ระย่อมน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระย่อมน้อย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Apocynaceae
วงศ์ย่อย: Rauvolfioideae
สกุล: Rauvolfia
สปีชีส์: R.  serpentina
ชื่อทวินาม
Rauvolfia serpentina
(L.) Benth. ex Kurz[1]
ชื่อพ้อง[2]
  • Ophioxylon album Gaertn.
  • Ophioxylon obversum Miq.
  • Ophioxylon salutiferum Salisb.
  • Ophioxylon serpentinum L.
  • Ophioxylon trifoliatum Gaertn.
  • Rauvolfia obversa (Miq.) Baill.
  • Rauvolfia trifoliata (Gaertn.) Baill.

ระย่อมน้อย เป็นพืชพื้นบ้านภาคใต้และมีสรรพคุณทางยาหลายประการ ระย่อมน้อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rauvolfia serpentina Benth. ex Kurz หรือชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ปลายข้าวสาร (กระบี่) ระย่อมน้อย กะย่อม (ใต้) ย่อมตีนหมา เข็มแดง (เหนือ) คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที สะมอดู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ระย่อมน้อยเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 30-70 เซนติเมตร มียางสีขาว ใบเป็นใบรูปหอกใหญ่ ปลายโตแหลม โคนสอบเรียบแหลม ขอบใบเรียบพริ้วเล็กน้อย ผิวเป็นร่องตามแนวเส้นใบ เรียบมันสีเขียวเข้ม กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 7-20 เซนติเมตร ดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งคล้ายปะการัง โคนดอกเป็นหลอดสีชมพู ปลายดอกสีขาว มีกระเปาะเล็ก ๆ ตรงกลางหลอด ก้านดอกสีเขียว ผลเป็นผลกลมสีเขียว สุกจะเป็นสีดำ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดสามารถเก็บเมล็ดและขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

การใช้ประโยชน์[แก้]

ยอดอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อนนำไปทำแกงเลียง แกงส้ม ทางยาระย่อมน้อยใช้แก้พิษกาฬ แก้ป้างเพื่อดีและโลหิต ระงับประสาท แก้จุกเสียด บำรุงน้ำนม บดเป็นผง ปั้นเม็ดหรือคั่วให้กรอบ ชงต้มน้ำรับประทาน ช่วยย่อยอาหาร แก้นอนไม่หลับ แก้ปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง ช่วยเจริญอาหาร ขับพยาธิ ขับระดู แก้บิด ขับปัสสาวะ

สรรพคุณ[แก้]

รากสดเป็นยารักษาหิด รากแห้งเป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาททำให้ง่วงนอนและอยากอาหาร ดอกแก้โรคตาแดง น้ำจากใบใช้รักษาโรคตามัว เปลือกแก้พิษไข้ กระพี้บำรุงโลหิต

องค์ประกอบทางเคมี[แก้]

Rauvolfia serpentina ถูกเรียกกันว่า รากงูอินเดีย (Indian Snakeroot) หรือ "Sarpagandha" มีสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ajmaline, aricine, corynanthine, rauwolscine lankanescine deserpidine, rescinnamine, reserpine, reserpiline, isoreserpine, isoreserpiline, serpentinine และ yohimbine

อ้างอิง[แก้]

  1. "Module 11: Ayurvedic". สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
  2. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-02. สืบค้นเมื่อ 12 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ระย่อมน้อย
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rauvolfia serpentina ที่วิกิสปีชีส์