รักบี้ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รักบี้ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี
Current season or competition:
รักบี้ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี 2024
กีฬารักบี้ยูเนียน
Inaugural season2008
จำนวนทีม12
Holders ฝรั่งเศส (2023)
Most titles นิวซีแลนด์ (6 titles)
เว็บไซต์world.rugbyu20
Related competitionWorld Rugby U20 Trophy

รักบี้ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี (อังกฤษ: World Rugby Under 20 Championship; รู้จักกันในชื่อ IRB Junior World Championship จนถึงปี ค.ศ. 2014) เป็นการแข่งขันกีฬ่ารักบี้ยูเนียนระดับนานาชาติ รายการนี้จัดขึ้นโดยรักบี้โลก และมีการแข่งขันโดยทีมชาติเยาวชนชาย 12 ทีม รุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี การแข่งขันรายการนี้มาแทนที่การแข่งขันชิงแชมป์โลกระดับอายุของ IRB ในอดีต ได้แก่ ชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี และ รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี

การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 โดย เวลส์เป็นเจ้าภาพ และมีทีมเข้าร่วม 16 ทีม เวลส์ได้รับการประกาศให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550[1] จำนวนประเทศที่เข้าร่วมลดลงเหลือ 12 ประเทศก่อนการแข่งขันปี ค.ศ. 2010 เนื่องจากเหตุผลทางการเงิน[2]

การแข่งขันชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี เป็นการแข่งขันระดับบนสุดของโครงสร้างการแข่งขันรักบี้โลกสำหรับทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ในเวลาเดียวกันกับที่มีการเปิดตัวการแข่งขันชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี รักบี้โลก (ในขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ International Rugby Board) ได้เปิดตัวการแข่งขันระดับที่สอง U20 Trophy ซึ่งมีแปดทีม

มีการเลื่อนชั้นและการตกชั้นระหว่างถ้วยรางวัล ผู้ชนะการแข่งขัน Trophy จะได้เล่นในการแข่งขันชิงแชมป์ในปีถัดไป ในขณะที่ทีมอันดับสุดท้ายในการแข่งขันชิงแชมป์จะถูกสลับไปเล่นรายการ Trophy ในปีถัดไปเช่นกัน

ผลการแข่งขัน[แก้]

ปี ค.ศ. เจ้าภาพ ชิงชนะเลิศ ชิงอันดับที่ 3
ชนะเลิศ คะแนน รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 คะแนน อันดับที่ 4
2008  เวลส์
นิวซีแลนด์
38–3
อังกฤษ

แอฟริกาใต้
43–18
เวลส์
2009  ญี่ปุ่น
นิวซีแลนด์
44–28
อังกฤษ

แอฟริกาใต้
32–5
ออสเตรเลีย
2010  อาร์เจนตินา
นิวซีแลนด์
62–17
ออสเตรเลีย

แอฟริกาใต้
27–22
อังกฤษ
2011  อิตาลี
นิวซีแลนด์
33–22
อังกฤษ

ออสเตรเลีย
30–17
ฝรั่งเศส
2012  แอฟริกาใต้
แอฟริกาใต้
22–16
นิวซีแลนด์

เวลส์
25–17
อาร์เจนตินา
2013  ฝรั่งเศส
อังกฤษ
23–15
เวลส์

แอฟริกาใต้
41–34
นิวซีแลนด์
2014  นิวซีแลนด์
อังกฤษ
21–20
แอฟริกาใต้

นิวซีแลนด์
45–23
ไอร์แลนด์
2015  อิตาลี
นิวซีแลนด์
21–16
อังกฤษ

แอฟริกาใต้
31–18
ฝรั่งเศส
2016  อังกฤษ
อังกฤษ
45–21
ไอร์แลนด์

อาร์เจนตินา
49–19
แอฟริกาใต้
2017  จอร์เจีย
นิวซีแลนด์
64–17
อังกฤษ

แอฟริกาใต้
37–15
ฝรั่งเศส
2018  ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศส
33–25
อังกฤษ

แอฟริกาใต้
40–30
นิวซีแลนด์
2019  อาร์เจนตินา
ฝรั่งเศส
24–23
ออสเตรเลีย

แอฟริกาใต้
41–16
อาร์เจนตินา
ยกเลิกการแข่งขัน ค.ศ. 2020–2022.[3][4][5]
2023  แอฟริกาใต้
ฝรั่งเศส
50–14
ไอร์แลนด์

แอฟริกาใต้
22–15
อังกฤษ
2024  แอฟริกาใต้ TBC TBC

อ้างอิง[แก้]

  1. UK Sport
  2. "International Rugby Board". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2014. สืบค้นเมื่อ 20 June 2009.
  3. "World Rugby update on COVID-19 response measures and statement from Sir Bill Beaumont". World Rugby. 21 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-05. สืบค้นเมื่อ 2024-04-24.
  4. "Statement on the World Rugby U20 Championship 2021". World Rugby. 3 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-24. The World Rugby U20 Championship 2021 will not take place this year due to the ongoing impact of the global COVID-19 pandemic.
  5. "World Rugby U20 Championship and Trophy to return in 2023 – Welsh Rugby Union". 22 February 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]