รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22
โปสเตอร์รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22
วันที่1 มีนาคม 2556
สถานที่โรงละครแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
เหตุการณ์สำคัญ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมHome ความรัก ความสุข ความทรงจำ
ได้รางวัลมากที่สุดเคาท์ดาวน์
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก (3)
เข้าชิงมากที่สุดIt Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก (8)

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2555 จัดโดยสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ โดยมีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล ทั้งหมด 15 รางวัล[1] เมื่อวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และจัดพิธีประกาศผลรางวัล ในวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร นับเป็นการกลับมาใช้สถานที่นี้ในการประกาศผลรางวัลภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 30 ปี หลังจากงานประกาศผลรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยถ่ายทอดสดในช่องทีวีดาวเทียมเอ็ม ชาแนล และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7[2][3]

สำหรับคณะกรรมการตัดสิน ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมการตัดสินรางวัลครั้งนี้ทั้งสิ้นนำโดย ผศ.สุรพล ชลวิไล ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ, กฤษฎ์ บุณประพฤทธิ์ ประธานคณะกรรมการ

และกรรมการได้แก่ วิรัช อยู่ถาวร, นคร วีระประวัติ , นาท ภูวนัย, สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์, รศ.ดร.กฤษดา เกิดดี, รศ.ภาวดี สมภักดี, รศ.ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ, ประวิทย์ แต่งอักษร, โชคชัย ชยวัฑโฒ, นันทขว้าง สิรสุนทร, ผศ.ดร.ชุษณะ เตชคณา, สุภณวิชญ์ สมสมาน, เกษมศักดิ์ วงศ์รัฐปัญญา, จิระชัย กุลละวณิชย์, ธันว์ บำรุงสุข และ ดร.ขนิษฐา จิตต์ประกอบ[4]

ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้ชนะรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม
เดวิด อัศวนนท์ ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
อภิญญา สกุลเจริญสุข ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

รายชื่อบุคคลและภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล[แก้]

ผู้ที่ได้รับรางวัล จะเน้นด้วย "ตัวหนา"


หมายเหตุ: รางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม ไม่มีภาพยนตร์ผ่านการคัดเลือก

รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ครั้งที่ 22[แก้]

นอกจากการมอบราวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22 ยังมีการมอบรางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ครั้งที่ 22 ในงานด้วย โดยผู้ที่ได้รับรางวัลคือ "ปง อัศวินิกุล" ผู้บุกเบิกการบันทึกเสียงลงฟิล์มสำหรับภาพยนตร์ไทย และเป็นผู้ก่อตั้งห้องบันทึกเสียงรามอินทรา ซึ่งเป็นสถานที่บันทึกเสียงและผสมเสียงภาพยนตร์ในระบบดอลบี สเตอริโอเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ปง อัศวินิกุล มีผลงานบันทึกเสียงที่ให้ภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศเทศมาแล้วกว่า 1,000 เรื่อง และคว้ารางวัลมาแล้วกว่า 25 รางวัล และเคยได้รับการยกย่องว่าเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย จึงเป็นเหตุผลที่สมควรได้รับรางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศในครั้งนี้[5]


สรุปผลรางวัล[แก้]

ภาพยนตร์ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าชิงรางวัล จำแนกตามสาขาทั้ง 23 เรื่อง มีดังนี้:

สาขารางวัลที่เข้ารอบชิง ภาพยนตร์ที่เข้ารอบ
8 It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก
7 Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
เคาท์ดาวน์
6 ยักษ์
5 Together วันที่รัก
9-9-81 บอกเล่า 9 ศพ
4 จันดารา ปฐมบท
3 I MISS U รักฉันอย่าคิดถึงฉัน
ชัมบาลา
ปาดังเบซาร์
ยอดมนุษย์เงินเดือน
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก
2 อันธพาล
The Melody รักทำนองนี้
1 รัก
เด็กสาว
ATM เออรัก เออเร่อ
รัก 7 ปี ดี 7 หน
Yes or No 2 รักไม่รักอย่ากั๊กเลย
คุณนายโฮ
ปัญญา เรณู 2
407 เที่ยวบินผี
ตีสาม 3D

รายชื่อภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัล

จำนวนรางวัลที่ได้รับ ภาพยนตร์ที่ชนะ
3 เคาท์ดาวน์
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก
2 Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ
ปาดังเบซาร์
It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก
1 407 เที่ยวบินผี
Together วันที่รัก

อ้างอิง[แก้]

  1. รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22 ประจำปี 2555 จาก Deknang
  2. Super บันเทิง Online (1 มีนาคม พ.ศ. 2556). "ลุ้นรางวัล "สุพรรณหงส์" ค่ำนี้". สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. THEBESTFILM.net (12 มีนาคม พ.ศ. 2556). "22ND THAILAND NATIONAL FILM ASSOCIATION AWARD WINNERS – THE 2013 SUBHANAHONGSA AWARDS". สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ. "สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ เปิดโผภาพยนตร์ 5 เรื่องสุดท้าย 16 ประเภทรางวัล เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ "สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 22"" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ. "รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ ครั้งที่ 22" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม[แก้]