รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (1916) เกิดขึ้นหลังจากความล้มเหลวในการบริหารงานของคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมหลายคณะ แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงเปลี่ยนพระทัยโปรดเกล้าฯให้นักการเมืองแนวคิดเสรีนิยม วิกเตอร์ ทอร์น ทำการจัดตั้งรัฐบาลและดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปกติทอร์นเป็นผู้นำที่มีแนวโน้มเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและเขาได้ทำการร้องขอต่อรัฐสภาโดยตรงให้สนับสนุนรัฐบาลของเขาโดยไม่มีเรื่องของปัจเจกชน แนวคิดทางการเมืองและความเชื่อ เขากล่าวว่า "ถ้าท่านต้องการรัฐบาลที่ปฏิบัติงานและสามารถรักษาการ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกพรรคการเมืองต้องสนับสนุนรัฐบาลนี้[1] การสนับสนุนครั้งนี้มีการเตรียมพร้อมจากทุกพรรคแต่เฉพาะเงื่อนไขเท่านั้นที่แต่ละคนจะถูกเชิญให้ร่วมรัฐบาล ทอร์นถูกทิ้งอย่างไม่มีทางเลือกแต่ก็สามารถกระทำการบริหารได้ ผลของการมีรัฐบาลผสมทั้งหมดซึ่งรวมทุกฝ่ายในการเมืองลักเซมเบิร์ก นอกเหนือจากทอร์นซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างเลออน คลัฟแมนน์และอันโตน เลอฟอร์ท, ฝ่ายสังคมนิยมคือ มิเชล เวลเตอร์และฝ่ายเสรีนิยมคือ เลออน มอติแยร์[2]

แรงกดดันสำคัญของรัฐบาลลักเซมเบิร์กคือ เสบียงอาหาร[3] สงครามทำให้นำเข้าอาหารไม่ได้และความต้องการของชาวเยอรมันผู้ยึดครองย่อมมาก่อนชาวลักเซมเบิร์ก[4] ด้วยระบบการจัดหาอาหารที่ล้มเหลว มิเชล เวลเตอร์ รัฐมนตรีการเกษตรและการค้า ได้ประกาศห้ามส่งออกอาหารออกนอกลักเซมเบิร์ก[5] นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายจำกัดสิ่งของบางสิ่งและการควบคุมราคาเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการที่สูงขึ้นและทำให้ราคาอาหารไม่แพงมากสำหรับชาวลักเซมเบิร์กที่ยากจน อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ยังไม่ได้ตามที่ต้องการ การเพิ่มจำนวนของชาวลักเซมเบิร์กที่เปลี่ยนไปค้าขายในตลาดมืดมากขึ้น[6]และสร้างความตกใจแก่รัฐบาลลักเซมเบิร์ก กองทัพเยอรมันให้ความช่วยเหลือโดยเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้รัฐบาลได้กล่าวหากองทัพเยอรมันว่ามีส่วนช่วยการผลิตของตลาดมืดโดยปฏิเสธข้อบังคับกฎเกณฑ์และทำการลักลอบนำเข้าสินค้าด้วยกองทัพเยอรมัน[7]

ดวงตราไปรษณียากรลักเซมเบิร์กพิมพ์ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดในปีพ.ศ. 2459

ในปีพ.ศ. 2459 วิกฤตทางอาหารได้เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการเก็บเกี่ยวหัวมันฝรั่งทั่วประเทศต่ำไม่ค่อยดีเช่น ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเบลเยียมอัตราการเก็บเกี่ยวมันฝรั่งลดลงถึง 30%-40% ในปีก่อน[8] ถึงแม้ว่าชาวลักเซมเบิร์กจะมีระดับอัตราปริมาณการบริโภคที่ใกล้ถึงความอดอยาก[9] ประเทศพยายามจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะทุพภิกขภัย ส่วนหนึ่งคือจากการลดจำนวนของทหารเยอรมันเหนือแหล่งอาหารท้องถิ่นแต่มุ่งการนำเข้าจากเยอรมนี[10]

ถึงแม้ว่าจะมีการหลีกเลี่ยงภาวะทุพภิกขภัย รัฐบาลลักเซมเบิร์กได้สูญเสียความศรัทธาจากประชาชนเป็นจำนวนมากโดยนักการเมือง ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2459 มิเชล เวลเตอร์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีที่รับผิดชอบได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในรัฐสภาที่ซึ่งส่งผลถึงการลาออกจากตำแหน่งของเขา นายกรัฐมนตรีทอร์นได้หน่วงเหนี่ยวเวลาเพื่อที่จะหาตัวเลือกแต่การปรับคณะรัฐมนตรีอยู่ที่หัวหน้าพรรคหนึ่งในสามพรรคหลักและไม่พบผู้ใดที่จะมาแทนได้ ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2460 เวลเตอร์ได้ถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรีแทนที่ด้วยฝ่ายสังคมนิยมอีกคนหนึ่ง คือ เออร์เนสต์ เลอแคร์[2] แม้ภายหลังการเปลี่ยนแปลงและนายพลแห่งกองทัพเยอรมันประจำลักเซมเบิร์ก ริชาร์ด คาร์ล ฟอน เทสมาร์ได้สัญญาว่าทหารในสังกัดของเขาจะประพฤติตนดีขึ้นในอนาคต เลออน คลัฟแมนน์สามารถออกหมายเรียกดำเนินคดีกรณีทหารเยอรมัน 36 นายซึ่งถูกจับกุมในคดีลักลอบนำเข้าเสบียงอาหารในระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2461[11]

นายพลแห่งกองทัพเยอรมันประจำลักเซมเบิร์ก ริชาร์ด คาร์ล ฟอน เทสมาร์ได้ทำการปราบปรามกลุมผู้ชุมนุมประท้วงด้วยกองทัพเยอรมันถือเป็นการทำลายเกียรติแห่งรัฐบาลของวิกเตอร์ ทอร์น

ในช่วงความยุ่งยากของประเทศนี้ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงอุทิศพระองค์ในพระราชกรณียกิจด้านกาชาดในลักเซมเบิร์กและทรงดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพยาบาลแก่ทหารที่ออกรบในแนวหน้า แต่ทางด้านการเมือง ทรงมีความสนพระทัยตลอดช่วงสงครามอย่างไม่ลดน้อยลง

ความไม่พอใจเกิดขึ้นในหมู่ประชากรตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอุตสาหกรรมทางภาคใต้ ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2459 ได้มีการเกิดขึ้นของสหภาพแรงงานครั้งแรกในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ด้วยสหภาพแรงงานได้ลุกฮือขึ้นทั้งในเมืองลักเซมเบิร์กและอิสช์-ซูร์-อัลแซต[2] แม้ว่าจะมีความต้องการในสงคราม ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกลับตกต่ำ[12]ซึ่งนำไปสู่ความไม่มั่นคงในการว่าจ้างงานยิ่งขึ้น ในเดือนมีนาคมและเมษายน ผู้สมัครอิสระ 3 คนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจากเขตปกครองอิสช์-ซูร์-อัลแซตที่ซึ่งมีเศรษฐกิจควบคุมด้วยเหล็กและเหล็กกล้า[2] ในฐานะที่เป็นอิสระซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ได้กลายเป็นฝ่ายค้านเพียงหนึ่งเดียวของรัฐบาลสหภาพแห่งชาติ

ชาวลักเซมเบิร์กหลายคนโดยเฉพาะเหล่าคนงานเหมือง ได้แสดงออกถึงความชิงชังรัฐบาลที่ไม่ได้ผ่านการเลือกมาจากโดยกล่องลงคะแนนเพียงอย่างเดียว การแสดงอารมณ์ที่เป็นไปในทางอารยะขัดขืนหรือแย่กว่านั้น นายพลฟอน เทสมาร์ได้คุกคามบุคคลแต่ละคนที่มีทีท่าว่าจะก่อความรุนแรง (ที่ซึ่งได้ทำการหยุดงานประท้วง) ด้วยโทษประหารสถานเดียว[13]อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 เหล่าคนงานได้พยายามที่จะใช้อาวุธมากที่สุดโดยทำการฝ่าฝืนคำขาดของนายพลฟอน เทสมาร์และทำการทิ้งเครื่องมือ[14] เยอรมนีซึ่งต้องพึ่งพาเหล็กของลักเซมเบิร์ก ขณะที่ราชนาวีอังกฤษได้ทำการกีดขวางเยอรมนีในการเข้าถึงทรัพยากรท้องถิ่น ในปีพ.ศ. 2459 ลักเซมเบิร์กได้ทำการผลิตมากกว่าหนึ่งในเจ็ดของเหล็กดิบของสหภาพศุลกากร[12][15] ดังนั้นเยอรมนีจึงไม่สามารถทำให้เกิดการหยุดงานประท้วงได้เพราะจะทำให้สูญเสียวัตถุดิบสำคัญ

ในการปราบปรามการประท้วง นายพลฟอน เทสมาร์ได้ทำการปราบปรามอย่างรุนแรง แต่เขาไม่ต้องการที่จะประหารชีวิตดังที่เขาได้ข่มขู่ไว้ เพียงเวลา 9 วัน การชุมนุมประท้วงได้กูกปราบปรามจนสิ้นและแกนนำผู้ชุมนุมถูกจับกุม[16] แกนนำผู้ชุมนุม 2 คนได้ถูกพิพากษาโดยศาลทหารเยอรมันที่เมืองเทรียร์ให้จำคุก 10 ปี ด้วยข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล[16] การปฏิเสธอย่างต่อเนื่องโดยอำนาจเยอรมันในการที่จะเคารพรัฐบาลลักเซมเบิร์กเป็นการทำลายเกียรติที่ซึ่งผู้ชุมนุมได้ถูกปราบปรามโดยกองทัพเยอรมันแทนที่จะเป็นกองทหารลักเซมเบิร์ก (Gendarmerie) ซึ่งเป็นเรื่องที่มากเกินกำลังสำหรับนายกรัฐมนตรีทอร์น ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2460 รัฐบาลของทอร์นได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งต่อแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Speech by Thorn to the Luxembourg Chamber of Deputies (in French), February 1916
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Thewes (2003), p. 69.
  3. Thewes (2003), p. 68.
  4. Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
  5. Letter from Tessmar to assorted commanders (in German), 8 May 1916
  6. Thewes (2003), p. 68.
  7. Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
  8. Letter from Hoover to Percy, 7 October 1916
  9. Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
  10. Letter from Buch to Thorn (in German), 4 October 1916
  11. Letter from Kauffmann to Kirsch (in German), 26 September 1918
  12. 12.0 12.1 Chambre of Commerce – Groupment des Industries Sidérurgiques Luxembourgeoises. "Graph of iron and steel production" (GIF). Statec. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-24. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006.
  13. Proclamation by Tessmar to steel workers at Differdange (in German), 10 May 1917
  14. Telegram from Thorn to Arendt (in German), 2 June 1917
  15. Zollverein pig iron production. National Bureau of Economic Research. Retrieved on 23 July 2006.
  16. 16.0 16.1 Letter from Kauffmann to Zimmerman (in German), 3 August 1917