซึ่งมีความยาวจะถูกรวบรวมขึ้นโดยองค์คณะ ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสาธารณชน และส่งไปยังสมาชิก SOLT เพื่อลงคะแนน โดยสมาชิกดังกล่าวสามารถลงคะแนนให้กับการแสดงที่อยู่นอกบัญชีรายการได้ เว้นแต่ในหมวดรางวัลนักแสดงสมทบชาย/สมทบหญิงสี่ประเภท (เนื่องจากในแต่ละหมวดรางวัลนั้นมีผู้มีสิทธิ์เข้าชิงหลายพันคน) คะแนนโดยสมาชิกจะถูกรวบรวมเข้ากับองค์คณะเพื่อสร้างรายชื่อผู้เข้าชิง จากนั้นรายชื่อผู้เข้าชิงจะได้รับการลงคะแนนโดยสมาชิกทั้งสองกลุ่มและองค์คณะเพื่อหาผู้ชนะ[2]

งานประกาศรางวัล[แก้]

พิธีกร[แก้]

พิธีกรที่ผ่านมาของงานประกาศรางวัล ได้แก่ ไมเคิล บอล, อีเมลดา สตอนตัน, ไคลฟ์ แอนเดอร์สัน, เจมมา อาร์เทอร์ตัน, สตีเฟน แมนเกน, ฮิว บอนเนวิลล์, เชอริแดน สมิท, เลนนี เฮนรี, แคเทอริน เทต และ เจสัน แมนเฟิร์ด

สถานที่จัดงาน[แก้]

สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานมากที่สุด คือ โรงแรมกรอสเวเนอร์เฮาส์ ซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงหลังงานประกาศรางวัลจำนวนเก้าครั้ง และเป็นสถานที่จัดงานประกาศรางวัลอีกสี่ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสถานที่ในการประกาศรางวัลดังนี้ โรงละครแอลเบอรี (ปัจจุบัน คือ โรงละครโนเอลโคเวิร์ด), โรงแรมคาเฟรอยัล, โรงละครโดมิเนียน, โรงละครลอนดอนแพลเลเดียม, โรงละครไลเซียม, โรงแรมลอนดอนฮิลตันออนพาร์กเลน, โรงละครพิคคาดิลลี, โรงละครแห่งชาติ, โรงละครรอยัลตี (ปัจจุบัน คือ โรงละครพีค็อก), โรงละครชาฟต์สเบอรี, โรงละครรอยัลดรูรีเลน และ โรงละครวิกตอเรียพาเลซ[3]

ในปี พ.ศ. 2555 ถึง 2559 งานประกาศรางวัลถูกจัดที่รอยัลโอเปราเฮาส์ และได้ย้ายไปจัดที่รอยัลอัลเบิร์ตฮอล ในปี พ.ศ. 2560[4][5]

การออกอากาศ[แก้]

งานประกาศรางวัลครั้งแรกได้รับการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์บีบีซี1 โดยออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวไปจนถึงปี พ.ศ. 2535 ก่อนจะเปลี่ยนไปออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์บีบีซี2 จนถึงปี พ.ศ. 2546[6] จากนั้นงานประกาศรางวัลถูกถ่ายทอดผ่านวิทยุเพียงอย่างเดียวจนถึงปี พ.ศ. 2554 เมื่อสถานีโทรทัศน์บีบีซีได้ออกอากาศสดเชิงตอบโต้ผ่านปุ่มแดงบนรีโมท[7] ขณะเดียวกันก็มีพอล แกมบักชีนีเป็นผู้ดำเนินรายการผ่านสถานีวิทยุบีบีซี 2โดยเป็นการออกอากาศและสัมภาษณ์สด[3] โดยมีรูปแบบการออกอากาศเดียวกันนี้ในปี พ.ศ. 2555 ก่อนที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวีของสหราชอาณาจักรจะได้รับสิทธิ์การออกอากาศ ทำให้มีการออกอากาศงานประกาศรางวัลโอลิวีเอร์ผ่านสื่อกระแสหลักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2556[8] นอกจากนี้ยังมีการออกอากาศผ่านสถานีวิทยุแมจิกด้วย

หมวดรางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "10 Things You Probably Didn't Know About The Olivier Awards". OfficialLondonTheatre.com, accessed 30 January 2018
  2. 2.0 2.1 2.2 "How the Olivier Award winners are chosen - Olivier Awards". Official London Theatre (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  3. 3.0 3.1 Jones, Kenneth. "Love Never Dies, Legally Blonde, Rylance, Jacobi, Boggess, Bennett, End of the Rainbow Are Olivier Nominees". Playbill.com, February 7, 2011
  4. Alvarez, Joe; Orlova-Alvarez, Tamara (10 April 2017). "Who Won at The Olivier Awards 2017". Ikon London Magazine. สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.
  5. "Olivier Awards - How It All Began". OfficialLondonTheatre.com. สืบค้นเมื่อ 30 January 2018.
  6. "Olivier Awards – HistoryLondon theatre tickets - London theatre tickets". www.westendtheatre.com.
  7. Dunn, Carrie (14 March 2011). "Olivier theatre awards: the BBC should be red-faced over its red-button coverage". the Guardian.
  8. Trueman, Matt (29 January 2013). "Olivier awards make triumphant return to TV". the Guardian.